พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา
ประวัติหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา พระครูธรรมโฆษิต(คง โกกนุตฺโต) วัตถุมงคลของท่านคือเหรียญรุ่นแรก เป็นหนึ่งในตำนานพระเครื่องเมืองสงขลาที่มีมูลค่าสูงมากและเป็นที่นิยมแต่หายากมากในปัจจุบันนี้ ประวัติพระครูธรรมโฆษิต (คง) โกกนุตตเถระ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13ค่ำ เดือนยี่ ปีะระกา พ.ศ.2414 เป็นบุตรคนโตของนายซัง นางม่า มีน้องอีกสองคนคือ ยังและตั้ง ท่านเกิดที่บ้านหนองปาป ตำบลจะทิ้งหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มารดาของท่านถึงแก่กรรมเมื่อท่านยังเล็กๆ พออายุได้ 13ปี บิดาที่รักก็ทิ้งท่านไปอีก แต่ได้ความเมตตาของนางมุ้ย นางเสน ผู้น้า นำไปฝากเป็นศิษย์ของท่านทองขวัญ เจ้าอาวาสวัดบ่อปาป จึงได้ดำรงตนเป็นศิษย์วัด รับการศึกษาตามธรรมของสมัยนั้น พออายุได้ 15 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักของท่านทองขวัญและเป็นสามเณรมาจนอายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ จึงทำการอุปสมบทเป็นภิกษุในพัทธสีมาวัดบ่อปาป โดยท่านทองขวัญเป็นพระอุปัชณาย์ พระนวลวัดบ่อปาปเป็นพระกรรมวาจาจาริย์ พระหนูแก้ววัดมะม่วงหมู่เป็นพระอนุสาวนาจาริย์ ท่ามกลางสงฆ์ 22 รูปในปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อคง ท่านได้สนใจในการศึกษาธรรมวินัย โดยวิธีการของสมัยนั้น คือเรียนสวดมนต์จบ เรียนปาฏิโมกข์แปลจบ และได้ปฏิบัติอุปัชฌาย์ตามหน้าที่ของศิษย์ที่ดีทุกประการ จนท่านอาจารย์เห็นความสามารถในการปฏิบัติสำหรับตนและหมู่คณะเป็นอย่างดีประกอบกับมีอายุพรรษาพอบริหารงานได้แล้ว ในปี พ.ศ.2443 ท่านจึงถูกอาจารย์สั่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษณ์ และรับสมัญญานจากประชาชนว่า พ่อท่านธรรมโฆษณ์ตั้งแต่นั้นมา แม้จะได้รับสมณศักดิ์แล้วก็ไม่มีใครเรียกแต่เรียกว่า พ่อท่านธรรมโฆษณ์ อย่างเดิม วัดธรรมโฆษณ์ปัจจุบันทั้งหมด เป็นผลงานของพ่อท่าน ท่านได้เสียสละกำลังทุกทางสร้างวัดอันเป็นที่ลุ่มให้เป็นที่ดอน และมีเสนาสนะพอสำหรับภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา นอกจากการสร้างทางด้านวัตถุแล้ว ท่านได้สร้างจิตใจของภิกษุตลอดถึงชาวบ้าน โดยการเปิดสำนักศึกษานักธรรมตามแผนใหม่ สร้างโรงเรียนประชาบาลเพื่อประโยชน์แก่เด็กน้อยของชาติ พ่อท่านคง ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรมาแต่ปี พ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2502 เป็นเวลาถึง 49 ปี มีสัทธิงวิหาริก หลาบพันคน พ่อท่านได้รับสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2492 ตามปกติ พ่อท่านเป็นผู้มีสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บป่วยออดแอด ไปไหนมาไหนได้ตามปกติเสมอมา แต่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ร่างกายที่เคยทนต่อโรคหมดความต้านทาน จึงมีโรคปรากฏ พ่อท่านต้องอยู่กับที่ไปไหนมาไหนไม่ได้ ต่อมาก็พูดไม่ได้ คณะศิษย์ได้เอาใจใส่รักษาเป็นอย่างดี จนถึง วันที่ 5 พฤษภาคม 2503 เวลา 10.10 น. พ่อท่านก็หมดลมหายใจด้วยอาการอันสงบ ท่านกลางความพรั่งพร้อมของศิษย์ทั้งหลาย ทิ้งไว้แต่ความดีตรึงใจคณะศิษย์และผู้คุ้นเคยในท่านอย่างไม่มีวันลืม ศิริรวม อายุของพ่อท่านได้ 89 ปี พรรษา67 ด้วยประการฉะนี้ ที่มา...จากหนังสือแจกเป็นที่ระลึก โดยพระครูวิจารณ์ศาสนกิจ เจ้าอธิการเห้ง ธมมรโต |