พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระพุทธรูปปางต่างๆ:ความหมายปางพระพุทธรูป ของประเทศไทยซึ่งมีที่มาของ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ จากพุทธประวัติ รวบรวม"พระพุทธรูปปางต่างๆ" ในพระอิริยาบถลักษณะต่างๆของ ปางพระพุทธรูป ที่ได้รวบรวมใว้ ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย ปางพระพุทธรูป ของไทยจากพุทธประวัติ ส่วนการสร้าง"พระพุทธรูป " พระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวัติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูป เป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูป นั้นเริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประวัติการสร้างพระพุทธรูป ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรสืบไป ตราบใดยังปรากฏพระพุทธรูปอยู่ หมายถึงว่า พระรัตนตรัย อันเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนายังคงอยู่บริบูรณ์ เป็นเครื่องสร้างศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้เลื่อมใสอุปถัมภ์บำรุงพุทธ ศาสนาสืบไป สำหรับประวัติการสร้าง พระพุทธรูปบูชา ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของ หลวงจีนฟาเหียน เมื่อราว พ.ศ.๙๕๐ ปรากฏใน ตำนานพระแก่นจันทน์ คือ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมาร ดาบนดาวดึงส์สวรรค์พรรษาหนึ่งนั้น พระเจ้าประเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล มีความรำลึกถึงพระพุทธองค์ ด้วยมิได้ทรงเห็นเป็นช้านาน จึงตรัสให้นายช่างทำ พระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับลงมาจากดาวดึงส์ถึงที่ประทับ ด้วยพระบรมพุทธานุภาพ ก็บันดาลให้พระพุทธรูปแก่นจันทน์ เลื่อนหลีกจากพระพุทธอาสน์ จึงตรัสสั่งให้รักษา พระพุทธรูปนั้นไว้ เพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง สร้างพระพุทธรูปสืบไป ตำนานพระแก่นจันทน์ ที่สร้างขึ้นตามพระบรมพุทธานุญาตแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ขัดต่อหลักฐานทางศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา ที่เก่าแก่ที่สุดใน สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช หามีการสร้างพระพุทธรูปไม่ มีแต่ทรงทำรูปสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น รอยพระพุทธบาท ธรรมจักร เป็นต้น จากหลักฐานทางศิลปโบราณวัตถุสถานและพงศาวดารเหล่าปราชญ์จึงสันนิษฐานว่า ตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีคตินิยมในการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ หรือพระพุทธรูปนั้น และสามารถสรุปได้ว่า พระพุทธรูปเริ่มปรากฏเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลัง สมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ ในคันธารราฐ เป็นศิลปะคันธารราฐ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนถึงสมัย พระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงปกครองอยู่โดยทรงตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเปษวาร์ มีเมืองมถุราเป็นศูนย์กลาง ทางทิศใต้ลุ่มแม่น้ำคงคา-ยมุนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระศาสดา ในรูปแบบมนุษย์เป็นพุทธเจดีย์กันทั่วไป สรุปการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นการสร้างตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นประติมากรรมพุทธประวัติตั้งแต่พระองค์ประสูติ สร้างเป็น แบบปางพระพุทธรูป จาก พระพุทธรูปปางประสูติ จนถึงนิพพาน ซึ่งเป็นรปแบบของ พระพุทธรูปปางต่างๆ
|
พระพุทธรูปปางชนะมาร พระพุทธรูปปางชนะมาร เป็นพระพุทธรูปปางที่สร้างขึ้นจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าผจญมาร ซึ่งมีพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ตรงฐาน ก่อนที่จะตรัสรู้ ภาวนาทำจิตให้แน่วแน่ ปราศจากกิเลสโดยลำดับและตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด | |
พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงคุณค่าของ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ในงาน"เรื่องประติมากรรมไทย" พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง นั้น "ศิลปะอู่ทองมีค่ายิ่งกว่าของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ โดยเหตุที่มีแบบวิธีแปลกและมีคุณค่าของศิลปะอู่ทอง เป็นอาการปรากฏดีที่สุดในหมู่สกุลช่างต่างๆ | |
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะแบบบายน(เขมร) พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะแบบบายน(เขมร): พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย สำริด ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย สมัยบายน แย้มสรวล นิยมเรียกว่า "ยิ้มแบบบายน" | |
ประวัติการสร้างพระพุทธรูป ประวัติการสร้างพระพุทธรูป จากหนังสือ ตำนานพระพุทธเจดีย์ โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องประวัติการสร้างพระพุทธรูป นักปราชญ์ในชั้นหลังสอบเรื่องพงศาวดาร ประกอบกับพิจารณาโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดียได้ความเป็นหลักฐานว่า พระพุทธรูปเป็นของพวกโยนกที่เริ่มมี พระพุทธรูปปางต่างๆ | |
ตำนานพระแก่นจันทร์ ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนาน(พระแก่นจันทร์)ที่ยังไม่ | |
๑.พระพุทธรูปปางประสูติ พระพุทธรูปปางประสูติ ตามพุทธประวัติความเป็นมาของ พระพุทธรูปปางประสูติ ซึ่ง"ปางประสูติ" คือประติมากรรมพุทธประวัติ ตอนพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาทรงเหนี่ยวกิ่งสาละ พระบรมโพธิสัตว์อยู่อิริยาบถยืน | |
๒.พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ ซึ่งเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางมหาภิเนษกรมณ์ จากพุทธประวัติเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ เกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง ๔ ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ประจำอยู่ นำพระองค์เหาะข้ามกำแพงพระนครออกไปด้วยปาฏิหารย์ | |
๓.พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี เป็นการสร้าง"พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี" ตามประติมากรรมพุทธประวัติ "ปางตัดพระเมาลี (มวยผม)" ตอนเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง | |
๔.พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ประวัติ พระพุทธรูป ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ซึ่งความเป็นมาของ ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ตามพุทธประวัติเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์จนมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา จึงเสด็จลงจากหลังม้า ประทับเหนือหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ รับสั่งแก่นายฉันนะว่า พระองค์จะบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นี้ | |
๕.พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะในความเป็นมาของ พระพุทธรูป ปางปัจจเวกขณะนั้นเป็นตอนที่พุทธองค์ ทรงเตือนตนในบรรพชิต ว่าต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่มีสิทธิ์เลือกอาหารตามใจชอบ | |
๖.พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ พระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นตอนที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา | |
๗.พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน พระพุทธรูป อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา พระพุทธรูปปางทรงพระสุบินและความเป็นมาของ ปางทรงพระสุบิน หนึ่งในปางพระพุทธรูปจากพุทธประวัติเมื่อ พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะทรงเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งพระโพธิญาณ ทรงเปลี่ยนมาใช้มัชฌิมาปฏิปทา หรือ การปฏิบัติโดยทางสายกลาง | |
๘.พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางรับมธุปายาสในความเป็นมาของ ปางรับมธุปายาสหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งในเช้าวันเพ็ญวิสาขะ หรือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ( ปีระกา ) อันเป็นวันครบรอบพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ของพระบรมโพธิสัตว์ นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้นำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาส | |
๙.พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูป ปางเสวยมธุปายาส หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางเสวยมธุปายาส" จากพุทธประวัติเมื่อนางสุชาดาทูลลากลับไปแล้ว พระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกจากร่มไทร ทรงถือถาดข้ามธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงพระวรกาย ( อาบน้ำ ) แล้วประทับริมฝั่งแม่น้ำ | |
๑๐.พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด วัดปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาดเป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด" หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมกับทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำ | |
๑๑.พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ "ปางรับหญ้าคา" ตอนพระบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นถาดทองลอยทวนกระแสน้ำดังอธิษฐานจึงทรงโสมนัส ( ดีใจ ) เสด็จสู่ร่มสาละ ครั้นถึงเวลาบ่ายได้เสด็จกลับไปยังอัสสัตถโพธิพฤกษ์มณฑล ( ร่มโพธิ์ ) | |
๑๒.พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ความเป็นมาของ ปางสมาธิเพชร หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์รับหญ้าคาจากโสตถิยพราหมณ์แล้ว ทรงนำไปปูต่างบัลลังก์ | |
๑๓.พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความเป็นมาของปางมารวิชัย หนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ และการสร้าง พระพุทธรูปปางมารวิชัย จากตอนที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ | |
๑๔.พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ วัดสุทัศนเทพวราราม ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ เกิดจากพุทธประวัติตอน ที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุปุพพเนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติได้หลายชาติไม่มีที่สิ้นสุด | |
๑๕.พระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปปางถวายเนตร นี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ปางถวายเนตร ลืมพระเนตร พระพุทธรูปปางถวายเนตร สร้างขึ้นตามตอนหนึ่งของพุทธประวัติที่ว่า ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน | |
๑๖.พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน การสร้าง พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว เป็นหนึ่งใน พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางจงกรมแก้ว คือสัปดาห์ที่ ๓ หลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้วขึ้น ณ กึ่งกลางระหว่าง อนิมิสเจดีย์ กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จจงกรม ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๗ วัน | |
๑๗.พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิในเรือนแก้ว พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว เป็นหนึ่งของ พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางเรือนแก้ว ตามพุทธประวัติ ในสัปดาห์ที่ ๔ จากวันตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ณ เรือนแก้ว | |
๑๘.พระพุทธรูปปางห้ามมาร พระพุทธรูปปางห้ามมาร เป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงอาการห้าม พระพุทธรูปปางห้ามมาร และความเป็นมาของปางห้ามมาร ตามพุทธประวัติ หลังจากทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประทับใต้ต้นไทร ธิดาทั้ง ๓ ของพญามาร คือ นางราคา นางตัณหา นางอรดี ได้อาสาผู้เป็นบิดาไปทำลายตบะเดชะของพระพุทธองค์ | |
๑๙.พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ นั่งขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นหนึ่งของ พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางนาคปรก ตามพุทธประวัติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกจากใต้ร่มไทร เสด็จประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก)ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฝนเจือลมหนาวตกพรำอยู่ตลอดเวลา ๗ วันไม่ขาดสาย | |
๒๐.พระพุทธรูปปางฉันผลสมอ พระพุทธรูปปางฉันผลสมอ วัดสุทัศนเทพวราราม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางฉันผลสมอ เป็น พระพุทธรูปปางต่างๆ ในลักษณะปางฉันผลสมอ ตามพุทธประวัติ ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากร่มไม้จิกแล้ว ก็เสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้เกด ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงทรงออกจากสมาธิ | |
๒๑.พระพุทธรูปปางประสานบาตร พระพุทธรูปปางประสานบาตร วัดปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางประสานบาตร ประวัติความเป็นมาของ ปางประสานบาตร หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้ว ๔๙ วัน พ่อค้าสองพี่น้องชื่อ ตปุสสะและภัลลิกะได้รับคำแนะนำจากเทวดาซึ่งเคยเป็นญาติกับพ่อค้าทั้งสองในอดีตชาติ ให้นำภัตตาหารน้อมถวายแด่พระพุทธองค์ | |
๒๒.พระพุทธรูปปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง พระพุทธรูปปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง ประวัติความเป็นมาของ ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง จากตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงที่พ่อค้าสองพี่น้องถวายด้วยความเลื่อมใส เมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว พ่อค้าทั้งสองทูลขอถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นที่พึ่งนับถือสูงสุดในชีวิต | |
๒๓.พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ ประวัติความเป็นมาของ ปางพระเกศธาตุ ตามพุทธประวัติหลังจากที่ตปุสสะและภัทลิกะได้ขอถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งสูงสุดใน ชีวิต ถือเป็นปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนาแล้ว | |
๒๔.พระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระพุทธรูปปางรำพึง ประวัติความเป็นมาของ ปางรำพึง ตามพุทธประวัติ ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า | |
๒๕.พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา หรือพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง )ขัดสมาธิ บางแห่งสร้างเป็นพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักร ประวัติความเป็นมาของปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร | |
๒๖.พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ วัดสุทัศนเทพวาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ประวัติ พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ ความเป็นมาของ ปางประทานเอหิภิกขุ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเสร็จแล้ว โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลและทูลขออุปสมบท | |
๒๗.พระพุทธรูปปางภัตกิจ พระพุทธรูปปางภัตกิจ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ในกิริยาเสวย ประวัติ พระพุทธรูปปางภัตกิจ ความเป็นมาของ ปางภัตกิจ ยสกุลบุตร ผู้หนีความวุ่นวายในเรือน ออกมา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนได้ดวงตาเห็นธรรม | |
๒๘.พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ประวัติ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็น พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางห้ามสมุทร ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงขอประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ | |
๒๙.พระพุทธรูปปางห้ามญาติ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ประวัติ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็น พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางห้ามญาติ ครั้งหนึ่งเหล่ากษัตริย์ศากยวงศ์ พระญาติฝ่ายพุทธบิดา และเหล่ากษัตริย์โกลิยวงศ์ พระญาติฝ่ายพุทธมารดา ทะเลาะวิวาทกันเพราะเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเนื่องจากฝนแล้ง | |
๓๐.พระพุทธรูปปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล พระพุทธรูปปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางปลงกัมมัฏฐาน หรือ พระพุทธรูปปางชักผ้าบังสุกุล ความเป็นมาของ"ปางปลงกัมมัฏฐาน","ปางชักผ้าบังสุกุล"ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะนำผ้าขาวที่ห่อศพมาซักย้อมเป็นผ้าสังฆาฏิ จึงเสด็จไปพิจารณาปฏิกูลสัญญา แล้วทรงชักผ้าบังสุกุลและนำมาซักตากให้หมดกลิ่นซากศพ | |
๓๑.พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก ประวัติความเป็นมาของ ปางชี้อัครสาวก อุปติสสะและโกลิตะเป็นสหายรักกัน วันหนึ่งอุปติสสะ ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ และได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จึงไปแสดงธรรมแก่โกลิตะจนได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน | |
๓๒.พระพุทธรูปปางประทานโอวาทหรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประวัติ พระพุทธรูปปางประทานโอวาท หรือ พระพุทธรูป ปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ ความเป็นมาของ"ปางประทานโอวาท"หรือ"ปางแสดงโอวาทปาติโมกข์" ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ ๙ เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมที่ครบองค์ ๔ ได้แก่ | |
๓๓.พระพุทธรูปปางประทับเรือ พระพุทธรูปปางประทับเรือ ประวัติความเป็นมาของ"ปางประทับเรือ" พระพุทธรูปปางประทับเรือ ตามพุทธประวัติ ครั้งหนึ่งได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่ ทุพภิกขภัย อมนุษยภัย อหิวาตกภัย ในเวลานั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาจำพรรษา ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร | |
๓๔.พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ เป็นการสร้างพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ ตามพุทธประวัติ เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย่างพระบาทสู่พื้นดินนครเวสาลี ทรงรำลึกถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่อดีตชาติ ทันใดนั้น มหาเมฆเริ่มตั้งเค้า สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฝนกระหน่ำลงมา | |
๓๕.พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน การสร้าง พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ นับเป็น พระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหนึ่งรูปแบบ"ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์" เป็นประติมากรรมพุทธประวัติ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระประยูรญาติครั้งแรก พระญาติผู้ใหญ่ไม่ทำความเคารพ | |
๓๖.พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน การสร้าง พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร และตำนานความเป็นมาของ"ปางอุ้มบาตร" เป็นประติมากรรมตามพุทธประวัติ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดกแล้ว พระประยูรญาติต่างถวายนมัสการทูลลากลับสู่พระราชสถาน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์พระพุทธองค์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย | |
๓๗.พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา และความเป็นมาของ "ปางโปรดพุทธบิดา"เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จบิณฑบาตในพระนคร พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นว่าเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติของพระโอรสกษัตริย์ | |
๓๘.พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง เป็น พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง)ขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง และความเป็นมาของ"ปางรับผลมะม่วง" เมื่อครั้งพุทธกาล ณ กรุงราชคฤห์ มีเศรษฐีผู้หนึ่งนำบาตรไม้จันทร์แดงไปแขวนไว้สูง ๖๐ ศอก พร้อมประกาศว่า ถ้าพระอรหันต์มีจริง ขอให้แสดงฤทธิ์เหาะมาเอาบาตรนี้ไปเถิด หากพ้น ๗ วัน แล้วไม่มีผู้ใดกระทำได้ | |
๓๙.พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ(นั่ง) บนบัลลังก์ พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ และความเป็นมาของ ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ ตามพุทธประวัตินั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม | |
๔๐.พระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา พระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา ตามพุทธประวัติความเป็นมาของ ปางโปรดพุทธมารดา นั้น หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๓ เดือน เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งไปบังเกิดเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต | |
๔๑.พระพุทธรูปปางเปิดโลก พระพุทธรูปปางเปิดโลก วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร พระพุทธรูปปางเปิดโลก และความเป็นมาของ ปางเปิดโลก ตามพุทธประวัตินั้น เมื่อครบกำหนด ๓ เดือน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธองค์ ทรงทำโลกวิวรณปาฏิหาริย์ คือ ทรงเปิดโลกทั้ง ๓ อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษย์โลก | |
๔๒.พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ความเป็นมาของ ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตามพุทธประวัตินั้นเมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยบันไดแก้วมณีที่ท้าวสักกเทวราชเนรมิตน้อมถวาย โดยมีเหล่าพรหมและเทวดาจำนวนมากส่งเสด็จและยังมีปัญจสิขเทพบุตรทรงพิณ | |
๔๓.พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางลีลา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระพุทธรูปปางลีลา และความเป็นมาของ ปางลีลา จากพุทธประวัติตอน เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยเหล่าเทวดาและพรหมที่ตามมาส่งเสด็จนั้น ขบวนตามเสด็จมาหยุด ณ ประตูสังกัสสนคร เมืองที่พระสารีบุตรจำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธลีลาและพระสิริงดงามยิ่ง | |
๔๔.พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ และความเป็นมาของ ปางห้ามแก่นจันทร์ เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีตำนานกล่าวว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งนครสาวัตถีทรงลำลึกถึงพระพุทธองค์มาก ด้วยความเคารพรักและศรัทธา จึงสั่งให้ช่างหลวงทำพระพุทธรูปลักษณะคล้ายองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยไม้แก่จันทร์หอมอย่างดี | |
๔๕.พระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน ความเป็นมาของ ปางพระอิริยาบถยืน จากพุทธประวัติ ในยามเช้าของทุก ๆ วัน ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จออกโปรดสัตว์จะทรงหยุดยืน ณ หน้ามุขพระคันธกุฏิเสมอ เพื่อทอดพระเนตรความพร้อมเพรียงของหมู่สงฆ์ | |
๔๖.พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ประวัติความเป็นมาของ ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท นั้นเกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติ ๓ เหตุการณ์ ดังนี้ คือ ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเขาสัจพันธ์ ทรงหยุดบุษบกอยู่บนอากาศ เพื่อทรมานสัจพันธ์ฤาษีให้ละมิจฉาทิฐิ จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ | |
๔๗.พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ประวัติ พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน และความเป็นมาของ ปางสรงน้ำฝน จากตอนที่ นครสาวัตถีเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มหาชนทั้งหลายต่างพร้อมใจกันมากราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกสรงน้ำฝน | |
๔๘.พระพุทธรูปปางคันธารราฐ : พระพุทธรูปปางขอฝน ( นั่ง ) พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( นั่ง ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระพุทธรูปปางคันธารราฐ หรือ พระพุทธรูปปางขอฝน ความเป็นมาของ "ปางคันธารราฐ"หรือ"ปางขอฝน"(นั่ง) หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ประมาณ ๕๐๐ ปี กษัตริย์เมืองคันธาระ พระนามว่า พระเจ้ามิลินท์ | |
๔๙.พระพุทธรูปปางคันธารราฐ : พระพุทธรูปปางขอฝน ( ยืน ) พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( ยืน ) วัดชนะสงคราม พระพุทธรูปปางคันธารราฐ หรือ พระพุทธรูปปางขอฝน ( ยืน )ความเป็นมาของ ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( ยืน ) สมัยหนึ่งนครสาวัตถี แคว้นโกศล เกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สระโบกขรณี ( สระบัว ) | |
๕๐.พระพุทธรูปปางชี้อสุภะ พระพุทธรูปปางชี้อสุภะ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถสบถยืน ประวัติ พระพุทธรูปปางชี้อสุภะ และความเป็นมาของ ปางชี้อสุภะ จากพุทธประวัติในตอนกรุงราชคฤห์ มีหญิงนครโสเภณีชั้นสูงชื่อนางสิริมา นางมีความงามมาก ใครปรารถนาจะได้ร่วมอภิรมย์กับนางจะต้องจ่ายทรัพย์ถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ ต่อ ๑ คืน นางถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน | |
๕๑.พระพุทธรูปปางชี้มาร พระพุทธรูปปางชี้มาร วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางชี้มาร ประวัติความเป็นมาของ ปางชี้มารจากพุทธประวัติตอน พระโคถิกเถระ ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์ผล เป็นพระอรหันต์ มารคิดว่าวิญญาณของท่านเพิ่งออกจากร่าง จึงแฝงกายเข้าไปในก้อนเมฆ เที่ยวตามหาวิญญาณของท่าน แต่ไม่พบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกพระหัตถ์ชี้มารให้ภิกษุทั้งหลายดูและตรัสบอกภิกษุว่า | |
๕๒.พระพุทธรูปปางปฐมบัญญัติ พระพุทธรูปปางปฐมบัญญัติ วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางปฐมบัญญัติ และความเป็นมาของ ปางปฐมบัญญัติ จากพุทธประวัติ ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นครเวสาลี สุทินกลันทบุตร ได้ฟังพระธรรมเทศนา บังเกิดความเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท แต่บิดามารดาอยากให้สึกมาดูแลสมบัติของตระกูล | |
๕๓.พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ และความเป็นมาของ ปางขับพระวักกลิ จากพุทธประวัติตอน กุลบุตรจากตระกูลพราหมณ์นามวักกลิ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดเลื่อมใสในพุทธจริยวัตรและพึงพอใจในพระสรีระของพระองค์ จึงออกบวชเพราะต้องการจะชมพระบารมีของพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด | |
๕๔.พระพุทธรูปปางสนเข็ม พระพุทธรูปปางสนเข็ม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับนั่งขัดสมาธิ ประวัติ พระพุทธรูปปางสนเข็ม และความเป็นมาของ ปางสนเข็ม จากพุทธประวัติเมื่อ ครั้งหนึ่งพระจีวรของพระอนุรุทธเถระเก่ามาก ท่านจึงแสวงหาผ้าบังสุกุลเพื่อมาทำจีวร พระเถระพบผ้า ๓ ผืนที่กองหยากเยื่อจึงเก็บมา ในสมัยโบราณการทำจีวรต้องตัดเย็บและย้อมเอง | |
๕๕.พระพุทธรูปปางประทานพร ( นั่ง ) พระพุทธรูปปางประทานพร ( นั่ง ) วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางประทานพร (นั่ง) และความเป็นมาของ ปางประทานพร ( นั่ง )จากพุทธประวัติ เมื่อครั้งพระอานนท์ถูกสงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก ท่านได้ขอพร ๘ ประการ จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า | |
๕๖.พระพุทธรูปปางประทานพร ( ยืน ) พระพุทธรูปปางประทานพร (ยืน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ประวัติ พระพุทธรูปปางประทานพร (ยืน) และความเป็นมาของ ปางประทานพร (ยืน) จากพุทธประวัติ ตอนมหาอุบาสิกาวิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก | |
๕๗.พระพุทธรูปปางประทานธรรม พระพุทธรูปปางประทานธรรม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายจับด้ามพัด พระพุทธรูปปางประทานธรรม ความเป็นมาของ ปางประทานธรรม ปางพระพุทธรูป จากพุทธประวัติ ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ว่าพระพุทธองคทรงประกอบด้วยทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ | |
๕๘.พระพุทธรูปปางประทานอภัย ( นั่ง ) พระพุทธรูปปางประทานอภัย ( นั่ง ) วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางประทานอภัย (นั่ง) และความเป็นมาของ ปางประทานอภัย (นั่ง) พระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชแทน | |
๕๙.พระพุทธรูปปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี พระพุทธรูปปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี และความเป็นมาของ ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี ตามพุทธประวัติตอน พระเทวทัตคิดประทุษร้ายต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ครั้งแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในครั้งที่ ๓ พระเทวทัตได้ติดสินบนแก่ควาญช้างเพื่อมอมเหล้าพญาช้างนาฬาคิรีจนเกิดความคลุ้มคลั่ง | |
๖๐.พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง วัดหน้าพระเมรุราชิการาม ประวัติ พระพุทธรูป ปางโปรดพญาชมพูบดี หรือ พระพุทธรูปปางทรงเครื่อง ตอนพญาชมพูบดีผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความริษยาพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหง จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า | |
๖๑.พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งบนก้อนศิลา ประวัติ พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ และความเป็นมาของ ปางปาลิไลยก์ จากพุทธประวัติ ครั้งหนึ่งพระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน ประพฤติตนเป็นผู้ว่านอนสอนยาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ | |
๖๒.พระพุทธรูปปางแสดงโอฬาริกนิมิต พระพุทธรูปปางแสดงโอฬาริกนิมิต วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางแสดงโอฬาริกนิมิต และความเป็นมาของ ปางแสดงโอฬาริกนิมิต ในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่ปาวาลเจดีย์ ทรงแสดงโอฬาริกนิมิต คือ ตรัสให้พระอานนท์ทราบว่าผู้ใดเจริญอิทธิบาทภาวนา หรือ อิทธิบาท ๔ได้สมบูรณ์แล้ว | |
๖๓.พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู วัดสุทัศนเทพวราราม พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู และความเป็นมาของ ปางโปรดอสุรินทราหู อสุรินทราหู อุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย จึงมีความประสงค์จะฟังธรรมจากพระพุทธองค์ | |
๖๔.พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์ พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์ วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์ ความเป็นมาของ ปางโปรดอาฬวกยักษ์ ครั้งหนึ่งเจ้าผู้ครองนครอาฬวี ชอบล่าสัตว์เป็นกิจวัตร วันหนึ่งพลัดหลงเข้าไปพักใต้ต้นไทรซึ่งเป็นเขตหวงห้ามของอาฬวกยักษ์ ถูกยักษ์จับไว้เพื่อกินเป็นอาหาร | |
๖๕.พระพุทธรูปปางโปรดองคุลิมาลโจร พระพุทธรูปปางโปรดองคุลิมาลโจร เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน พระพุทธรูปปางโปรดองคุลิมาลโจร ความเป็นมาของ ปางโปรดองคุลิมาลโจร อหิงสกกุมารบุตรพราหมณ์ปุโรหิตแห่งสาวัตถี ได้ศึกษาสรรพวิชาอยู่ ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ผู้เป็นอาจารย์ถูกยุยงว่า อหิงสกะหมายล้มล้างตน จึงหาทางกำจัดโดยยืมมือผู้อื่นฆ่า และบอกว่าจะสอน "วิษณุมนต์" | |
๖๖.พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืนบนเศียรพกาพรหม พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม และความเป็นมาของ ปางโปรดพกาพรหม ท้าวพกาพรหมมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา | |
๖๗.พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติ พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม ความเป็นมาของ ปางพิจารณาชราธรรม จากพุทธประวัติ ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราศรัยเรื่องชราธรรมกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ บัดนี้เราชราภาพล่วงกาลผ่านวัยจนพระชนมายุล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว | |
๖๘.พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุ พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร ความเป็นมาของปางปลงอายุสังขาร จากพุทธประวัติเมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ มารมาทูลอาราธนาให้ปรินิพพาน เมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ | |
๖๙.พระพุทธรูปปางนาคาวโลก พระพุทธรูปปางนาคาวโลก วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ประวัติ พระพุทธรูปปางนาคาวโลก ความเป็นมาของปางนาคาวโลก จากพุทธประวัติ วันหนึ่งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ พรรษาแล้ว ทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากรุงเวสาลี พร้อมรับสั่งว่า การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา คือ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การตรัสเช่นนี้ถือเป็นมรณญาณ | |
๗๐.พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิประวัติ พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง และความเป็นมาของ ปางทรงรับอุทกัง เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ นายจุนทะได้จัดภัตราหารอันประณีตไว้ถวายพร้อมสุกรมัททวะ หลังจากที่เสวยภัตตาหารของนายจุนทะแล้ว | |
๗๑.พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์ พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์ วัดพระปฐมเจดีย์ ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระอานนท์เศร้าโศกเสียใจมาก จึงแอบไปยืนร้องไห้อยู่เพียงลำพัง พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง | |
๗๒.พระพุทธรูปปางโปรดสุภัททปริพาชก พระพุทธรูปปางโปรดสุภัททปริพาชก ประวัติความเป็นมาของ ปางโปรดสุภัททปริพาชก ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรทมอยู่ระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง ในเมืองกุสินารา มีปริพาชกนามว่า สุภัททะ ทราบข่าวว่าพระองค์จะปรินิพพาน จึงปรารถนาเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้า | |
๗๓.พระพุทธรูปปางปรินิพพาน พระพุทธรูปปางปรินิพพาน พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา หลับพระเนตร ประวัติ พระพุทธรูปปางปรินิพพาน และความเป็นมาของ ปางปรินิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดิอน ๖) ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น ณ มกุฎพันธเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (วันอฏฐมี) |
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |