พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระนาคปรก กรุบ้านละหาน จ.สุพรรณบุรี ![]() ![]() พระนาคปรก กรุบ้านละหาน จ.สุพรรณบุรี จึงเหลือแต่เพียง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ของ จ.สุพรรณบุรี เท่านั้น ที่ยังไม่ได้การจัดลำดับ สุดยอดพระเบญจภาคี พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง อย่างไรก็ตาม พระชินเนื้อตะกั่วสนิมแดง นับเป็นพระที่แตกกรุออกมาอย่างมากมาย เป็นอันดับหนึ่ง ที่มีการขุดพบได้ใน จ.สุพรรณบุรี มีพระหลากหลายกรุ หลากหลายพิมพ์ที่ล้วนมีความสวยงามอลังการทั้งสิ้นและที่น่าแปลกใจ คือ แทบทุกกรุจะไม่มีการขุดพบภายในบริเวณวัด หรือโบราณสถานต่างๆ หากแต่ขุดพบตามทุ่งไร่ทุ่งนา และตามบริเวณบ้านทั่วๆ ไป อย่างเช่นที่ หมู่บ้านละหาน ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มีบ้านของชาวบ้านคนหนึ่งชื่อว่า นายสงวน อยู่ใกล้กับวัดละหาน และวัดบ้านกร่าง (ที่เคยขุดค้นพบพระขุนแผน อันขึ้นชื่อลือชา) เมื่อปี ๒๕๑๓ ที่บ้านของนายสงวน นี้เองที่มีการขุดพบ พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเนื่องจากพระที่ถูกขุดพบนี้ อยู่ในที่ดินของชาวบ้านไม่ได้อยู่ในบริเวณวัดละหาน พระกรุนี้จึงมีชื่อเรียกว่า พระกรุบ้านละหาน มิใช่ พระกรุวัดละหาน แต่ประการใด (พระกรุประเภทนี้มีอีกหลายกรุ ในเมืองสุพรรณ) พระกรุบ้านละหาน ที่ขุดพบส่วนใหญ่เป็น พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ศิลปะแบบลพบุรียุคปลาย มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมกันมากมี ๒ พิมพ์ คือ พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว กรุบ้านละหาน และพระนาคปรก พระนาคปรก กรุบ้านละหาน ที่ขุดพบนี้เนื้อตะกั่วสนิมแดงจัดมาก แบบแดงลูกหว้า เคลือบด้วยสนิมไขขาว สวยงามมาก องค์พระปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่บนฐานแท่นสามชั้น เบื้องบนปรกคลุมด้วยพญานาคเจ็ดเศียร ตามรูปแบบของพระนาคปรกสมัยลพบุรี ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ ๒ ซม. สูงประมาณ ๔.๒ ซม. นับเป็นพระขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เกินไปที่จะบูชาคล้องคอได้อย่างสบายๆ พุทธคุณของพระปางนาคปรก เชื่อกันว่าดีครบทุกด้านเป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ แต่ผู้ที่เกิดวันอื่นๆ ก็สามารถสักการบูชาได้ ไม่ได้ผิดกติกาอันใด พระนาคปรก กรุบ้านละหาน นับเป็นพระนาคปรกที่มีความงดงามอลังการในด้านพุทธศิลป์มาก ไม่แพ้พระนาคปรก ตระกูลลพบุรี อื่นๆ แม้ว่าจะขุดพบใน จ.สุพรรณบุรี ก็ตาม "ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ" |