พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
แห่เทียนพรรษา สดจากหน้าพระ พงษ์สันต์ เตชะเสน
เมื่อปี พ.ศ.2495 จังหวัดอุบลราชธานี ได้บรรจุประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นงานประเพณีของจังหวัด พร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดทำประเพณีแห่เทียนพรรษาให้ยิ่งใหญ่ ทำให้ช่างทำต้นเทียนพรรษาต้องพัฒนาแนวคิดการทำต้นเทียน พร้อมหากลวิธีการนำเสนอฝีมือที่ช่างได้สร้างขึ้นมา บอกเล่าเรื่องราวในสมัยพุทธกาลและพุทธประวัติขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าในปาง ต่างๆ ให้ผู้ชมมีความเข้าใจเรื่องที่ช่างนำมาเล่าไว้ในต้นเทียน ไม่ใช่ให้เพียงความสนุกสนานบันเทิงใจในการจัดทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ด้วย แนวคิดใช้งานฝีมือเป็นสื่อเล่าพุทธประวัติของพุทธเจ้าผ่านลวดลายเทียน ช่างฝีมือแต่ละคนจึงต้องรังสรรค์ผลงานผ่านเนื้อเทียนอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการประชันขันแข่งออกแบบลวดลายบนเนื้อต้นเทียนให้มีความอ่อนช้อยสวย งามให้รายละเอียดแก่ผู้ชมได้มากที่สุด โดยช่างที่มีชื่อเสียง เรื่องการทำต้นเทียนยุคแรก คือ นายโพธิ์ ส่งศรี นายสวน คูณผล นายอารี สินสวัสดิ์ นายสมัยและนายอุส่าห์ จันทรวิจิตร ซึ่งถือเป็นช่างทำต้นเทียนในยุคต้นๆ รุ่นต่อมามีนายสงวน สุพรรณ และนายประดับ ก้อนแก้ว
สำหรับช่างทำต้นเทียนยุคปัจจุบัน อาทิ นายแก้ว อาจหาญ นายอุดม เจนจบ และอีกหลายคนก็ล้วนเป็นลูกศิษย์ของบรมครูช่างเหล่านี้ทั้งสิ้น ปัจจุบัน การทำต้นเทียนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นเทียนชนิดมัดรวมติดตาย (ซึ่งเรียกว่าเทียนโบราณ) เป็นต้นเทียนยุคต้น ต้นเทียนแบบแกะสลักเป็นต้นเทียนยุคกลาง และต้นเทียนแบบติดพิมพ์เป็นต้นเทียนยุคหลังสุด โดยต้นเทียนชนิดมัดรวมติดตายไม่สามารถนำไปใช้เล่ารายละเอียดต่างๆ ได้มากนัก ในระยะหลังจึงไม่เป็นที่นิยมทำในหมู่ช่างเทียน แต่ ในการจัดงานแห่เทียนพรรษาทุกปีจะมีการนำเสนอให้ผู้ชมได้จดจำรูปลักษณ์ของ เทียนประเภทนี้ ส่วนเทียนแบบแกะสลักถือเป็นมิติใหม่ที่กลุ่มช่างทำเทียนได้คิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้พื้นที่ของเนื้อเทียนแสดงออกถึงงานศิลปะด้านพุทธศิลป์ได้อย่างแยบยล ส่วนเทียนประเภทติดพิมพ์เป็นแนวคิดที่ช่างต้องการให้มีพื้นที่ใช้นำ เสนอแตกต่างจากการทำเทียนแกะสลักเพียงอย่างเดียว รวมทั้งการทำเทียนแบบติดพิมพ์ก็เป็นความคิดอันชาญฉลาดของช่าง ซึ่งต้องการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำเทียนพรรษากับกลุ่มช่างด้วย เพราะช่างใช้วิธีการสร้างแบบไว้ แล้วให้คนภายนอกใช้อุปกรณ์แกะลวดลายตามแบบ ก่อนนำแผ่นลวดลายเทียนที่แกะเรียบร้อยมาติดกับโครงสร้างที่ช่างหล่อรองเทียน ชั้นในไว้อย่างบางๆ เมื่อติดแบบได้ครบถ้วน จากงานเทียนชิ้นเล็กๆ ก็จะกลายเป็นงานเทียนที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกประดับไว้บนต้นเทียนนั่นเอง สำหรับ ลวดลายทั้งงานแบบแกะสลักและแบบติดพิมพ์ ช่างจะใช้ลายไทยตามแนวพุทธศิลป์ขึ้นมาสร้างงาน เช่น ลายเกรียวกนก ลายนาคคาบ ลายนาคขบ ลายกระจังตั้ง ลายระย้าคู่ ลายก้ามปู กรวยเชิง รวมทั้งกนกเปลวเครือเถา ส่วนเรื่องพุทธประวัติที่ช่างทำเทียนพรรษา นิยมนำมาเล่าคือ ปางต่างๆ ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น ตอนพระพุทธเจ้าทรงออกบวช โดยมี 3 ธิดามาร คือนางตัณหา นางราคา และนางอรดี ลูกสาวของวัสวดีพระยามาราธิราชมาล่อให้ติดบ่วงอิตถีมายา ณ โคนต้นไทรอชปาลนิโครธ เพื่อให้พระพุทธเจ้าทรงหลงรูปร่างของนางทั้ง 3 เพื่อไม่ให้สามารถบำเพ็ญเพียรภาวนาได้ตามที่ตั้งใจ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ หรือ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังที่ได้ทรงจำพรรษาจนครบกำหนดและหมดฤดูฝนแล้ว จึงเป็นวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ โดยพระอินทร์เป็นผู้เนรมิตบันได 3 ชั้น คือ บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ในวันออกพรรษา จึงได้มีประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงจากเทวโลกมาโปรดมนุษย์ในปางของพระเวช สันดร เป็นต้น สำหรับการจัดงานแห่เทียนพรรษาปี 2551 ได้จัดเทศกาลงานเทียนพรรษาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1-18 กรกฎาคม 2551 ภายใต้ชื่อ "เมืองอุบลฯ บุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" โดยมีต้นเทียนพรรษาเข้าร่วมแสดงจำนวน 50 ขบวน ในวันที่ 18 กรกฎาคม แต่ก่อนถึงวันแห่ขบวนต้นเทียนพรรษา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ได้จัดให้มีการแสดงประติมากรรมเทียนนานาชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ "โลกเย็นที่เมืองไทย หรือ Global Cooling @ Thailand" โดย 10 ศิลปินนานาชาติบริเวณสนามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การแสดงขบวนแห่ประดับแสงสีชุด "ราตรีตำนานเทียนพรรษาเมืองอุบลฯ" ซึ่งแสดงออกถึงวิวัฒนาการของงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ทั้งชุดเทียนโบราณหลายยุคสมัย การสาธิตการแสดงศิลปกรรมสกุลช่าง เมืองอุบลฯ รวมทั้งกิจกรรมการเยือน 9 ชุมชนประดิษฐ์ต้นเทียนพรรษา การจำลองย้อนยุคความเป็นอยู่ของคนอีสานในอดีตในงาน "อิ่มตา อิ่มใจ อิ่มท้อง ถือกลับบ้าน" ด้วยเมนูอาหารอีสานพื้นบ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การโชว์ต้นเทียนแกะสลักที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเมื่อปีที่ผ่านมา เป็นต้น ไม่ต้องรอถึงวันงานจริง แต่ทุกคนสามารถได้รับบรรยากาศความอลังการของการจัดงานได้อย่างเต็มอิ่ม |
ข่าวพระเครื่อง ข่าววงการพระเครื่อง มีข่าวมาบอก