ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติการสร้างหลักเมืองนคร

การสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช 

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติการสร้างหลักเมืองนคร มีลำดับขั้นตอนในการสร้างที่สำคัญต่างๆมากมาย พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามศาสตร์โบราณ ของอาณาจักรศรีวิชัย

ประวัติศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
ลำดับขั้นตอน"การสร้างหลักเมืองนคร" จะมีขั้นตอนที่สำคัญใน "การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช" มีพิธีกรรมต่างๆใน การสร้างหลักเมืองนคร ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริม การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายเอนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติให้มี การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นในคราวประชุมวันที่ 14 มกราคม 2528 ในการนี้ได้มอบหมายให้พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช (อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 8) พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช)และพระเทพวราภรณ์เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จัดตั้งคณะทำงานจัด การสร้างหลักเมืองนครขึ้น

2. คณะทำงานการสร้าง หลักเมืองนคร ดังกล่าวได้เริ่มต้นจัดหาไม้ตะเคียนทองมาเพื่อสร้างเป็นเสาหลักเมือง โดยหามาจากยอดเขาเหลือง เดิมกำหนดจะจัดทำในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด แต่หลายคนเห็นว่าจะไม่สะดวกในการปฏิบัติ จึงเปลี่ยนไปใช้สถานที่บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชแทน

แบบร่าง เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
แบบร่าง เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช

3. เสาหลักเมืองมีรูปแบบและขนาดความกว้างยาวเป็นไปตามหลักการตามที่พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชแนะนำ คือเสาแกะสลักเป็นลวดลายศรีวิชัย ประกอบด้วยอักขระโบราณ ยอดเสาเป็นเศียรพระพรหมแปดเศียรซ้อนกันสองชั้น (ชั้นละสี่เศียร) ยอดบนสุดเป็นยอดชัยหลักเมือง หุ้มด้วยทองคำ

4. เพื่อให้ถูกตามธรรมเนียมนิยม จึงกำหนดให้มีพิธีสำคัญที่เกี่ยวเนื่องสองพิธีใน"การสร้างหลักเมืองนคร"คือ

4.1 พิธีฝังหัวใจสมุทรและฝังหัวใจเมือง ประธานในพิธีคือนายเอนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยประกอบพิธีที่สี่แยกคูขวาง

4.2 พิธีเบิกเนตรหลักเมือง เจ้าพิธีคือพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดพิธี การสร้าง หลักเมืองนคร ณ บริเวณสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานในพิธีมอบหลักเมือง
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานในพิธีมอบหลักเมือง

5. จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เรียนเชิญพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบหลักเมืองให้แก่ทางราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นายสุกรี รักษ์ศรีทอง) เป็นผู้รับมอบ

6. ในระหว่างดำเนินการสร้างหลักเมือง (การสร้างหลักเมืองนคร) ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด (นายสุกรี รักษ์ศรีทอง) กับผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด (พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล) รุนแรงขึ้นจนกระทรวงมหาดไทยได้โยกย้ายคู่กรณี และแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด(ร้อยตรีอำนวย ไทยานนท์) รักษาราชการแทน

7. จังหวัดได้รายงานกระทรวงมหาดไทยเพื่อกราบบังคมทูลเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทรงประกอบพิธีนำกลีบบัวทองคำขึ้นประกอบปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์และทรงเจิมทรงพระสุหร่ายยอดชัยหลักเมือง ในการนี้ได้เสนอวันอันเป็นมงคลไปด้วย คือวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน9ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จแทนพระองค์เป็นประธานยกกลีบบัวทองคำขึ้นประกอบปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนวันที่ 3 สิงหาคม 2530

8. ปลายเดือนกรกฎาคม 2530 กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัดว่า ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จังหวัดนำยอดชัยหลักเมืองเข้าไปยังตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อทรงเจิมทรงพระสุหร่าย ในวันที่ 3 สิงหาคม 2530 เวลาประมาณ 16.00 น.

9. จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะ ประกอบด้วยนายสัมพันธ์ ทองสมัคร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) นายกำจร สถิรกุล (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) นายอนันต์ อนันตกุล (เลขาธิการคณะรัฐมนตรี) นายศิริชัย บุลกูล (วุฒิสมาชิก) เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสนี้ข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้างหลักเมือง ได้นำเอาวัตถุมงคลและผ้ายันต์จำนวนมากทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วย ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจิมทรงพระสุหร่ายหลักเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับหลักเมืองจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดชัยนาทด้วย โดยมีนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำเข้าเฝ้า

พิธีแห่เสาหลักเมืองนครศรีฯ

  10. วันที่ 4 สิงหาคม 2530 คณะได้นำยอดชัยหลักเมืองกลับจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทางเครื่องบิน มีขบวนช้างม้า และประชาชนจำนวนนับหมื่นคนจัดขบวนต้อนรับแห่จากท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 มาสู่ที่ตั้งหลักเมืองในปัจจุบันนี้ 

11. ได้ทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในที่ดินราชพัสดุตามที่ทางจังหวัดขออนุญาตโดยสร้างเป็นศาลด้วยทรงเหมราชลีลา ก่ออิฐถือปูนสามชั้น ส่วนยอดบนเป็นทรงแหลม ภายในศาลพื้นปูด้วยหินอ่อน ฝาผนังจากพื้นขึ้นมาหนึ่งเมตรปูด้วยหินอ่อนต่อด้วยสลักดุนประวัติความเป็นมาของหลักเมือง มีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้าน เชิงบันไดเป็นรูปพญางูทะเลแผ่แม่เบี้ย รอบศาลหลักเมืองมีศาลเล็กสี่มุม รูปทรงเป็นลักษณะเช่นเดียวกับศาลหลักเมือง แต่ลดขนาดลงในสัดส่วน 2 : 1

12. จังหวัดได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยนายนิพนธ์ บุญญภัทโร (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นประธาน

13. การก่อสร้างศาลหลักเมือง(การสร้างหลักเมืองนคร) ก็ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง โดยมีรายได้จากเงินบริจาคจากศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธา ลักษณะการบริจาคเป็นวัสดุก่อสร้าง มีการจำหน่ายวัตถุมงคลธูปเทียน และทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้นายอำนวย ไทยานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ประสานงานดำเนินการเกี่ยวกับ การสร้างหลักเมืองนคร อย่างเต็มตัว

พิธีกรรมการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

14. วันที่ 25 ตุลาคม 2531 จัดพิธีสวมยอดชัยหลักเมือง โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก (ตำแหน่งในเวลานั้น) ล่วงถึงปีพุทธศักราช 2535 การก่อสร้างศาลหลักเมืองแล้วเสร็จประมาณ 35% สิ้นเงินประมาณ 4 ล้านบาท การก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อไปแต่ไม่อาจจะเร่งงานได้ เพราะฤดูฝนเป็นอุปสรรค นอกจากนั้นต้องดำเนินการตามเวลาฤกษ์อันเป็นมงคลตามที่พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชกำหนด การก่อสร้างโดยการจ้างแรงงาน และวัสดุก่อสร้างเป็นของคณะทำงานก่อสร้างหลักเมือง วัตถุมงคลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
ซึ่งพิธีกรรมต่างๆที่กล่าวมาใน การสร้างหลักเมืองนคร ทั้งหมดเป็นมีส่วนสำคัญอย่างมากใน การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช จนแล้วเสร็จและเป็นที่รู้จักและศรัทธาของคนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ




บทความจตุคามรามเทพ

วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ หลักเมืองนครศรีธรรมราช
วิธีการบูชาองค์จตุคามรามเทพ
บทบูชาองค์พ่อ พระคาถาบูชาจตุคามรามเทพ
อัศจรรย์ประสบการณ์อภินิหาร หลักเมืองนคร
เทวดารักษาเมือง เทพประจำหลักเมือง



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล