พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระพุทธรูปล้านนา ![]()
พระพุทธรูปล้านนา พระพุทธรูปศิลปะล้านนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ พระพุทธรูปล้านนา ระยะแรก (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) พระพุทธรูปล้านนา ระยะที่ ๒ แบบสิงห์หนึ่ง(พุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปล้านนา ระยะที่ ๓ ยุคทองล้านนา(พุทธศตวรรษที่ ๒๑) ระยะที่ ๔ พระพุทธรูปล้านนา ระยะหลัง (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) มช.เปิดหลักสูตรการศึกษา พระพุทธรูปศิลปะล้านนา อ.นิพนธ์ สุขสมมโนกุล (น้อย ไอยรา) ประธานโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่พุทธศิลป์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สมัยก่อน พระพุทธรูปที่พบบริเวณภาคเหนือตอนบนที่เมืองเชียงแสน เป็นครั้งแรกนิยมเรียกกันว่า พระพุทธรูปเชียงแสน โดยมีการแยกพระพุทธรูปออกเป็นแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง (เชียงแสนลังกาวงศ์) และสิงห์สาม ปัจจุบันนี้ มีทฤษฎีใหม่ๆ จากนักวิชาการ นักเขียน หลายคนเข้ามาเติมเต็มความรู้เรื่องพระพุทธรูป โดยเฉพาะประเด็นชื่อที่เรียกระหว่าง พระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสน และ ศิลปะล้านนา นักวิชาการหลายท่านเห็นว่า คำว่า ล้านนา เป็นชื่อของอาณาจักรซึ่งครอบคลุมมากกว่าชื่อ เชียงแสน ซึ่งเป็นแค่เมืองเมืองหนึ่ง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ทุกวันนี้ความนิยมในการใช้คำว่า ศิลปะล้านนา พระพุทธรูปล้านนา จึงได้รับการยอมรับมากขึ้น ทั้งในกลุ่มนักวิชาการนักสะสม พระเครื่องล้านนา และผู้สนใจทั่วไป
โดยท่านเหล่านี้มีความเห็นว่า การกำหนดอายุของพระพุทธรูปแต่ละสมัย ควรเริ่มตั้งแต่ต้นอาณาจักรล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แนวความคิดในการจัดกลุ่ม นอกจากจะพิจารณาลักษณะ วิวัฒนาการ รูปแบบ และแหล่งบันดาลใจในการสร้างแล้ว ยังได้พิจารณาจากเอกสาร ตำนาน พงศาวดาร และจารึก ประกอบด้วยจากการศึกษา พบว่า น่าจะมีการแบ่งกลุ่ม พระพุทธรูปในล้านนา ออกเป็น ๔ ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ ๑ พระพุทธรูปล้านนา ระยะแรก (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) ระยะที่ ๒ พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง และอิทธิพลศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ระยะที่ ๓ ยุคทองของล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) ระยะที่ ๔ พระพุทธรูปล้านนา ระยะหลัง (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) ทั้งนี้ อ้างอิงจากหนังสือ ศิลปะเมืองเชียงแสน โดย รศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ประธานโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่พุทธศิลป์ล้านนาฯ กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแนวใหม่ของ พระพุทธรูปศิลปะล้านนา และเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม หลักเกณฑ์การศึกษาและพิจารณา พระพุทธรูปศิลปะล้านนา ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ และอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้อันถูกต้องสู่ประชาชนโดยทั่วไป
ในการฝึกอบรมพิจารณา พระพุทธรูปล้านนา ครั้งนี้มีกำหนดการ คือวันเสาร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ เวลา ๐๘.๓๐ น.ลงทะเบียน / พิธีเปิด เวลา ๐๙.๑๕ น. ศ.สุรพล ดำริห์กุล บรรยายเรื่อง พระพุทธรูปล้านนา หลังจากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง กรรมวิธีการสร้าง พระพุทธรูปล้านนา โดย อ.สุทธิพงษ์ ใหม่วัน ช่วงบ่ายเป็นการศึกษาดูงานปั้นพระพุทธรูป ณ บ้านช่างจันทร์ อ.สารภี จากนั้นไปดูงานหล่อพระพุทธรูป ณ โรงงานช่างแหม่ม อ.หางดง วันอาทิตย์ ที่ ๑ มีนาคม อ.ทวี โอจรัสพร บรรยายเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาศิลปะและสมัย พระพุทธรูปล้านนา ต่อด้วยการรยาย หลักเกณฑ์การพิจารณา เก่า-ใหม่ โดย อ.นิพนธ์ สุขสมมโนกุล ช่วงบ่าย การพิจารณา พระพุทธรูปศิลปะล้านนา องค์จริง โดย รศ.ชูโชค อายุพงศ์ และชี้แนะเจาะลึก โดย อ.นิพนธ์ อ.ทวี อ.สุทธิพงษ์ และ ศ.สุรพล และสรุปผลการอบรม พร้อมกับการมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม พระกรุล้านนา
ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่โทร.๐-๕๓๙๔-๒๘๗๔-๕ (คุณรุจน์, คุณชลนิศา) หรือดูรายละเอียดได้ที่ WWW.PRALANNA.COM แล่ม จันท์พิศาโล ข่าวพระเครื่องที่มา... |