ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติหลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส จ.นครพนม article

หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส
หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 ชนะ วสุรักคะ ข่าวสด
"
หลวงปู่อวน ปคุโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทิยาวาส หมู่ 10 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเถระที่มีจริยวัตรอันน่าเลื่อมใส ลูกศิษย์ของ หลวงปู่กินรี จันทิโย

อัตโนประวัติ ประวัติหลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส ท่านมีนามเดิมว่า จันทร แก้วดวงตา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2470 ที่บ้านนามะเขือ ต.นามะเขือ อ.ปลา ปาก จ.นครพนม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายนวน และนางทองดี แก้วดวงตา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ 10 ขวบ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนามะเขือ ครั้นพออายุ 14 ปี จึงได้ลาออก จนถึงวัยหนุ่มได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร
ครั้นพ้นเกณฑ์ทหาร ได้ขออนุญาตพ่อแม่ บวชเป็นสามเณร ที่วัดดงขวาง อ.เมือง ก่อนกลับมาอยู่วัดบ้านเกิด ร่ำเรียนบทสวดมนต์ และอักษรธรรมจนชำนาญ ท่านได้ย้ายไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านกุดตาไก้ ก่อนย้ายไปเรียนที่วัดศรีเทพฯ ซึ่งเป็นสำนักธรรมยุตแห่งแรกของจังหวัด โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ก่อนลากลับไปเยี่ยมพ่อแม่ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านดงขวาง อ.เมือง โดยมีพระติ้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระบุญมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพรหมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่อวน ได้รับฉายาว่า ปคุโณ หมายถึง ผู้มีความคล่องแคล่วชำนาญ ภายหลังอุปสมบท ได้ชักชวนพระก่องและพระจันลา ออกธุดงค์ไปยังวัดป่าเมธาวิเวก ต.หนองฮี อ.ปลาปาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่กินรี จันทิโย เพื่อรับโอวาทแนวทางการปฏิบัติ ก่อนกราบลาออกไปธุดงควัตรไปประเทศลาว ผ่านแขวงคำม่วน ไปตามป่าเขาที่มีสิงสาราสัตว์

หลวงปู่อวน ปคุโณท่านได้พบพระอาจารย์ ทองรัตน์ กันตสีโล ที่ดอนผีป่าช้า และออกธุดงค์ไปภูสิงห์ ภูงัว ภูลังกา จ.หนองคาย ก่อนไปวัดศรีเวินชัย อ.ศรีสงคราม แวะนมัสการพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต สหธรรมิกรุ่นเดียวกับพระอาจารย์ทองรัตน์ ก่อนเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดเดิม และอยู่กับหลวงปู่กินรี พรรษาที่ 6 จึงออกธุดงค์อีกครั้งไป จ.สกลนคร จ.ยโสธร แวะพักที่ภูกอยภูน้อยจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ในปี พ.ศ.2494 ก่อนร่วมตั้งวัดหนองป่าพง แล้วกลับมาวัดกันตศิลาวาสอีกครั้ง เพื่อนมัสการหลวงปู่กินรี ชาวบ้านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง มีสามเณรโสมมาพักอยู่ด้วย เกิดความเลื่อมใสจึงขอติดตามธุดงค์ไป จ.เลย พักที่วัด หลวงปู่คำดี ปภาโส ก่อนธุดงค์ผ่านภาคเหนือ 5 จังหวัดมุ่งสู่ อ.แม่สอด จ.ตาก เข้าสู่เขตพม่า แต่เกิดการสู้รบกัน จึงเปลี่ยนเส้นมา จ.นครสวรรค์ เข้ากรุงเทพฯ มุ่งสู่ปักษ์ใต้เข้าสู่ จ.สงขลา ไปจนถึง ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะ เดา เข้าสู่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังธุดงค์ไป ภาคเหนือและภาคใต้นานร่วม 8 ปี จึงกลับมาเยี่ยมบิดา-มารดา พักที่ป่าบ้านนามะเขือกับสามเณรโสม ได้หยุดเดินธุดงค์ เพื่อหาที่ตั้งวัดเผยแผ่ธรรม ชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน จึงช่วยสร้างกุฏิขึ้น 2 หลัง อีก 3 ปีจึงสร้างศาลาไม้ ผ่านไป 5 ปี ผู้คนเริ่มมีความศรัทธาเข้ามาบวชและปฏิบัติธรรมในวันพระจนล้นศาลา ต่อมา พื้นที่ 4 หมู่บ้านดังกล่าว ถูก ผกค.คุกคาม ชาวบ้านหนีหมด ทหารแนะนำให้ท่านย้ายหนี เกรงจะเกิดอันตราย แต่หลวงปู่อวน ปคุโณยืนยันไม่ย้ายหนีไปไหน ก่อนพัฒนาวัดเรื่อยมา กระทั่ง พระสารภาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขณะนั้น แนะนำให้เขียนป้ายชื่อวัด โดยเอาฉายาหลวงปู่กินรีมาเป็นชื่อวัด นับแต่นั้นมา หลวงปู่อวน ปคุโณ ได้อาพาธด้วยโรคไตมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ก่อนเข้ารับการรักษาที่ ร.พ.ปลาปาก แพทย์วินิจฉัยว่าอาพาธด้วยโรคไตเรื้อรัง ถูกส่งตัวไปรักษาที่ ร.พ.ศรีนครินทร์ จ.ขอน แก่น แต่เครื่องฟอกไตไม่เพียงพอ จึงส่งตัวกลับมาฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้งที่ ร.พ.ปลาปาก

เวลา 09.55 น. วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติโยมและลูกศิษย์ สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56 คณะศิษย์ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์สูง 2 ชั้น เพื่อบรรจุอัฐิ ก่อนมีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่อวน ณ เมรุชั่วคราววัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ภายในพิพิธภัณฑ์วัดจันทิยาวาส ได้จัดตั้งรูปเหมือนและเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่อวน โดยมีพุทธศาสนิกชนต่างเข้าไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก




ประวัติพระวิปัสสนาจารย์

ประวัติหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม วัดอุดมรัตนาราม (พระครูบริบาลสังฆกิจ)
ประวัติหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย (พระครูญาณทัสสี)
ประวัติหลวงพ่อใช่ สุชีโว วัดปาลิไลยวัน จ.ชลบุรี
ประวัติหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม
ประวัติหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
ประวัติหลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
ประวัติหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
ประวัติหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
ประวัติหลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล