พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ธุดงค์ หมายถึง ความหมาย ธุดงค์ที่ชาวบ้านควรรู้ ธุดงค์ หมายถึง ความหมาย ธุดงค์ที่ชาวบ้านควรรู้ ปัจจุบัน ชาวไทยพุทธ มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธุดงค์อยู่มาก โดยเข้าใจกันว่า การธุดงค์ คือ การที่พระสงฆ์ห่มจีวรสีเศร้าหมอง สะพายบาตร แบกกลด แล้วเดินจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดนอนที่นั่น ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเอาเรื่องการจาริก คือ การท่องออกไปเพื่อโปรดสัตว์ผสมกับธุดงค์ คือ การปฏิบัติขัดเกลากิเลสเพื่อความมักน้อย สันโดษจนแยกออกจากกันไม่ได้ ระหว่างการจาริกกับธุดงควัตร การจาริกสมัยพุทธกาล คือ การที่พระสงฆ์เดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก ค่ำที่ไหนก็ปักกลดนอนที่นั่น เป็นการจาริกตามปกติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มีจุดประสงค์หลักเพื่อโปรดสัตว์ ดังพุทธดำรัสในการส่งพระสาวกรุ่นแรกไปประกาศสัจธรรมว่า "ภิกษุทั้ง หลาย พวกเธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก อย่าไปทางเดียวกันสองรูป พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้น เชิง" แต่การจาริกเช่นนี้ ต้องมีกำหนดระยะเวลา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเฉพาะ 8 เดือน นอกฤดูฝนเท่านั้น ธุดงควัตร อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสที่พระพุทธองค์ตรัสไว้มี 13 อย่าง ดังนี้ 1.ปัง สุกูลิกังคะ ถือการใช้ผ้าบังสุกุล ไม่ใช้ผ้าสำเร็จรูปที่มีผู้ถวาย 2.เตจีวริกังคะ ถือการใช้เพียงผ้าไตรจีวร พระภิกษุผู้ถือธุดงค์ข้อนี้ จะใช้เพียงผ้าไตรจีวร 3 ที่อธิษฐานเท่านั้น 3.ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำไม่รับกิจนิมนต์ ฉันอาหารจากบิณฑบาตเพียงอย่างเดียว 4.สปทานจาริกังคะ ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับบ้าน ไม่ข้ามไปบ้านนั้นบ้านนี้ 5.เอกาสนิกัง คะ ถือการฉันมื้อเดียว บางครั้งเรียกว่าฉันบนอาสนะเดียว คือ นั่งแล้วก็จะฉันไปจนอิ่ม เมื่อลุกแล้วจะไม่ฉันอีก เลยในวันนั้น 6.ปัตตปิณฑิกังคะ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ฉันในสำรับที่เขาจัดถวาย 7.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการลงมือฉันแล้วไม่รับเพิ่มอีก 8.อารัญญิ กังคะ ถือการอยู่ป่า 9.รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนต้นไม้ 10.อัพโภกาสิกังคะ ถือการอยู่กลางแจ้ง 11.โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้า 12.ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่แต่ในที่ที่เขาจัดให้ 13.เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งไม่นอน ทั้งนี้ ธุดงค์นั้นไม่ใช่กิจจำเป็น ตามแต่พระภิกษุรูปใดจะสมัครใจถือปฏิบัติเท่านั้น คอลัมน์ ศาลาวัด |