ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระศรีอารย์ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5(BuddhaMaitreya พระศรีอริยเมตไตรย)

พระศรีอารย์ (BuddhaMaitreya พระศรีอาริยเมตไตรย)
พระศรีอารย์ (BuddhaMaitreya พระศรีอาริยเมตไตรย)

พระศรีอารย์ (BuddhaMaitreya พระศรีอริยเมตไตรย)ในภัทรกัปนี้จะมี พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 มาตรัสรู้ ชื่อว่า พระศรีอารย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ที่เชื่อกันว่าจะเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ คือ ๑.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ

  ทรงมีพระวรกายสูงสี่สิบศอก พระรัศมีจากพระวรกายแผ่ซ่านไปสิบสองโยชน์ ทรงมีพระชนมายุสี่หมื่นปี  ๒.พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกายสูงสามสิบศอก ทรงมีพระชนมายุสามหมื่นปี ๓.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ทรงมีพระรัศมี ทรงมีพระวรกายสูงยี่สิบศอก ทรงมีพระชนมายุสองหมื่นปี ๔.พระพุทธเจ้า ของเรา พระโคตมะ พระสมณโคดม (เจ้าชายสิทธัตถะ) ทรงมีพระวรกายสูงสิบแปดศอก (ในพุทธวงศ์บาลีทรงแสดงไว้ว่า ทรงมีพระวรกายสูง ๑๖ ศอก) และ  ๕.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เมตเตยยะ ทรงมีฤทธิ์มาก

 พระศรีอารยเมตไตรย (พระ-สี-อา-ระ-ยะ-เมด-ไต) ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พระศรีอารย์ (พระ-สี-อาน) ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ที่เชื่อกันว่า จะเป็นผู้มีบารมีสูง ที่จะเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ก่อนโลกจะแตกดับ โดยจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว หรือ พ.ศ. ๕๐๐๐ ซึ่งถ้านับจากปีนี้ อายุของพระพุทธศาสนา จะเหลือเพียง ๒,๔๔๘ ปี

 อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่สิ้นศาสนาของพระโคดม แต่ปรากฏว่า มีผู้ให้ความเคารพนับถือพระศรีอารย์กันอย่างกว้างขวาง ชนิดที่เรียกว่า นับถือพระศรีอาริยเมตไตรยไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะอุบัติขึ้นด้วยซ้ำ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ลัทธิโยเร

BuddhaMaitreya พระศรีอารยเมตไตรย
BuddhaMaitreya พระศรีอารยเมตไตรย

 ขณะเดียวกัน ก็มีคนจำนวนไม่น้อย แอบอ้างว่าตนเองเป็นพระศรีอารย์ อย่างกับกรณีศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้หญิงคนหนึ่ง อ้างตนว่าเป็นพระศรีอารย์ พระดร.มโน (เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ) ที่ปรึกษาเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (ฝ่ายกิจการพระพุทธศาสนา) และอาจารย์พิเศษ คณะศาสนาวิชาศาสนาและปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า พระศรีอารย์ ชื่อที่แท้จริงในภาษาสันสกฤตคือ “ไมเตฺรยะ” (Maitreya) หรือในบาลี คือ “เมตฺเตยฺย”

 ความเชื่อในเรื่องพระไมตริยะ ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณในลักษณะนี้ มิใช่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่มีปรากฏในศาสนาฮินดู เชน ยูดาย คริสต์ และอิสลาม พระไตรปิฎกนั้น เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ว่าด้วยเรื่องพระไมตริยะ ดังปรากฏในพุทธพยากรณ์หลายแห่ง เช่น ในทีฆนิกาย จักกวัตติสีหนาทสูตร

 แม้ใน คัมภีร์ไบเบิล ในส่วนของพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า (Old Testament) ทั้งของศาสนายูดายและคริสต์ศาสนา ก็ปรากฏชื่อของ Messiah ซึ่งจะเป็นศาสดาพยากรณ์คนสุดท้ายของโลก ที่พระผู้เป็นเจ้าจะส่งลงมาโปรดโลก ก่อนวันโลกแตก ในคริสต์ศาสนาเชื่อว่า พระเยซูคริสต์ คือ Messiah ผู้นั้น   ส่วนในศาสนาอิสลามเชื่อว่า พระนะบี มูฮะหมัด คือ Messiah

 ปัจจุบัน มีผู้ที่ตั้งตัวว่า เป็นพระไมตริยะ หรือเกี่ยวข้องกับพระไมตริยะ ในฐานะเป็นทูตสวรรค์บ้าง เป็นศาสดาที่มาโปรดชาวโลก ให้รอท่าพระไมตริยะบ้าง บางรายตั้งสำนักใหญ่โต มีสาขานับร้อย และลูกศิษย์นับหมื่น ในยุโรปและอเมริกาในขณะนี้ บางรายถึงกับประกาศตัวเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5หรือถึงขนาดว่า เก่งกว่าพระพุทธเจ้าเลยก็มี

 นอกจากนี้แล้ว ยังมีสำนักพระไมตริยะระดับสากล เป็นศาสนาไฮเทค ซึ่งมีความพยายามที่จะรวบรวมความเชื่อของศาสนาต่างๆ เข้ามาด้วยกัน เพื่อหล่อหลอมเป็นศาสนาเดียวภายใต้พระไมตริยะ โดยจะอยู่ในฐานะของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ของกัลป์ แต่กลายเป็นองค์อวตาร คือ เป็นพระผู้เป็นเจ้าตัวจริงอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เหมือนพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ เพื่อลงมาปราบยุคเข็ญ ปิดกลียุค ก่อนวันสิ้นโลก เป็นทั้งพระเยซูคริสต์ด้วย และเป็นทั้งพระ Messiah ด้วย ในตัวคนเดียว

 "สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งทางอักษรศาสตร์ คือ หากนำคำว่า Maitreya ในภาษาสันสกฤตปริวัฏอักษรเป็นภาษาฮีบรู  จะได้คำว่า Messiah ตรงตัว เรื่องนี้คงไม่ใช่เหตุบังเอิญที่จะมีคำพ้องทั้งเสียงและความหมาย ในศาสนาที่มีต้นกำเนิดห่างกันหลายพันไมล์ และสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ระหว่างชาวยิวและชาวพุทธ คือศาสนิกชนของทั้งสองศาสนานั้น กำลังรอคอยการอุบัติขึ้นของ Maitreya หรือ Messiah ด้วยกันทั้งคู่ ศาสนาพระศรีอารย์ จึงมิได้มีอยู่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น และไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานกว่าสองพันปีแล้ว และเป็นรากฐานของความเชื่อ ในศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดียทั้ง ๓ ศาสนาใหญ่ คือ ฮินดู พุทธ และเชน" ดร.มโน กล่าว

 อ.ราม วัชรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร บอกว่า  คติความเชื่อในการสร้างพระศรีอารยเมตไตรย(พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5) เริ่มเป็นที่แพร่หลายหลังกึ่งพุทธศตวรรษ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการสร้างพระศรีอารยเมตไตรยอันเป็นที่เลื่องชื่อ อยู่ ๒ องค์ คือ องค์แรก"พระศรีอาริยเมตไตรย"ประดิฐษฐาน ที่วัดไลย์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ที่มีผู้คนทั้งใกล้และไกลให้ความเคารพบูชา กราบไหว้มาแต่ครั้งโบราณกาล ทุกๆ ปีจะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมกันอย่างเนืองแน่น วัดจึงจัดสร้างเหรียญและรูปหล่อ แผ่นทองแดงปั๊มพระสี่เหลี่ยมเนื้อชิน ฯลฯ เพื่อสำหรับไว้แจกเป็นที่ระลึก และเป็นอนุสรณ์ในการที่ได้มาร่วมทำบุญกับวัดบ้าง

แผ่นทองแดงปั๊มพระศรีอารย์(พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5)
แผ่นทองแดงปั๊มพระศรีอารย์(พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5)

 ส่วนพระศรีอารยเมตไตรย อีกองค์หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็น(พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕) ที่ใหญ่และเก่าแก่มากที่สุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดปราโมทย์ ม.๒ บ้านบางสะแก ต.บ้านปราโมทย์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม จากปูนปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๙ ศอก สูง ๘ โดยชาวบ้านจะเรียกว่า หลวงพ่อโต น่าจะมีอายุประมาณ ๑๖๐ ปี ซึ่งชาวบ้านนับถือมากว่าศักดิ์สิทธิ์ และจะแก้บนด้วยประทัดและดอกไม้รูปเทียน พวงมาลัย ทุกปีจะมีงานประจำปีในเดือนตุลาคม ทำบุญออกพรรษา มีตักบาตรรอบโบสถ์ ประกวดแต่งกายชุดไทย แข่งเรือ ชกมวยและมีงิ้วแสดงถวาย

 “ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง กล่าวว่า ในยุคของศาสนาพระศรีอารยเมตไตรยนั้น ผู้คนจะมีแต่ความสุข ปราศจากกลียุคทุกข์ยาก ไม่มีผู้ร้ายฆ่าฟันกันเหมือนเช่นทุกวันนี้ ความสงบสุขจะแผ่ไปทั่ว คนในศาสนาพระศรีอารย์นั้น ไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาล ไม่ต้องกังวลว่า จะไม่มีค่ารักษาพยาบาล เพราะคนทั้งปวงจะปราศจากโรคาพยาธิ ดินฟ้าอากาศก็ได้รับการควบคุมให้อยู่ในระดับที่สบาย คนยุคปัจจุบัน เมื่อเห็นว่าในศาสนาพระศรีอารย์มีแต่ความสุข ก็พากันปรารถนาที่จะไปเกิดใหม่ในศาสนานั้น โดยนิยมสร้างพระศรีอารย์ เพราะมีคติความเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในยุคศาสนาของพระศรีอารย์” อ.รามกล่าว
เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู" ที่มา...คมชัดลึก




ข่าวพระสงฆ์ ข่าวพระพุทธศาสนา

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน ละสังขารแล้ว
วัดธาตุน้อย อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช จัดบรรพชาสามเณร
งานเททองหล่อพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ วัดพุทธโมกข์ จ.สกลนคร
หลวงปู่สุภา กันตสีโล ละสังขารแล้วอย่างสงบ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ มรณภาพแล้ว
พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า ละสังขารแล้ว
หลวงพ่อเขียน วัดกระทิง เขาคิชฌกูฏ มรณภาพแล้ว
หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียนมรณภาพแล้ว
หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง ท่านละสังขารแล้ว
งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ละสังขารแล้ว
หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม มรณะภาพแล้ว
สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานพระพรปีใหม่ พุทธศักราช 2554
หอจดหมายเหตุพุทธทาสกทม. สอนวิปัสสนาอานาปานสติ
ไหว้พระเสริมมงคลยล “เมืองลี้”
โลกธรรม 8 หมายถึง
คอลัมน์ คำพระ
หลวงปู่สีหา วัดหนองบัวลำภู มรณะภาพ
มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติ ที่เมืองนคร 2553
อัญเชิญ คัมภีร์พระพุทธศาสนาโบราณ อายุกว่า 2,000 ปี
พิธีฉลองอายุ ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน
พระครูสันตินนทคุณ วัดปลายแหลมสุวรรณาราม มรณภาพแล้ว
ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี มรณะภาพแล้ว
หลวงปู่จักร ปิยธมฺโม วัดถ้ำเขารังไก่ มรณภาพแล้ว
วัดบ้านน้อยท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก ขอเชิญคณะผู้มีจิตศรัทธา
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม
เคลื่อนย้าย พระอุโบสถ 500ตัน ครั้งแรกของโลก
หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว มรณภาพแล้ว
พระพรปีใหม่ ๒๕๕๓ สมเด็จพระสังฆราช
พระจริยานิเทศก์ กำลังสำคัญคณะสงฆ์
150 ปี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ จัดสร้าง พระแผนที่ประเทศไทย
จริยาพระสังฆาธิการ article
วัดพัฒนาตัวอย่าง และ อุทยานการศึกษาในวัด ที่มีผลงานดีเด่น
สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร มรณภาพแล้ว
เจออุโมงค์ใต้อุโบสถ วัดบางจาก เก่าแก่200ปี
ศรัทธา ความหมาย หมายถึง
เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค การปกครองคณะสงฆ์
พัฒนาระบบสารสนเทศ ในการเก็บข้อมูลพระสงฆ์ วัด และศาสนสถาน
วัดแค-วัดกุมารทอง จ.สุพรรณบุรี ทำบุญอุทิศให้ศพทารก
ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ สร้าง“ครูบาศรีวิชัย” องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ทำบุญวันเกิด ครบรอบ 86 ปี
แม่กองธรรมสนามหลวง ลดสนามสอบลง ส่งผู้แทนคุมเข้ม
เร่งจัดหาพื้นที่ป่าจัดตั้ง พุทธอุทยาน
บูรณะองค์พระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
บูรณะปรับปรุง องค์พระปฐมเจดีย์ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 53
หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ วัดเขาแหลม มรณภาพแล้วอย่างสงบ
สร้างเจดีย์บูรพาจารย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุ
มรภ.สวนดุสิต ศูนย์ตรัง ร่วมโครงการจริยธรรมนำไทย
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปี 2552
วิธีการดูพระแท้ ตำราดูพระ
พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งพระสังฆาธิการ 16 รูป
งานฉลองสมโภช พระบรมธาตุธรรมเจดีย์
ถวายวิทยาลัยศรีโสภณ ให้มจร.
เชิญลูกศิษย์ร่วมทำบุญ หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์ ครบ 80 ปี
ขอเชิญร่วมปฏิบัติภาวนาธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน 4
หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโล ละสังขาร
เปิดการฝึกอบรมหลักสูตร วิชาการเทศนา
พระอาจารย์บุญเลิศ เตชะปุญโญ วัดปราโมทย์ ทำพิธี ลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค
วิทยานิพนธ์มหาจุฬาฯ อยู่ในเกณฑ์ดีมีคุณภาพ
โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
วัดห้วยมงคล จัดพิธีทอดผ้าป่า หลวงปู่ทวด 62 วัด
จัดตั้งโรงเรียนการกุศลในวัด สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณร
งานปิดทองไหว้พระ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
จัดทอด ผ้าป่าสามัคคีมหากุศล ช่วยเด็กพิการ
ทอดผ้าป่าสามัคคี วัดภูพานอุดมธรรม สร้างกุฏิพิพิธภัณฑ์
ไหว้พระ9วัด เที่ยวชัยนาท ขอพร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ตลาดน้ำหน้าวัดตะเคียน หลวงพ่อแย้มอุปถัมภ์
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ บ่อเกิดแห่ง บุญ
ช่วยเหลือพระสงฆ์ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
มติมหาเถรสมาคม หนุนโครงการเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
จัดงานฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ จ.นครพนม
สำรวจเงินค่าผาติกรรมย้อนหลัง 10 ปี กรณีมี พระนำเงินค่าผาติกรรมไปใช้
พระงดออกบิณฑบาต ในพื้นที่เสี่ยงภัย
พระเล่นไฮไฟว์ กรณี"พระเล่นอินเตอร์เน็ต"สนทนากับผู้หญิง
หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง มรณภาพแล้ว
โครงการธรรมโอสถ ผู้สูงวัยไร้ปัญหาสุขภาพ
การนำร่องกิจกรรม วัดปลอดบุหรี่
จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ 3 บูรพาจารย์
ศูนย์คุณธรรม จัด"โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาชีวะธรรม"
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
วัดบ้านน้อยท่าทอง จัดพิธีเททอง หล่อพระประธาน
ศูนย์ปฏิบัติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการปฏิบัติธรรม
สร้างเครือข่ายพระวิทยากร ส่งเสริมศีลธรรม เด็ก-เยาวชน
ติวเข้มสัมมนา พระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก
งานสมโภชหิรัญบัฏ-เครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายมุทิตาสักการะแด่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
ผู้ว่าราชการจังหวัด พาเข้าวัดวันอาทิตย์
หลวงพ่อทวด รุ่นเสาร์ 5 ปี52 ย้อนยุควัตถุมงคลอาจารย์นอง
หลวงปู่ทองสุข สัมปันโน วัดโพธิ์ชัยนิมิต มรณภาพแล้วอย่างสงบ
การกรวดน้ำ จุดประสงค์คืออะไร
อุปสมบทช่วยชาติ บรรเทาปัญหาภัยเศรษฐกิจ
วัดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี
วัดหัวลำโพง กำหนดทำพิธีถวายรางวัลและทุนการศึกษา
พระภิกษุปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ความสุขที่แท้จริง ของมนุษย์ คืออะไร สำคัญอย่างไร ???
สุขภาพพระสงฆ์
พระพรหมสุธี วัดสระเกศ เททองหล่อระฆังทิพยมหามงคล
มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่งเสริมคุณธรรมนิสิตนักศึกษา



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (88303)
อยาเกิในยุคพระศรีอารย์จัง
ผู้แสดงความคิดเห็น ช็อกโกแลตขาว (Neemo_1-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-08 15:53:32


ความคิดเห็นที่ 2 (88555)
ถ้าท่านทั้งหลาย ที่อยากเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ขอให้สาธุชนทุกท่าน ฟังดังนี้ว่า ถ้าไม่อยากเกิดในยุคมืด ถ้าอยากไปเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ ไม่ต้องเวียนว่ายบ่อยๆ เพื่อรอไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ก็จงเร่งทำความดี สร้างบุญ บารมีกันไว้มากๆ บุญบารมีทำได้หลายอย่าง หลักๆ คือ 1.ทาน ให้ทานทุกชนิด 2.ศีล รักษาศีลให้บริสุทธิ์ 3.ภาวนา คือไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หรือภาวนาด้วยวิธีอื่นก็ได้ ถ้าทำได้ทั้ง 3 อย่างแล้วไซร้จะได้เกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าแน่นอน เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอเจริญพร
ผู้แสดงความคิดเห็น พุทธวงศ์ (may_love_9999-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-04 10:14:38


ความคิดเห็นที่ 3 (88653)
ข้อความถึง : พุทธศาสนิกชนทุกท่าน นิพพาน นั้น คืออะไร "ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้ นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชือมันว่า...นิพพาน" "ทำดีอย่ายึดติดผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึงชั้นพรหมและเทวดา) ไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ หนทางนี้แล..ดับขันธ์..นิพพาน" ประกาศเตือน : 2552 โลกกำลังวุ่นวาย จงอยู่กันอย่างสงบ รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุค และมหันตภัย ก้าวสู่อารยธรรมใหม่ ในโลกของ....ศรีอารย์ ศึกษา มรรค์มีองค์ 8 ให้ดี แล้วรอคำบอกกล่าวจากข้า เจ้าจักบรรลุ... อรหัตตผล ในพริบตา "ผลของบุญ.. ก็คือ บาปที่ยังไม่ได้ทำ ผลของกรรม.. สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ (อภัย) ทาน" การกลับมาของข้า.....เอหิภิกขุอุปสัมปทา พุทธะ เรียกข้าว่า....อริยะ...เมตไตย ธรรมรักษา..ทุกท่่านทุกคนเทอญ (อชิตะเถระ ....พระนารายณ์)
ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-17 18:31:04


ความคิดเห็นที่ 4 (88741)
ข้อความถึง : พุทธศาสนิกชนทุกท่าน นิพพาน นั้น คืออะไร "ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้ นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชือมันว่า...นิพพาน" "ทำดีอย่ายึดติดผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึงชั้นพรหมและเทวดา) ไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ หนทางนี้แล..ดับขันธ์..นิพพาน" ประกาศเตือน : 2552 โลกกำลังวุ่นวาย จงอยู่กันอย่างสงบ รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุค และมหันตภัย ก้าวสู่อารยธรรมใหม่ ในโลกของ....ศรีอารย์ ศึกษา มรรค์มีองค์ 8 ให้ดี แล้วรอคำบอกกล่าวจากข้า เจ้าจักบรรลุ... อรหัตตผล ในพริบตา "ผลของบุญ.. ก็คือ บาปที่ยังไม่ได้ทำ ผลของกรรม.. สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ (อภัย) ทาน" การกลับมาของข้า.....เอหิภิกขุอุปสัมปทา พุทธะ เรียกข้าว่า....อริยะ...เมตไตย ธรรมรักษา..ทุกท่่านทุกคนเทอญ (อชิตะเถระ ....พระนารายณ์)
ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-25 16:45:44


ความคิดเห็นที่ 5 (88742)
เรียน พุทธศาสนิกชนทุกท่าน เรื่อง ติดต่อขอรับหนังสือ ขอเชิญพุทธศาสนานิกชนทุกท่าน ติดต่อขอรับหนังสือ พุทธศาสนา ( พระศรีอริยเมตไตย ) เพื่อใช้เป็นหลักในการปฎิบัติธรรม อริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางเข้าสู่นิพพาน และหลักการที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ คุณจิ๋ม หมาบเลขโทรศัพท์ 086-9705523 และร่วมบริจาคเพื่อเป็นค่าจัดทำหนังสือเพื่อแจกจ่ายให้แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาประตูน้ำพระอินทร์ เลขที่บัญชี 146 – 2 – 87888 – 1 และร่วมอนุโมทนาความดีนี้ได้ที่ sriaran_2009@thaimail.com (เราจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว) จงอดโทษให้เขา ก่อนเราจะร่วมมือ จงเป็นผู้ให้ ก่อนจะให้คำว่า ยืม จงเป็นคนไม่ลืม จะได้เลิกแสวงหา ท่านทั้งหลายจะได้รู้จักใจที่เป็น อนัตตา ที่ท่านชอบพูดว่า....... ไม่มีตัวตน ธรรมรักษาทุกท่าน ทุกคนเทอญ ศรีอารย์ ปล. อยากเจอเรา จงอย่าตามหาเรา ผู้ใดเห็นธรรม......ผู้นั้นย่อมได้เห็นเรา
ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-25 16:56:36


ความคิดเห็นที่ 6 (88929)

                                สุขนิพพานมีจริง

สุขภายในใจล้วนแล้วแต่มีทุกข์ปะปน แต่จะมีสุขหนึงภายในใจทีปราศจากทุกข์

ก็คือสุขบริสุทธิ์ เป็นสุขที่เกิดจากการให้ที่ไม่หวังผล

ผู้ที่ให้ก็จะได้รับสุขบริสุทธินั้นและสุขบริสุขนี้จะไม่เกิดกับผู้รับ

หากผู้รับคาดหวังผลที่จะได้รับก็จะเกิดทุกข์แก่ผู้รับนั้นได้

( จงรู้จักเป็นผู้ให้เพื่อที่จะได้รับสุขบริสุทธ์  และเมื่อรู้จักเป็นผู้ให้แล้ว ก็จงรู้จักเป็นผู้รับเพื่อก่อให้เกิดสุขบริสท์แก่ผู้ให้ )

    นอกจากสุขบริสุทธ์ที่อยู่ภายในใจแล้วที่ปราศจากทุกข์ ยังมีสุขสุดนิพพาน

       สุขสุดนิพานเป็นสุขเหนือใจ สุขเหนือสุขใดทั้งมวล

หากท่านบรรลุแก่ใจท่านแล้วท่านจะใด้สัมผัสกับแสงสว่างในตัวท่าน             พร้อมกับคำว่า    "เราไม่ปรารถนาสุขใดอีกแล้ว"

                                                             สูญญากาศ ในอากาศ

ผู้แสดงความคิดเห็น สูญญากาศ ในอากาศ (tiwati_st-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-18 13:44:56


ความคิดเห็นที่ 7 (106595)
ผมเชื่อในพุทธศาสนาที่สั่งสอนคนมันล้วนแต่หาความจริงจับต้องได้เป็นเหตุเป็นผลทั้งนั้น
ผู้แสดงความคิดเห็น นักธรรม (wi-wa2009-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-26 18:39:11


ความคิดเห็นที่ 8 (106713)

ประกาศเตือน : 2553

โลกกำลังวุ่นว่าย จงอยู่กันอย่างสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุคและมหันตภัย

เข้าสู่อารยธรรมใหม่ในโลกของศรีอารย์

 

      โอวาทปาฎิโมกข์

การไม่ทำบาปทั้งปวง   คือ  การเป็นคนดี มีศีลธรรม

การทำกุศลให้ถึงพร้อม  คือ  การเป็นตัวอย่างที่ดี และสอนคนเป็นคนดี

การชำระจิตชองตนให้ขาวรอบ คือ การมองโลกในแง่ดี

ธรรม 3 อย่างนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

“เพราะฉะนั้น จงคิดดี พูดดี  ทำดี  มองโลกในแง่ดี 

และที่สำคัญ  ทำแต่พอดี  นี่แหล่ะ มรรคมีองค์ 8 หรือ ทางสายกลาง

 

“ทำความดีอย่ายึดติดผลของความดี

ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึง ชั้นเทวดาและชั้นพรหม)

ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ

หนทางนี้แล ดับขันธ์นิพพาน”

 

“ไม่ว่าจะแต่งกายแบบใดเป็นผู้มีความสำรวม กาย วาจา ใจ

ซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร

รักษาสัจจะ ผู้นั่นเป็น ภิกษุ เป็น สมณะ”

       

                            

แด่ผู้ไม่รู้ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ความโศกเศร้าเป็นโมฆะ   เพราะธรรมมะสอนคนได้

ความร่ำไรจางหาย            เพราะได้สวดมนต์คู่ลูกชาย

ความไม่สบายใจสูญหาย  เพราะลูกได้ผ้าเหลืองห่มกาย

ความไม่สบายใจสละสิ้น  เพราะมีลูกเป็นครูสอนศาสนา

ทุกข์เบื้องนี้ไม่มีอีกแล้ว     เพราะได้ชุบเลี้ยงสาวกของศาสดา

ทุกข์เบื้องหน้าไม่รอ          เพราะมีพระอรหันต์เดินนำหน้า

ธรรม...จะนำพา   พ่อแม่เจ้าเข้านิพพาน

“ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้พ่อแม่หมดทุกข์ได้แล้ว  เท่ากับการที่ท่านได้เลี้ยงลูกคนหนึ่งให้เป็นคนดี

และไม่มีอะไรที่ดีกว่า เท่ากับ การที่ลูกเป็นคนดีและสอนคนอื่นให้เป็นคนดีตามไปด้วย”

 

    “รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี  และมีไมตรีต่อผู้อื่น”

    “ต่ออายุให้โลกใหม่  ด้วยการใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

                                                  ธรรมะรักษาทุกท่านทุกคนเทอญ

                                           การกลับมาของข้า....เอหิภิกขุอุปสัมปทา

                                            พุทธะ...เรียกข้าว่า....อริยะ..เมตไตย

                                                     ( นารายณ์... ผู้รักษา)   

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ วันที่ตอบ 2010-03-12 15:11:00


ความคิดเห็นที่ 9 (106751)

 อริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ)
๑. ทุกข์ ...ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจต่าง ๆ เพราะเป็นของทนได้ยาก
๒. ทุกขสมุทัย   ...สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้แก่ตัณหาความทะยานอยาก
๓. ทุกขนิโรธ          ..นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหาได้หมดสิ้น
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา ... มรรค คือ ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่มรรค์มีองค์ ๘

ความทะยานอยาก หมกมุ่นในกามคุณ  ๑
การปฏิบัติเพื่อทรมาณหรือเบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นให้เดือนร้อน ๑
...การกระทำทั้งสองอย่างนี้ ...มิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์

“บุคคลผู้มีสติ ยังไม่พ้นเวร  การควบคุมสติเพื่อให้เกิดปัญญารู้ชัดตามสภาวะ
  ธรรมที่แท้จริง  จึงได้ชื่อว่า ผู้พ้นบ่วงแห่งมาร”

“ม้าพันธุ์ดี..โดนแส้เพียงแค่ครั้งเดียว   ย่อมวิ่งแล่นไปถึงเส้นชัย
  บุคคลผู้รู้การเกิดนี่เป็นทุกข์เพียงแค่ครั้งเดียว  ย่อมเข้าถึง..นิพพาน”

โลกุตระธรรม  ทั้ง  ๙
นิพพาน  นั้นคืออะไร
 ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่  ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน
 แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่  ก็จะหาหนทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้
 นิพพานนั้นไม่มี  เราสมมุติชื่อมันว่า  นิพพาน

นิพพาน  นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
            ธรรมทาน  อามิสทาน  อภัยทาน
            ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุลม  ธาตุไฟ  อากาศธาตุ  วิญญาณธาตุ
            พรหมโลก  เทวโลก  มนุษย์  อบายภูมิ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม  ธาตุไฟ  คือ  ร่างกายเรา
อากาศธาตุ  คือ  อากาศรอบตัวเรา
วิญญาณธาตุ  คือ  ธาตุรู้
 ธรรมทาน  นั้นมีอานิสงส์สูงสุด  เวลาตัวเราแสดงธรรม (ตัวเรา หมายถึง  ธาตุดิน  น้ำ  ลม ไฟ)
ธาตุที่ออกจากกายเรานั้นคือ  ธาตุลม  เมื่อธาตุลม  ออกมาจากร่าง  ก็สลายตัวออกไปกับอากาศธาตุ  ธรรมนั้นก็กลายเป็นอนัตตา  นั้นหมายความว่า  สภาวะโลกกับสภาวธรรมนั้นย่อมไปในทางเดียวกัน  ท้าวเวชสุวรรณมีสมุดบันทึกบัญชีอยู่เล่มหนึ่ง  ด้านหนึ่งบันทึกความดี  อีกด้านหนึ่งบันทึกความชั่วของคนๆ  หนึ่งไว้  เมื่อธรรมกลายเป็นอนัตตา  หรือสลายตัวไปในบรรยากาศโลก  วิญญาณที่เป็นตัวรู้ก็ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมุดบันทึกบัญชีของท้าวเวชสุวรรณได้  เมื่อตัวเราตายไป  ก็สลายตัวกลับสู่สภาวะโลก  (คือการสลายตัว  ของธาตุทั้ง  ๔  คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ)  เมื่อวิญญาณไม่มีธาตุตัวรู้ที่จะไปเกิดยังภพภูมิต่างๆ  วิญญาณนั้นก็ดับลง  เมื่อวิญญาณดับลง  จิตก็ดับตาม  นี่คือวิธีการที่พระพุทธเจ้าใช้ในการเข้าสู่นิพพาน  คือ  การใช้จิตที่บริสุทธิ์และวิธีการสั่งสอนคนเพื่อให้เป็นคนดีนั่นเอง  เป็นการส่งต่อระหว่างขันธ์ต่อขันธ์  เพราะสุดท้ายทุกคนย่อมตายเหมือนกัน
        นี่คือวิธีการที่ลบรูปลบนาม  ดับสนิทไม่มีส่วนเหลืออย่างแท้จริง
         สุดท้ายก็กลายเป็นการหลับสนิท  ไม่ตื่นขึ้นมาพบกับความทุกข์อีก


เปรียบเหมือนเวลาที่เราอยู่เฉยๆ  โดยไม่ได้ทำอะไร  เมื่อเราไม่ทำความดี  ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้เราไปเกิด  (หมายถึง  ภูมิของชั้นเทวดาและชั้นพรหม)  หากเราไม่ทำความชั่ว  ก็ไม่ตกไปยังอบายภูมิ  แต่จะทำอย่างไรเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่  พระพุทธเจ้าก็เลยให้เราอยู่โดยการเดินทางตามมรรคมีองค์  ๘  ก็คือทางแห่งการพ้นทุกข์
๑.   ความเห็นถูกต้องที่จะเดินตามอริยสัจ  ๔  (มรรคมีองค์  ๘)
๒.  ความดำริชอบ
 * ในการออกจากกาม
 * ในการไม่มุ่งร้าย
 * ในการไม่เบียดเบียน
๓.การพูดจาชอบ
 * ไม่พูดเท็จ     
 * ไม่พูดคำหยาบ         
 * ไม่พูดส่อเสียด    
 * ไม่พูดเพ้อเจ้อ    
๔.  การทำการงานชอบ    
 * เว้นจากการฆ่าสัตว์    
 * เว้นจากการลักทรัพย์
 * เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕.  การเลี้ยงชีวิตชอบ
 * ความซื่อสัตย์สุจริต
๖.  ความพากเพียรชอบ
 * ความเพียรที่จะเผากิเลส
๗.  ความระลึกชอบ
 * ความรู้ที่มีสิ่งกระทบ  แล้วถอนความพอใจและไม่พอใจออกเสีย
๘.  ความตั้งใจมั่นชอบ
 * นั่นคือ  สมาธิ
 
ในอริยมรรค ๑ ๒ ๓ ๔ ๕  นั้นทำความเข้าใจง่าย  (ก็คือศีลมาตรฐาน หรือ ศีล ๕ และสติปัฎฐาน ๔ )  ส่วน อริยมรรค ๖ ๗ และ ๘  ที่จะอธิบายต่อไปนี้  ก็คือ  มหาสติปัฏฐานสูตร นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ  ระหว่างสติปัฏฐาน ๔ กับมหาสติปัฏฐานสูตรก่อน  ว่ามันต่างกันอย่างไร
สติปัฏฐาน  ๔  คือ  การรู้ว่าตัวเรารู้สึกอย่างไร
มหาสติปัฏฐานสูตร  คือ  สิ่งใดที่เข้ามากระทบกับตัวเราแล้วทำให้เรารู้สึกสุขหรือทุกข์


สติปัฏฐาน  ๔                                                                                                                                   
กาย     สุข  หรือ  ทุกข์ อุเบกขา   
เวทนา    สุข  หรือ  ทุกข์ อุเบกขา 
จิต     กุศลหรืออกุศล อุเบกขา 
ธรรม    กุศลหรืออกุศล อุเบกขา 

 มหาสติปัฎฐานสูตร
กายในกาย 
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
 เป็นการจับคู่ของอายตนะภายนอกซึ่งส่งต่อมายังอายตนะภายใน (อาการ 12)  ซึ่งทำให้เราเห็นจิตที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างชัดเจน  
อายตนะ  ๑๒  คือ
 ตา สิ่งที่มากระทบคือ    รูป
 หู สิ่งที่มากระทบคือ    เสียง
 จมูก สิ่งที่มากระทบคือ    กลิ่น
 ลิ้น สิ่งที่มากระทบคือ    รส
 กาย สิ่งที่มากระทบคือ    สัมผัส
 ใจ สิ่งที่มากระทบคือ    อารมณ์
มหาสติปัฏฐาน  ๔  จะเปรียบเทียบถึงอาหารจานหนึ่งให้ฟัง
     
     รูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย      รูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย
     รูปไม่สวยอาหารก็ไม่อร่อย    รูปสวยอาหารก็อร่อย

จะเปรียบเทียบ  ในสูตรของรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อยให้พิจารณา
 เมื่อเราเข้าไปร้านอาหารร้านหนึ่ง  เมื่ออาหารมาอยู่ตรงหน้า  กับมองเห็นรูปที่ไม่สวย (หมายถึงทำไม่น่ากิน)  เกิดสัมผัสแรกคือทางตา  ทำให้จิตเราคิดไปว่า  ทำไม่น่ากินคงจะไม่อร่อย  แต่เมื่อเราลองกินเข้าไปแล้ว  อาหารกับอร่อย  ซึ่งไม่เหมือนกับความรู้สึกแรก  นั่นคือการที่เราไปปรุงแต่งรูป  ทำให้เกิดทุกข์  แต่เมื่อเรากินข้าวไปแล้ว  ลิ้นเมื่อลองรสแล้วรู้สึกอร่อย  ก็เปลี่ยนเป็นความรู้สึกทางด้านความสุข  เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการพิจารณากายในกาย  ก็คือ  ตาทำหน้าที่ปรุงแต่งด้านทุกข์  ส่วนลิ้นทำหน้าที่รับความสุข  สุขและทุกข์นั้นแหละ  คือเวทนาในเวทนา  จิตสองตัวก็จะทำหน้าที่สลับกัน คือสุข ก็คือกุศล  และทุกข์  ก็คืออกุศล  จิตที่เป็นกุศลและอกุศลนั้นแหละก็คือ  ธรรมในธรรมและนี่คือ  มรรค  ๗   (ความระลึกชอบ)  ก็คือ  ฝ่ายหนึ่งคือความพอใจ  อีกฝ่ายหนึ่ง  คือความไม่พอใจ  เราจึงถอนความพอใจ  และความไม่พอใจออกพร้อมกันในคราวเดียว  ชี้ให้เห็นว่าการที่เราเอาจิตไปสัมผัสอะไรสักอย่าง  มันจะต้องมีทั้งสุขและทุกข์  คือเราจะรู้สึกทุกข์และเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  (ซึ่งเราเป็นผู้ปรุงแต่งมันทั้งสิ้น)
* แต่เมื่อเรา  เจอทั้งรูปสวยและอาหารอร่อย  ก็คือ  เป็นกุศลทั้งสองฝั่ง  เราควรพอกพูนอาการนั้นไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นยากในโลกใบนี้
* แต่เมื่อเรา  เจอรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย  ก็คือ  ฝึกให้เราไม่ปรุงแต่งทางตา  เพราะเอตักตา  หรือตัวรู้นั้นมีให้รู้ว่า  เนื้อแท้ของสิ่งๆ  นั้นคืออะไร  คือคุณค่าที่แท้จริงของอาหาร  คือ  ความอร่อยและประโยชน์ที่ได้รับ
* แต่เมื่อเรา  เจอรูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย (โดยจิตปกติของมนุษย์จะคิดว่า  เมื่อรูปสวยอาหารต้องอร่อยแน่  นั่นแหล่ะ ! ที่เราเรียกว่าการยึดมั่นถือมั่นในรูป)  แต่เพียงแค่เราเข้าไปลองชิมครั้งเดียว  เราก็ไม่อยากเข้าอีก (แต่ก็ยังคงมีคนหลงในรูปเข้าไปกิน  แต่ไม่นานร้านนี้ก็จะถูกปิด)
* แต่เมื่อเรา  เจอทั้งรูปไม่สวยและอาหารไม่อร่อย  ร้านนั้นจะถูกปิดในไม่ช้า  นั้นหมายถึง  เป็นอกุศลทั้งรูปและนามและนี่คือ  มรรค  ๖  (ความเพียรชอบ)  ที่จะละอกุศลธรรมที่เกิด  ไม่ให้เกิดขึ้น  และประคองกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
 เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาที่ถูกก็คือ  ให้เราอยู่กับสิ่งดี  แล้วหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ไม่ดี  ดั่งปรากฏในมงคล  ๓๘  ว่า
การไม่คบคนพาล ๑  การคบบัณฑิต ๑ บูชาคนที่ควรบูชา ๑ 
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ๑  ทำความดีไว้ให้พร้อม ๑  ตั้งตนไว้ในที่ชอบ ๑
เล่าเรียนศึกษามาก ๑  มีความชำนาญในวิชาชีพของตน ๑  มีระเบียบวินัย ๑  รู้จักใช้วาจาให้ได้ผลดี ๑
บำรุงบิดามารดา ๑  สงเคราะห์บุตร ๑  สงเคราะห์ภรรยา ๑  ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ๑
บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์ ๑  ดำรงอยู่ในศีลธรรม ๑  สงเคราะห์ญาติ ๑  อาชีพสุจริต
กิจกรรมที่มีประโยชน์ ๑ 
เว้นจากความชั่ว ๑  เว้นจากสิ่งเสพติด ๑  ไม่ประมาทในธรรม ๑  รู้จักคุณค่าบุคคลและสิ่งของ ๑  ความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ๑  ความสันโดษพึงพอใจในผลสำเร็จและปัจจัยที่หามาได้ด้วยความพยายามของตนเองโดยชอบธรรม ๑  มีความกตัญญู ๑  หาโอกาสฟังธรรมแสวงหาหลักความจริง ๑ 
มีความอดทน ๑  เป็นผู้ว่านอนสอนง่ายฟังเหตุผล ๑  พบเห็นสมณะเข้าเยี่ยมเยียน ๑  สนทนาธรรมตามกาลเวลา ๑ 
รู้จักควบคุมตนเอง ๑  ประพฤติพรหมจรรย์ ๑  รู้แจ้งอริยสัจสี่ ๑  ทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑
ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว ๑  จิตไร้เศร้า ๑  จิตปราศจากธุลี ๑  จิตเกษม ๑ 
นี่เป็นมงคลอันอุดม  เทวมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในทุกสถาน  ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง  นี้คืออุดมมงคลของเทวมนุษย์เหล่านั้น
 เหมือนกับการที่ท่านให้เราเพ่งน้ำ  เพื่อให้เกิดสมาธิ  แต่หลายคนเพ่งก็อยากมีอิทธิฤทธิ์   แต่แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าให้เราฝึกสมาธิ  ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน  ซึ่งจะยกตัวเองขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐานต่อไป  คือเมื่อเรามองดูน้ำแล้ว  ก็ให้เรารู้ว่าประโยชน์ของน้ำนั้นใช้ดื่มกิน  พระพุทธองค์ไม่ให้เราเอาเศษขยะและถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในแม่น้ำลำคลอง  เพราะจะทำให้น้ำสกปรก  พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เราใช้เครื่องกรองน้ำ  เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากน้ำให้เราดื่มกิน  นั่นหมายถึงท่านให้เรานำสิ่งที่ดีเข้าตัว  แล้วกรองนำสิ่งที่ชั่วออกไป  พระพุทธองค์ไม่เอาสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลให้ปนเปื้อนกัน  และการแยกแยะเหล่านี้แหล่ะคือที่มาของศีล
 เพราะแท้จริงแล้ว  การรักษาศีลหรือพรหมจรรย์  คือความปกติที่ดีของชีวิต  โดยมีหิริโอตตัปปะ  (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป)  เป็นตัวสติ  (ความระลึกรู้)  เพื่อไม่ให้เราละเมิดศีล  ซึ่งเปรียบเหมือนรั้วกั้นไม่ให้เราไม่ตกไปในที่ชั่ว  (อบายภูมิ) 
 
                               “ศีล เป็นเยี่ยมที่สุดในโลก”
             อย่าได้เชื่อถือ     ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ๑
             อย่าได้เชื่อถือ     ตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา ๑
             อย่าได้เชื่อถือ    โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ ๑
             อย่าได้เชื่อถือ    โดยอ้างตำรา ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยเดาเอาเอง ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยคาดคะเน ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยความตรึกตามอาการ ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยชอบใจว่าต้องกับทิฐิของตัว ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ๑
              อย่าได้เชื่อถือ    โดยความนับถือว่าสมณะนี้คือครูของเรา ๑
              เมื่อใด พึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษเป็นต้นแล้วจึงควรละหรือเข้าถึงธรรมนั้น             

ต่อไปเราจะใช้อริยมรรค  ๖  และ  ๗  ทำให้เกิดอริยมรรค  ๘  นั่นคือฌานทั้ง ๔  และวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖  กรรมฐาน
ฌาน ๑    ปฐมฌาน  วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข 
ฌาน ๒    ทุติยฌาน ปิติ สุข  
ฌาน ๓    ตติยฌาน วางเฉย สติ ปกติ    แสวงสุขด้วย  นามกาย (ความสุขใจ) 

        ฌาน ๔    จตุตถฌาน เพราะละสุข ละทุกข์เสียได้ 
    เพราะรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น 
    ประโยชน์ของมันคือสิ่งๆ  นั้น 
    กุศลธรรมในตัวมันคือสิ่งนั้น 
                                                                                              
 ๑.รู้จำแนกรูปและนาม
๒. รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม
 ๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์
  ๔. ตามเห็นความเกิดดับของสังขาร
 ๕.  ตามเห็นความดับหลายของสังขาร
 ๖. เห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
 ๗.  เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์
 ๘.  เกิดความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด
๙. ปรารถนาจะพ้นไปเสียจากสังขาร เหล่านั้น 

๑๐. พิจารณามองหาอุบายออกจากทุกข์      (การมองโลกในแง่ดี)  

 ๑๑. พิจารณาความวางเฉยโดยความเป็นกลาง 

       ๑๒. หยั่งรู้ความวางเฉยความเป็นไตรลักษณ์ 
๑๓.ข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่อริยะบุคคล
๑๔.ความหยั่งรู้ความสำเร็จของบุคคลในแต่ละขั้น      

  ๑๕.  ความหยั่งรู่ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยะบุคคลในขั้นนั้น 
 ๑๖.  พิจารณาทบทวนกิเลสที่ละได้และกิเลส ที่เหลือ 
 ย้อนกลับไปในเรื่องการพิจารณาในเรื่องของอาหาร  เราจะเห็นสิ่งต่างๆ  อย่างชัดเจน  ทั้งการปรุงแต่งทั้งรูปและนาม  นั่นก็คือการจำแนกรูปและนามอย่างชัดเจน  หรือฌาน  ๑  ก็คือ  วิตก วิจารณ์  การปรุงแต่งทางตา  และการปรุงแต่งทางลิ้น  การบรรลุธรรมนั้น  ไวยิ่งกว่าแมลงกระพือปลีก  เมื่อเราใช้การนำเอากุศลมาซ้อนทับอกุศลไม่ให้เกิด  ก็คือให้พิจารณา  ถึงแม้รูปจะไม่สวย  แต่อาหารก็อร่อย  นั้นคือตัวรู้ของประโยชน์ในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง จะไม่สนใจในรูปเพราะเราเข้าใจธรรมชาติของมัน แล้วก็ละตัวรู้นั้น (เหมือนเมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ในคำแรก รู้ว่ารสชาติมันอร่อย คำต่อไปก็ไม่ต้องพิจารณาอีก) ดั่งที่กล่าวมาข้างต้น  ฌาน ๑ ถึง ๔  จะทำงานโดยอัตโนมัติ  พร้อมกับวิปัสสนาฌานตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๖  ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ  เช่นกันกล่าวง่ายๆ  ก็คือว่า  การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ 
ก็คือการมองโลกในแง่ดี  อริยะอยู่ที่ใจ  (มิใช่ที่ผ้า  มันเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น)

 การไม่ทำบาปทั้งปวง    ก็คือ การเป็นคนดี
 การทำกุศลให้ถึงพร้อม    ก็คือ เป็นตัวอย่างที่ดี  และสอนคนเป็นคนดี การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ  ก็คือ การมองโลกในแง่ดี
 ธรรม  ๓  อย่างนี้  คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 ขันติคือความอดกลั้น,  เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,
 ผู้รู้ทั้งหลาย,  กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง,
 ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,
 ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,
 การไม่พูดร้าย,  การไม่ทำร้าย,
 การสำรวมในปาติโมกข์,
 ความเป็นผู้รู้ประมาณ  ในการบริโภค,
 การนอน  การนั่ง  ในที่อันสงัด,
 ความหมั่นประกอบ  ในการทำจิตให้ยิ่ง,
 ธรรม  ๖  อย่างนี้,  เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
นั่นคือโลกุตรธรรม  ๘
ส่วนโลกุตรธรรม  ๙  ก็คือ  การที่เราเจอสิ่งที่ดีเป็นเรื่องปกติ  และไม่ทำชั่วเป็นเรื่องปกติ  ให้สิ่งที่ดีเป็นสิ่งปกติในชีวิตประจำวัน  จนกลายเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตของเรา  จนเกิดความเบื่อหน่าย  เพราะรู้แจ้งแล้วว่ามีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีซ่อนอยู่ในตัวมัน  ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย  คลายความกำหนัด  จงทำความดีแต่พอดี  ก็จะไม่ยึดติดผลของความดี  อย่าทำจนกลายเป็นแข่งดี  เสร็จแล้ว  ก็มาทะเลาะกันว่าเราดีกว่า  กลายเป็นพูดส่อเสียด  ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอีก  การที่ทำคนดีให้แตกแยกกันนั้น  ถือว่าเป็นกรรมหนัก  ตามหลักพุทธศาสนา  ห้ามสวรรค์และนิพพาน  จะเห็นได้ว่า  แม้ความดีที่มนุษย์พากเพียรทำ  ก็ยังเป็นกิเลสตัวสำคัญของมนุษย์
 คิดดี  พูดดี  ทำดี  มองโลกในแง่ดี  ที่สำคัญทำแต่พอดี  นั่นแหล่ะที่เราเรียกกันว่า ทางสายกลาง
โสดาบัน    นั้นหมายถึง คนทำผิดและยอมรับผิด (ย่อมปิดอบายภูมิ)
สกิทาคามี  นั่นหมายถึง เริ่มเลิกทำผิด  แต่ยังพลาดไปบ้างเพราะยังขาดสมาธิในการควบคุมสติ
อนาคามี     นั่นหมายถึง คนที่ดีแล้วแต่สอนคนอื่นไม่ได้  เทียบกับสมาธิค่อนข้างดี  แต่ยังขาดปัญญา ในการนำพาผู้อื่น
อรหันต์      นั่นหมายถึง คนดีที่สอนคนอื่นได้  เทียบกับสมาธิที่ดีเยี่ยม ประกอบกับปัญญา  นำพาคนหลุดพ้นข้ามอวิชชาไปได้               

เมื่อคนที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด  ไม่นานเขาก็มีความละอายและความสำนึก สิ่งๆ นี้  เขาจึงต้องรู้จักควบคุมตัวเองและมีสมาธิที่ดีขึ้น  และสุดท้ายเขาก็จะกลายเป็นอรหันต์ได้ในไม่ช้า

บุคคลละธรรม  ๑๐  อย่างได้ควรเป็นอรหันต์
ความกำหนัดยินดี ๑ ความคิดประทุษร้าย ๑
ความหลง ๑  ความโกรธ ๑
ความผูกโกรธ ๑ ความลบหลู่บุญคุณท่าน ๑
ความตีเสมอ ๑ ความริษยา ๑
ความตระหนี่ ๑ ความถือตัว ๑


“ผมหงอก พรรษามาก ไม่ได้ทำให้เป็นพระเถระเพราะเพียงอายุมากอาจเรียกได้ว่า  คนแก่เปล่า ผู้ใดมีสัจจะ มีคุณธรรม อันมลทินครอบงำมิได้ จึงเป็น  พระเถระ” 

 

                “ความดีเป็นเรื่องง่ายของ บัณฑิต แต่เป็นเรื่องยากของ คนพาล
                คนพาลรู้ตัวว่าเป็นคนพาล ย่อมกลายเป็นบัณฑิตได้ เพราะเหตุนั้น
                แต่ คนพาลที่คิดว่าตัวเองเป็นบัณฑิต เป็นคนโง่ โดยแท้ เพราะเหตุนั้น”

                                                                                           
         บรรดาทางทั้งหลาย...
มรรคมีองค์แปด  ประเสริฐที่สุด
บรรดาบททั้งหลาย...
บทที่สี่  คืออริยสัจ  ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรมทั้งหลาย…..
วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี  ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า…..
พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุ  ประเสริฐที่สุด
มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์หาใช่ทางอื่นไม่
เธอทั้งหลายจงเดินไปตามมรรคมีองค์แปดนี้
อันเป็นทางที่ทำมารให้หลง  ติดตามมิได้
เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฎิบัติ  เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป


          “การให้ทานนั้นถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐ แม้..บัณฑิต เทวดา พรหม พึงสรรเสริญบุคคลผู้ให้ทาน  แต่มีสิ่งที่ประเสริฐกว่า  นั้นคือ    พระนิพพาน   เพราะเป็นบรมธรรมอันสูงสุด        การแสดงธรรมมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้บรรลุไปถึงจุดหมาย คือ  นิพพาน  ซึ่งเป็นไปเพื่อหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง”

 “ ทำความดีอย่ายึดติด  ผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด หมายถึง (ชั้นเทวดาและ
ชั้นพรหม)     ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ   หนทางนี้แล....ดับขันธ์นิพพาน”

                                                                                                         ศรีอารย์......

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-17 19:48:49


ความคิดเห็นที่ 10 (106776)

อภิญญา  ๖ และ วิชชา ๘  ( ความรู้ยิ่ง )

ทิพพจักขุ ๑  (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)  หมายถึงการที่เรามีความสามารถในการที่มองเข้าไปเห็นจิตใจของผู้อื่นได้  ตัวอย่างเช่น  เมื่อเราอยู่บนรถโดยสาร  มีผู้โดยสารคนหนึ่ง  ลุกจากที่นั่งเพื่อลงจากรถ  ในขณะที่นั่งนั้นว่าง  ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งกำลังที่จะเดินไปนั่ง  แต่ผู้ชายคนหนึ่งกับไปแย่งที่นั่งของผู้หญิงคนนั้น  ทำให้เราได้เห็น  ความเห็นแก่ตัวของคนๆ  นั้น

                ทิพพโสต ๑ (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์)  หมายถึงหากเราได้ยินคนๆ  หนึ่งกำลังนินทาใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น  ทำให้รู้ว่าเขามีความอิจฉาริษยาผู้อื่น

                เจโตปริยญาณ ๑  (ฌานที่กำหนดรู้ใจคนอื่นได้)  หมายถึงสิ่งที่เราเห็นและเราได้ยิน  สามารถรับรู้ว่าบุคคลคนนั้นมีนิสัยใจคออย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์จากมลทิน ๙ อย่างคือ

( โกรธ ๑   หลบหลู่ ๑   ริษยา ๑    ตระหนี่ ๑    มายา ๑  โอ้อวด ๑  พูดปด ๑   มักมาก ๑   หลงไม่รู้ ๑ )

                อิทธิวิธี ๑ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ  ได้)  มี    วิธี 

                ๑.  การเข้าโดยอาศัยสมถกรรมฐาน (สมาบัติ  ๘)

                ตาทิพย์ สามารถมองเห็นกายทิพย์ของภูมิต่าง ๆ  ได้

                หูทิพย์  สามารถได้ยินเสียงสนทนาของภูมิต่าง ๆ  ได้ 

                เหตุเกิดจากผู้ที่รักษาความยาวนานของสมาธิ  เท่ากับสามารถรักษาจิตตัวเอง  โดยการกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งจนเกิดความเคยชิน ผลของการที่ไม่เคลื่อนไหว ก็ได้รับอานิสงส์ของการรักษาศีลไปในตัว

                ๒.  การเข้าโดยผ่านวิปัสสนากรรมฐาน  ฌานทัศนะ

                อย่างที่เข้าใจว่า  การนั่งสมาธิจะใช้หลักวิปัสสนาสลับกับสมถกรรมฐาน  คืออธิบายง่ายๆ  เมื่อไม่มีอะไรที่จะต้องพิจารณา  จิตก็สงบ  ความสงบของสมณะผุ้สำเร็จอรหันต์  เหล่าเทวดาก็ต่างชื่นชม

และเมื่อได้ยินคำเทศนาธรรมของท่านเหล่านั้น ก็รู้สึกเลื่อมใส ก็จะเฝ้าคอยอารักขา  เพราะฉะนั้นอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ  ไม่มีในตัวเรา เกิดจากเหล่าบรรดาเทพผู้เลื่อมใสคอยปกป้องคุ้มครอง  และส่วนใหญ่

ก็จะถูก รับเชิญไปท่องในภูมิต่าง ๆ หรือที่เราเรียกกันว่า ฌานทัศนะ (การถอดจิตวิญญาณ)

                ปุพเพนิวาสานุสสติ ๑ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)  โดยปกติผู้ที่หมั่นรักษาจิตเป็นประจำ ย่อม

มีฌานตัวนี้อยู่

                อาสวักขยญาณ ๑ ( ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป )  เป็นการหยั่งรู้ว่าสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดอยู่ภพภูมิไหน

          ๕ ข้อแรก เป็น โลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็น  โลกุตตรอภิญญา

 

ขันธ์ ๕

 

การยึดมั่นถือมั่นในรูป                  สิ่งที่เห็น,กระทบ

การยึดมั่นถือมั่นในเวทนา ๑            ความรู้สึก

การยึดมั่นถือมั่นในสัญญา ๑            ความจดจำ

การยึดมั่นถือมั่นในสังขาร ๑           ปรุงแต่งจิต

การยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณ ๑         การรับรู้

 

ขันธ์ ๕ เป็นอุปทานตัวรู้อารมณ์ทำให้เกิดกองทุกข์....

 

อุปทาน เป็นได้ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม

 

ไตรลักษณ์  ( สามัญลักษณะ 3 อย่าง )

ความไม่เที่ยง ๑

ความทุกข์ ๑

ความยึดมั่นถือมั่น ๑

 

อธิบายลักษณะการทำงานของขันธ์ ๕

การทำงานของขันธ์ ๕ นั้น มีลักษณะการเชื่อมต่อของอารมณ์ เปรียบเหมือนหลอดไฟ ๕ ดวง ที่มีสวิทปิดเปิดเพียงอันเดียว เมื่อขันธ์ใดขันธ์หนึ่งทำงาน หลอดไฟก็จะติดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด

             จะอธิบายลักษณะของการทำงานของขันธ์ ๕ โดยยกเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่  ในสมัยก่อนมีชายหญิงคู่หนึ่ง เป็นแม่ลูกกัน ทั้งสองมีอาชีพทำนา ลูกชายมีหน้าที่ทำนา ส่วนแม่มีหน้าที่หุงหาอาหาร ไปส่งให้ลูกชาย ทุกอย่างเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งวันหนึ่ง ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ เมื่อถึงเวลาพักกลางวัน ซึ่งได้เวลารับประทานอาหาร ผู้เป็นแม่มาช้าผิดปกติ  ทำให้ลูกชายที่ทำงานอย่างหนัก ทั้งทำนา ตากแดด เกิดอาการหิวเมื่อถึงเวลาทานอาหารแล้วไม่ได้ทาน เวทนาเกิดแรงกล้า เพราะทั้งเหนื่อยและหิว  พอแม่เดินมาถึง มองเห็นกล่องข้าวที่แม่ถือมาให้ เมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตคิดปรุงแต่งไปว่า กล่องข้าวแค่นี้คงไม่ทำให้เราอิ่มแน่ จากความทุกข์ที่มีความหิวเป็นทุนเดิม บวกกับเมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตปรุงแต่งไปว่า คงไม่ทำให้เวทนาที่มีอยู่คลายลงไปได้  สัญญาที่มีอยู่ไม่ทำหน้าที่จดจำ (จดจำหมายถึง อาหารเพียงแค่นี้เพียงพอที่เคยทาน) ส่งผลให้สติไม่ควบคุมวิญญาณตัวรู้ เมื่อสติตามอารมณ์ไม่ทัน ความจำที่มีอยู่ว่า บุคคลนี้เป็นผู้ให้กำเหนิด เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู สัญญาหยุดทำงานอีกครั้ง เมื่อการปรุงแต่งเวทนาดำเนินต่อ ทำให้เกิด โลภะ คืออยากได้มากกว่าเดิม เกิดโทสะเพราะความหิว เกิดโมหะคือ ความหลงควบคุมสติไม่ได้ จึงใช้ไม้ที่มีอยู่ข้างตัวฟาดไปที่ศรีษะของบุพการี  เพียงแค่อยากระบายโทสะ เสร็จแล้ว เมื่อได้มานั่งทานอาหาร เมื่อท้องอิ่มแต่กลับปรากฏว่า ทานข้าวในกล่องนี้ไม่หมด นี่คือผลของการไปปรุงแต่รูปทำให้เกิดทุกข์  สำนึกผิดรีบเข้าไปหาเพื่อหวังที่จะขอโทษบุพการี แต่อนิจจา มันสายเกินไปเสียแล้ว ด้วยสติที่หลงอารมณ์ไปเพียงชั่วขณะได้ทำกรรมหนักไปเสียแล้วกล่าวคือ มาตาปิตุฆาต ฆ่าได้แม้กระทั่ง ผู้เป็นมารดา วิญญาณและสัญญาที่เป็นตัวรู้ผลการกระทำของอารมณ์หรือตัวจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เริ่มทำงาน การกระทำในครั้งนี้ เมื่อตายไปท้าวเวชสุวรรณไม่รอช้า ตัดสินให้ตกลงสู่นรกอเวจีโดยไม่มีข้อต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น มิอาจกลับคืนมาได้อีก รอจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการยากยิ่ง

 

กรรมหนัก  ๕ อย่าง ซึ่งให้ผลทันที ก็คือ

การฆ่าบิดา ๑

การฆ่ามารดา ๑

การฆ่าพระอรหันต์ ๑

การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงโลหิตห้อขึ้นไป ๑

การยังสงฆ์ให้แตกแยกกัน (กรณีบุคคล คือการทำคนดีให้แตกแยกกัน) ๑

 

                            กรรมกิเลส ๔ ข้อเสื่อมเสีย

การตัดรอนชีวิต ๑

การถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ , ลักขโมย ๑

การประพฤติผิดในกาม ๑

การพูดเท็จ ๑

                    ผลของกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำซึ่งเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ยกตัวอย่าง เช่น ขณะที่เรานั่งฟังธรรมอยู่บนศาลา  มองไปเห็นชายคนหนึ่งนั่งตกปลาอยู่ที่ท่าน้ำใกล้ศาลา  จิตกับคิดไปว่าถ้าเราไม่ได้ฟังธรรม วันนี้เราคงได้ไปนั่งตกปลาเพื่อเอาไปทำกับข้าวเป็นแน่แท้  แต่ฝั่งตรงกันข้ามคนซึ่งกำลังตกปลาอยู่ มองเห็นคนนั่งฟังธรรมอยู่บนศาลา จิตกับคิดไปว่าถ้าวันนี้เราตกปลาได้ พรุ่งนี้ เราจะทำอาหารไปใส่บาตรถวายพระ  จะเห็นได้ว่าในเวลาเดียวกัน   การกระทำที่ต่างกัน กลับให้ผลตรงกันข้าม คือ ผู้ที่นั่งฝั่งธรรมกลับมีจิตโน้มเอียงไปทางอกุศลธรรม  ส่วนผู้ที่กำลังตกปลากับมีจิตที่เป็นกุศลธรรม

                      

                เพราะหลักของพุทธศาสนาว่าด้วยเจตนาของผู้กระทำ ว่าทำไปด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล และด้วยเหตุผลนี้  มิได้ทำให้ส่งผลไปเกิดยังภพภูมิต่าง ๆ แม้มี  โลภะโทสะ โมหะ มากเพียงใดแต่ยังไม่มีการกระทำเกิดขึ้นยังถือว่าไม่เป็นความผิด เพราะมีขันติเข้ามาแทรก เพียงแค่เป็นความทุกข์ในใจ เช่น หากโกรธใครสักคน เราอยากจะฆ่าเขาให้ตาย แต่ยังไม่ได้ลงมือ ถือว่าไม่เป็นความผิด ไม่ส่งผลให้ตกลงสู่อบายภูมิ แต่ส่งผลเป็นความทุกข์ทางใจ ถึงได้มีการฝึกอบรมจิต ก็คือสมาธิ  เมื่อสมาธิควบคู่ไปกับสติ ก็จะทำให้เกิดปัญญาหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นความทุกข์ทางใจได้

 

กายภาวนา  ก็คือ การอบรม ตัวเองให้อยู่ในอาการสำรวมทางกาย

ศีลภาวนา   ก็คือ  การอบรม กาย วาจา โดยมีศีลเป็นตัวคุม

จิตภาวนา   ก็คือ  การอบรมจิต โดยการใช้ชีวิตตาม มรรคมีองค์ ๘

ปัญญาภาวนา ก็คือ  การหลุดพ้นความคิดจากอกุศล จนถึงขั้น นิพพาน

 

กถาวัตถุ ๑๐ (เรื่องที่ควรพูด)

ให้มักน้อย ปรารถนาน้อย ๑

ให้สันโดษ ยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ ๑

ให้สงัดจากกิเลศ สงัดกาย สงัดใจ ๑

ให้สงัดจากกิเลศ ไม่หมกมุ่นเป็นหมู่คณะ ๑

ให้ปรารภความเพียร ๑

ให้บริสุทธิ์ในศีล ๑

ให้จิตตั่งมั่นในสมาธิ ให้ทำใจให้สงบ ๑

ให้เกิดปัญญา ๑

ให้ทำใจให้พ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ๑

ให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลศ ๑

                 

                   “ธรรมมะก็เหมือนยารักษาแผล        เมื่อเราเป็นทุกข์ ก็ใช้ธรรมะรักษา

                    เมื่อเราเป็นแผลก็ใช้ยารักษา             แต่แผลนั้นก็ยังไม่ยอมหาย

                    แต่จะกลายเป็นแค่แผลเป็นที่ทำให้เรา........ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป”

                                                        ศรีอารย์

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ห (suman_direct-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-20 16:14:00


ความคิดเห็นที่ 11 (135337)

ครูบอกว่าเมืองพระศรีอารย์เป็นเมืองที่คนดีได้อยู่เท่านั้นเป็นเมืองนึกอย่างไรก็ได้อย่างนั้นมันเนจิงปะ  งง

 

 

 

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องแพรว วันที่ตอบ 2010-09-10 16:53:07


ความคิดเห็นที่ 12 (135717)

ก่อนที่จะเกิดเหตูการต่างๆเกิดขึ้น อยากให้คนไทยได้เจอ ท่านทุกคน ในนามของลูกพระศิวะ เราจะขอชี้ทางเผื่อว่า จะมีคนติดตามมา

พระศรีอารย์ ท่านอยู่ที่โคราช อยู่ใกล้ๆกับใจกลางเมือง และอีกไม่นาน ท่านจะย้ายไปอยู่วัด ในแถบจังหวัดลพบุรี

ขออภัยในการใช้ภาษาของเราด้วย เราแค่ต้องการให้ประชาชนทุกๆคนได้ ชมบารมีท่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต ก่อนจะสิ้นลมหายใจ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศิวัช วันที่ตอบ 2010-10-27 15:02:41


ความคิดเห็นที่ 13 (135812)

ประกาศเตือน : 2554

 

โลกกำลังวุ่นวาย  จงอยู่กันอยากสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุคและมหันตภัย

เข้าสู่อารยะธรรมใหม่ในโลกของ...ศรีอารย์      

 

                             อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
                         ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา  
                         ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
                         แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม  
                         ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี  
                          สมณะพราหมณ์ ปฏิบัติ ให้พอสม
                          เจริญสมถะ วิปัสนา พ่อชื่นชม
                          ถวายบังคม รอยพระบาท พระศาสดา
                          คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
                          ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
                          พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
                          พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน.

มหาสมุทรกั้นแผ่นดินสองฝั่งไว้ 

คลื่นลมเซาะแผ่นดินให้แผ่นน้ำกว้างใหญ่เพียงได

สัจธรรมที่แผ่ไปไกลของ....บัณฑิต 

ห่างจากคนพาล...ไกลกันเกินกว่านั้น

 

การทำชั่วนั้นมันเป็น...ทุกข์

หากเราไม่ทำความชั่วก็ไม่เป็น...ทุกข์

เขาเรียกกันว่า...การละทุกข์

การทำทานคือการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว

เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น

เขาเรียกกันว่า...การละสุข

ถ้าละสองสิ่งนี้ได้จะพบ... ความสุขอันเป็นนิรันด์

 

“ทำความดีอย่ายึดติดผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มี

ให้ไปเกิด (หมายถึง ชั้นเทวดาและชั้นพรหม)

ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่...อบายภูมิ

หนทางนี้แล จะนำพาพวกท่าน..ดับขันธ์นิพพาน”

 

*คิดดี  พูดดี  ทำดี  = ฐานที่ตัว

*มองโลกในแง่ดี    =  ฐานที่ใจ

*ถ้าทำเช่นนี้ได้ รับรอง...ทุกข์ไม่มี

 

                       การกลับมาของข้า.เอหิภิกขุอุปสัมปทา

                       พุทธะ....เรียกข้าว่า........อริยะเมตไตย

                                ( นารายณ์......ผู้รักษา )

 

ติดต่อขอรับหนังสือ พุทธศาสนา ( ยุคพระศรีอริยะเมตไตย )

เพื่อใช้เป็นหลักปฎิบัติธรรม ตั่งแต่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๔  ได้ที่...

โทร 089 – 076 – 2433 เวลา 12.00 – 22.00 ทุกวัน

 

“อยากเจอเรา   จงอย่าตามหาเรา

ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเห็นเรา”

                                  ศรีอารย์                        

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-05 17:04:48


ความคิดเห็นที่ 14 (137253)

ถ้าอยากมีความสุข เหมือนอยู่ในยุคพระศรีอารย์

เพียงแต่มองให้เห็นว่า ธรรมมะ หรือธรรมชาติ ของตัวเราเอง ไม่อยากสร้าง ปัญหาให้แก่ชีวิตเลย และมีความ ตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี อยู่ตลอดเวลา  มองให้เห็นว่า ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ ของมนุษ์ทุกคน ไม่อยากสร้างปัญหาให้แก่ชีวิตเลย และมีความตั้งใจจะให้ดี อยากจจะทำให้ดี อยู่ตลอดเวลา มองให้เห็นว่า ธรรมมะ หรือ ธรรมชาติ ของสรรพสิ่ง มีความตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น ตัวเราเอง มนุษย์ทุกคน และสรรพสิ่ง จึงมีจิตที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ สวยงาม ดีงาม และงดงามอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น ตัวเราเอง และมนุษย์ทุกคน และสรรพสิ่ง ก็จะมีความสุข อยู่ตลอดเวลา

ผู้แสดงความคิดเห็น จิรัชญา ชื่นชมสรรพสิ่ง (mal2512_-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-08 23:42:37


ความคิดเห็นที่ 15 (148337)

ยุค พระศรีอารยเมตไตรย เป็นยุคเดียวกับ ชาววิไล หรือเปล่า ยุคที่ว่าสิ้นคนชั่วมีแต่ผู้มีบารมีอยู่รอด ถ้าหากท่านเป็นพระศรีอารยเมตไตรย จริงๆ แล้วท่านจะแสดงตัวให้ชาวโลกได้รู้เมื่อไรเล่า เพราะในคัมภีร์กับป์สุดท้ายเขียนไว้ว่า ท่านพระศรีอารยเมตไตรยคือ รัชกาลที่๑๐ ทำหน้าที่แทนกษัตริย์และศาสนาอื่นจะล้มสิ้น ทุกศาสนาจะหันมาพึ่งศาสนาพุทธและประเทศไทยคือใจกลางของโลกและค่อนข้างมั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจ เมื่อใน พ.ศ.๒๕๖๐ และเคยได้ยินว่าเหลืออีก1อสงไขยเศษเท่านั้นเองที่พระศรีอารยเมตไตรยจะมาเกิด แต่มันนานมากนะท่าน 1อสงไขยเท่ากับ10ยกกำลัง140หรือ1ตามด้วยศูนย์140และยังมีเศษอีก ข้าพเจ้าอยากทราบว่าตกลงแล้วท่านพระศรีอารยเมตไตรยจุติแล้วหรือ ท่านผู้มีบารมีสูงส่ง "ท่านคือพระพุทธเจ้าองค์ที่5จริงหรือไม่"ที่แสดงพระนามว่า "ศรีอารย์" ช่วยคลายความสงสัยของข้าพเจ้าด้วยเถิดท่านผู้มีบารมี 

ผู้แสดงความคิดเห็น สิทธิเกียรติ แก้วเลี้ยง (เอก) (Skynet-dot-2012-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-09-26 19:12:31


ความคิดเห็นที่ 16 (150614)
ประกาศเตือน : 2555 “ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ” อริยะสัจจ์ ๔ ทุกข์ การชาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สาเหตุ ผู้คนขาดจิตใต้สำนึก การดับปัญหา รู้จักใช้สติปัญญาหาทางเอาตัวรอด การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิด กลับตัวเป็นคนดี อย่างน้อย ถ้ำไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ตายไปยังได้ไปจุติในสวรรค์ หรือดับขันธ์นิพพาน ปกติ ในตัวเรา "ปกติคนเรามีความรู้ดี รู้ชั่ว อยู่ในตัวเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาสั่งสอน มีความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว บางครั้งไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องไปนั่งดูจิตดูใจตัวเองด้วยซ้ำ แค่เราทำตัวดีไปวัน ๆ ไม่ไปสร้างความเดือนร้อนให้ใครก็พอ เราก็ได้ชื่อว่าคนรักษาศีล รักษาธรรม คิดอะไรก่อนทำ ถ้าดีแล้วทำ จิตใจก็ผ่องใส บางทีการที่เราได้ยิ้มให้คนอื่นบ้าง มีค่ามากกว่าล้านคำพูดเป็นไหน ๆ ไม่ต้องคิดว่าจะต้องทำใหดังให้เด่นเหนือใคร เป็นคนดี ที่ธรรมดา ๆ ก็พอ" "ทำดี...ละชั่ว และละดี...อีกที ไม่มี...ที่เกิด ดับขันธ์..นิพพาน, จบ" ทำชั่วได้..ความทุกข์ ทำดีได้..ความสุข ละดี..ได้ความสงบ อยู่จบพรหมจรรย์ นิพพาน คือ ความสงบ คือ สันติ คือการไม่คิดร้าย ไม่ทำร้ายใคร" พระศรีอริยะเมตไตย (นารายณ์ ผู้รักษา) “รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี และมีไมตรีต่อผู้อื่น ช่วยกันต่ออายุให้โลกใบใหม่ ด้วยการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม” ติดต่อขอรับหนังสือ “ศาสนาพระศรีอริยะเมตไตย” ได้ที่ 089-0762433 ทุกวัน เวลา 12.00 – 21.00
ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีอารย์ (sriaran_2009-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-01-21 13:46:05


ความคิดเห็นที่ 17 (151484)

พระมหาโพธิสัจจ์นารายณ์อวโลเกตะกิศวรศรีอาริยะเมตตรัยฯมีพระนามยาวมาก แต่ชาวบ้านรู้หนังสือน้อย ฯลฯ เรียกชื่อแบบสั้นยาว พระศรีอารย์ จึงถูกต้อง และควรฯให้มากๆเป็น 55%ขึ้นไป จะได้ไม่ทำร้ายกันฯ ให้ตกนรก500ขุมเล็ก8ขุมใหญ่ ชั่วกัปล์ ชั่วกัลล์

ผู้แสดงความคิดเห็น 3209900455943 วันที่ตอบ 2013-01-09 02:08:16


ความคิดเห็นที่ 18 (158508)

คนเป็นสิ่งสูงสุด เพียงสน ใจ ตัว เอง

ผู้แสดงความคิดเห็น สอง ห้าศูนย์ (torporwor-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-04-12 15:36:44


ความคิดเห็นที่ 19 (159003)

 หาความมีได้ที่ใหน

ทุกสิ่งมีอะตอม ซึ่งมีนิวเคลียสตรงกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆเสมอ(Niels Bohr) อะตอม ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ล่าสุด ก็มีคุณลักษณะไม่เหมือนกับ ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ก่อนหน้านี้ หรือทุกการวิ่งวนคุณลักษณะอะตอมและทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอด สื่อถึงการไม่มีตัวตนหรือมีก็ชั่วครู่สั้นมากๆแสดงออกซึ่งไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา จิตเดิมแท้(เว่ยหล่าง) ทุกสิ่งปรากฎได้เนื่องจากความไม่มีตัวตน
ร่างคน มีระบบอวัยวะ อวัยวะ เนื้อเยื่อ เซล โมเลกุล เล็กสุดคืออะตอมทั้งหลาย ด้วยคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การย่อยสลาย หากคงที่ มีตัว แล้วเด็กทารกเกิดมาได้ยังงัย สภาพทารกตอนนี้หายไปใหน สภาพในอนาคตก็ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา
ด้านจิตใจ มีร่างกายเป็นภาครับสรรพสิ่ง    มีจิตใจ(สมอง)เป็นภาคคิดจำคำนวณพิจารณาดิ จิตใจร่างกายเป็นภาคแสดง ล้วนเปลี่ยนแปลงเสมอ มีทั้ง โกรธ ขัดเคือง ชัง ชอบ เศร้า รัก ฯ เปลี่ยนทุกครั้งที่ร่างกายทวารต่างๆสัมผัสสรรพสิ่ง 
สรรพสิ่ง ร่างกาย จิตใจ เปลี่ยนแปลงเป็นนิจ เปลี่ยนอยู่เสมอ เปลี่ยนตลอดเวลา ...เปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยน...มีแต่การเปลี่ยนเท่านั้น เป็นอยู่อย่างนั้น เป็นของบริสุทธิดั้งเดิมไม่อยู่ภายใต้อำนาจของอะไร เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจความต้องเป็นอยู่หรือภายใต้ความดับสูญอย่างอิสระแท้จริง เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองอย่างสมบูรณ์แท้จริงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการปลี่ยนแปลงอย่างนอกเหนือแท้จริง อันคือ
สภาวะถาวร อมตะ อนันต์ นิรันดร ว่าง เหมือนมีแต่ไม่มีตัว พระพุทธเจ้า พระเจ้า
ผู้แสดงความคิดเห็น ใน แสงรุ้ง วันที่ตอบ 2016-06-03 17:51:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล