พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระเครื่องเนื้อดินเผา ทำไมจึงต่างกัน
พระเครื่องเนื้อดินเผา ทำไมจึงต่างกัน "พระเนื้อดินเผา"ทำไมจึงมีสีที่ต่างกันและขนาด พระเครื่องเนื้อดินเผาที่เป็นพระกรุบางองค์จะมีขนาดที่ต่างกัน พระเครื่องเนื้อดินเผาจะมีสีของพระแตกต่างกันเนื่องจากกรรมวิธีการเผาไฟ เรื่องพระเครื่องเนื้อดินเผา เกี่ยวกับเรื่องสีของพระเนื้อดินเผาว่าทำไมจึงมีสีที่ต่างกัน และพระเครื่องเนื้อดินเผาที่เป็นพระกรุบางองค์จะมีขนาดที่แตกต่างกันด้วย เช่น พระคงลำพูนจะเห็นได้ชัด ทั้งสีและขนาด และพระคงลำพูนนั้นมีแม่พิมพ์กี่อันทำไมถึงสร้างพระได้จำนวนมากๆ แต่มีจุดตำหนิแบบเดียวกัน ครับเรื่องพระเนื้อดินเผาจะมีสีของพระ แตกต่างกันเนื่องจากกรรมวิธีการเผาไฟ ซึ่งจะอธิบายเป็นลำดับไป และโดยเฉพาะที่เป็นพระกรุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปนั้น ทำไมถึงสร้างได้จำนวนมากๆ โดยใช้แม่พิมพ์อันเดียวกัน เรื่องนี้จากการศึกษาค้นคว้า และได้พบเห็นตัวแม่พิมพ์ของพระต่างๆ ที่อยู่ในกรุ ก็ได้ข้อสันนิษฐานว่า การแกะแม่พิมพ์พระเครื่องในสมัยโบราณนั้น ช่างเขาแกะแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์ตัวผู้ (Positive) ก่อน คือแกะเป็นองค์พระอย่างที่เราเห็นนี่แหละครับ วัสดุที่นำมาแกะก็มีตั้งแต่ ไม้ หินสบู่ หินลับมีดโกน เหล่านี้เป็นต้น โดยเน้นที่ตัววัสดุที่จะนำมาแกะให้มีเนื้อละเอียดและไม่แข็งมากจนเกินไป เพื่อการแกะได้สะดวกสวยงาม หลังจากแกะแม่พิมพ์ตัวผู้เสร็จ เขาก็เอาดินเหนียวที่จะใช้ทำแม่พิมพ์จริงๆ มากดถอดแบบไว้หลายๆ อันตามต้องการ จากนั้นก็นำไปเผาไฟ ให้แม่พิมพ์แข็งตัวมีความทนทานในการใช้งาน กรรมวิธีนี้เรียกว่า การถอนแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์พระเหรียญในปัจจุบันก็ยังคงทำกรรมวิธีนี้อยู่ ซึ่งอาจจะกล่าวในโอกาสต่อไป เรากลับมาคุยกันเรื่องแม่พิมพ์โบราณเนื้อดินเผากันต่อ ยกตัวอย่างพระคง ลำพูน ซึ่งเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาก็ใช้กรรมวิธีนี้ในการทำแม่พิมพ์ เราจะเห็นได้ว่าพระคงนั้นมีจำนวนมากมาย ทำไมคนโบราณเขาจึงสร้างได้ โดยที่พระทุกองค์มีจุดตำหนิที่เหมือนกัน เมื่อเขาเผาแม่พิมพ์จนสุกดีแล้วเขาก็ได้แม่พิมพ์จำนวนหลายๆ ชิ้นเท่าไรก็ได้ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำมาใช้เป็นแม่พิมพ์พระ
ปัญหาต่อมาทำไมพระเนื้อดินเผา ที่ออกมาจึงมีขนาดที่แตกต่างกัน เรื่องนี้ก็คือตอนที่เขาถอนพิมพ์ออกมาเป็นแม่พิมพ์เนื้อดิบยังไม่ได้เผาไฟ นั้น ก็มีขนาดของพิมพ์พระเท่าๆ กัน แต่เกิดหลังจากการเผาไฟนั่นเอง คือการเผานั้นเขาก็เผาแบบไม่ได้พิถีพิถันเรื่องของอุณหภูมิเท่าใดนัก เรียกว่าพอใช้งานได้ก็พอ ตัวแม่พิมพ์ที่ถูกความร้อนมาก เช่นที่อยู่ใกล้ไฟหน่อยก็จะหดตัวมากกว่า สีของแม่พิมพ์ก็จะออกเป็นสีเขียว สีแดง สีผ่าน (สีออกดำปนแดงไม่เสมอกัน) บ้างการหดตัวก็ย่อมแตกต่างกัน สีเขียวจะมีการหดตัวมากที่สุด ขนาดก็จะเล็กลงนิดหน่อย เมื่อนำมาใช้เป็นแม่พิมพ์กดพระ องค์พระที่ได้ก็จะมีขนาดเล็กลง องค์ไหนที่กดด้วยแม่พิมพ์สีแดงก็จะมีขนาดใหญ่กว่า และพวกแม่พิมพ์เนื้อผ่านก็จะมีขนาดอวบอ้วนใหญ่กว่าเขา ต่อมาเมื่อนำ พระที่กดแม่พิมพ์แล้วไปเผาไฟอีก ก็จะใช้กรรมวิธีเดียวกันคือเผาให้พอสุกพระก็จะมีสีและขนาดต่างกันตามความ ร้อนที่ได้รับ และยิ่งสร้างจำนวนมากเท่าไร ก็ต้องมีการเผาอยู่หลายครั้งหลายครา อุณหภูมิความร้อนที่ได้รับก็แตกต่างกันไปอีก ขึ้นอยู่กับการใช้เวลาในการเผาและใช้ไฟมากน้อยต่างกันด้วย พระเครื่องเนื้อดินเผา เช่นพระคงที่สร้างจำนวนมากมาย
พระเครื่องเนื้อดินเผา อย่างพระคงจึงมีสีและขนาดที่แตกต่างกันไป แต่จุดตำหนิและตำแหน่งนั้น ต้องมีที่เดียวกันเหมือนๆ กันครับ พระเนื้อดินเผา ที่เป็นพระกรุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปล้วนแล้วแต่มีกรรมวิธี การสร้างแม่พิมพ์และการสร้างพระเหมือนๆ กันครับ ที่ผมพูดเช่นนี้ ก็เพราะได้ศึกษาค้นคว้ามานานพอสมควร และได้พบเห็นแม่พิมพ์พระเนื้อดินเผาที่เป็นดินเผาที่ถูกบรรจุไว้ในกรุอยู่หลายๆ กรุ นอกจากนี้ก็ยังได้ทดลองทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็พบว่า ข้อสันนิษฐานนี้ค่อนข้างจะถูกต้องครับ ปัจจุบันการถอนพิมพ์ยังคงมี ใช้อยู่ในการผลิตพระประเภทเหรียญ โดยช่างเขาจะแกะแม่พิมพ์ตัวผู้ของเหรียญด้วยเหล็กชนิดอ่อน เสร็จเรียบร้อยก็นำไปชุบแข็ง แล้วจึงนำเหล็กอ่อนชนิดเดียวกันมาปั๊มกระแทกขึ้นรูป แล้วนำไปชุบแข็ง เพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ปั๊มเหรียญต่อไปครับ รายละเอียดแล้วจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป ส่วนที่ผมบอกว่าแม่พิมพ์ที่ ช่างแกะเป็นแม่พิมพ์ตัวผู้นั้นมีใช้ในสมัยอยุธยาขึ้นไป ก็เพราะว่า พอมาถึงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เขาเริ่มแกะแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์สำเร็จคือเป็นแม่พิมพ์ตัวเมียเลย เช่นหลวงวิจารย์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 ที่แกะแม่พิมพ์ถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี นั้น ได้มีบันทึกไว้ว่า หลวงวิจารย์ท่านได้แกะแม่พิมพ์สำเร็จ ซึ่งเป็นการแกะแม่พิมพ์สมัยใหม่ถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ การแกะแบบนี้ต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญพิเศษ เนื่องจากเป็นการแกะแม่พิมพ์กลับด้านกัน (Negative) ซ้ายเป็นขวา ขวาเป็นซ้าย ความลึกเป็นความสูง ความสูงเป็นความตื้น เช่นเดียวกับฟิล์มถ่ายรูป หรือการมองในกระจก เป็นต้น ดังนั้นพระสมเด็จในแต่ละพิมพ์จึงต้องมีแม่พิมพ์หลายอัน พระเครื่องเนื้อดินเผา ที่เห็นความแตกต่างได้ชัดเรื่องสีและขนาดขององค์พระคือ พระ 25 ศตวรรษ ซึ่งพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินนั้นก็มีความแตกต่างกันในแต่ละองค์ด้วยเหตุผลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผา ที่สร้างจำนวนมาก และน่าเสาะหามาใช้กันครับ เรื่องพระเครื่องเนื้อดินเผา กล่าวมาคร่าวๆ นี้หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะพอเข้าใจได้บ้างเรื่องของพระเนื้อดินเผาทำไมจึงมี ขนาดต่างกันและมีสีของพระต่างกัน รายละเอียดลึกๆ นั้นยังมีอีกมาก ซึ่งต้องใช้หน้ากระดาษและรูปมากจึงขอยกไว้ก่อนครับ ก่อนจากก็นำรูปพระคงลำพูน พระเครื่องเนื้อดินเผา ที่มีเสน่ห์มาให้ชมกันเล่นๆครับ มีหลายสีหลายสภาพครับ ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์ |