ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติหลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา

หลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา
หลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา

ประวัติหลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา นอกจากท่านจะเป็นที่เคารพศรัทธาของลูกศิษย์ในด้านพระหมอ วิธีการรักษาและด้านพุทธาคมแล้วท่านมักสอนให้เรายึดหลักไตรสรณคมน์ คือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ คำว่า สรณัง หรือ สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ให้ยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ของดีเวลาให้ไม่อยากจะรับกัน ไม่รู้ไปไขว่คว้าหาอะไรกัน

ประวัติหลวงปู่แฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติวัดกระโดงทอง วัดกระโดงทอง มีหลักฐานการสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือราวปี พุทธศักราช ๒๔๐๐ และได้รับพระราชวิสุงคามสีมาปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ เล่ากันว่าพ่อค้าสำเภา ได้มาดำเนินการจัดสร้าง โดยใช้เสากระโดงเรือปักหมายไว้เป็นสัญญลักษณ์ ระยะแรกเรียก “วัดเสากระโดงทอง” ต่อมา คำว่าเสาหายไป คงเหลือเป็นนามวัดว่า “วัดกระโดงทอง”สืบมาจนปัจจุบัน วัดกระโดงทอง มีปูชนียวัตถุ คือ พระประธานในอุโบสถ บริเวณตรงกลางโต๊ะหมู่บูชาหน้าพระประธานในพระอุโบสถ มีภาพของหลวงพ่อปาน มีข้อความเขียนใต้ภาพว่า พระครูวิหารกิจจา นุการ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ผู้จัดการสร้างศาลาการเปรียญ และโบสถ์วัดกระโดงทอง เมื่อพ.ศ.๒๔๖๔ โดยพระครูอุดมสมาจารย์ หลวงพ่อนัด เป็นประธานสร้างศาลา พระครูชื้น เป็นประธานสร้างโบสถ์ พ.ศ.๒๔๗๓ และยังมีหลวงปู่พระพุทธเกษร พระพุทธรูปปั้นหล่อด้วยเกสรดอกไม้ปิดทอง ตั้งบนฐานรองบัวหงายบัวคว่ำ หน้าตักกว้าง ๕๒.๕ ซ.ม. สูง ๘๐ ซ.ม. ประดิษฐานอยู่ในพระปรางค์ดุสิตราช

วัดกระโดงทอง มีเจ้าอาวาสปกครองวัดนับถึงปัจจุบันได้ ๑๐ รูป ดังนี้
๑.พระอาจารย์ช้าง
๒.พระอาจารย์แก่น
๓.พระอาจารย์ฟัก
๔.พระอาจารย์พวง
๕.พระอาจารย์มาก
๖.พระครูอุดมสมาจารย์ (นัด เกสโร ) ถึง พ.ศ.๒๔๖๙
๗.พระครูชื้น จนทสุวณโณ (พ.ศ.๒๔๖๙ ถึง พ.ศ.๒๔๘๑)
๘.พระครูวิบูลย์ธรรมศาสตร์ (สังวาลย์ คุตฺตธมฺโม) (พ.ศ.๒๔๘๒ ถึง พ.ศ.๒๕๓๘)
๙.พระครูพิลาศธรรมานุกูล (วงษ์ สุธมฺโม) (พ.ศ.๒๕๓๙ ถึง พ.ศ.๒๕๔๗)
๑๐.พระครูใบฎีกาวิเชียร ชุตินธโณ (พ.ศ.๒๕๔๘ ถึงปัจจุบัน)

ประวัติหลวงปู่แฉล้ม ฉันทวัณโณ
ชาติภูมิ หลวงปู่แฉล้ม

หลวงพ่อแฉล้ม มีชาติกำเนิดในสกุล ไวระตา เดิมชื่อว่า แฉล้ม เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ “ไปล่” โยมมารดาชื่อ “เหรียญ” มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒

ปฐมวัย หลวงพ่อแฉล้ม
ชีวิตในวัยเด็กท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพร้อมทั้งเป็นเด็กวัดอยู่ที่วัดกระโดงทอง ท่านเป็นคนชอบทำบุญ ในแต่ละปีท่านจะเดินทางไปกับยายฉัตรและเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดกระโดงทอง เพื่อช่วยงานวัดในบริเวณใกล้เคียง เช่น วัดบ้านแพน วัดบางนมโค ยายฉัตรแกเป็นพี่น้องกับพระอธิการเล็ก เกสโร เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อปาน ซึ่งยายฉัตรจะเดินทางไปกับเพื่อนบ้านเพื่อไปเป็นแม่ครัวที่วัดบางนมโค ขณะนั้นหลวงพ่อปานท่านยังมีชีวิตอยู่
การเดินทางในสมัยก่อนใช้เพียงเรือกับการเดินทางเท้า หลวงปู่แฉล้มในขณะที่ยังเป็นเด็กขอติดตามไปกับยายฉัตรด้วยเพื่อจะไปช่วยงานบุญของทางวัดบางนมโค และท่านก็ยังเคยเข้าไปกราบหลวงพ่อปานอยู่หลายครั้ง ท่านเป็นผู้ที่รักความถูกต้องน้องๆทุกคนเกรงกลัวท่าน ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าน้องท่านได้ทำผิด ท่านตีน้องจึงถูกแม่ของท่านว่า ช่วงหลังๆคราวที่น้องท่านทำผิด ท่านจะอุ้มน้องแอบไปตีที่หลังบ้านเพื่อไม่ให้แม่ของท่านเห็น น้องๆทุกคนเกรงกลัวท่าน
วัดกระโดงทองในยุคนั้น มีคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง ผู้คนในบ้านแพนนับถือท่าน คือ พระอาจารย์จำปี หรือ พระอาจารย์ปี จนฺทาโภ ท่านเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติที่ดี และมีความเก่งกล้าสามารถในเรื่องของเวทย์มนต์คาถา ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่แฉล้มในขณะนั้นที่เป็นเด็กวัด ก็เคยสนทนากับพระอาจารย์ปี อยู่บ่อยครั้ง

บวชสามเณร สู่ร่มกาสาวพัสตร์
ในเวลาต่อมา ท่านได้เดินทางไปทำงานก่อสร้างถนนกับอาที่ตำบลบ้านสร้าง ซึ่งเป็นบ้านเกิดพ่อของท่าน อยู่ในเขตอำเภอบางปะอินติดต่อกับอำเภอวังน้อย อยุธยา ทำงานอยู่ได้เพียงไม่กี่วัน ท่านก็เกิดความเบื่อหน่าย จึงได้บอกกับอาของท่านว่า “อยากบวชเณร” อาท่านถามว่า “อยากจะบวชจริงหรือ” ท่านตอบว่า “อยากบวชจริง” อาของท่านจึงพาไปบวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านสร้าง วัดบ้านสร้างในสมัยนั้น มีพระครูนิเทศธรรมกถา หรือ หลวงพ่อพัน เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ เมื่อวัยเยาว์บิดาของหลวงพ่อพันได้นำท่านไปฝากเรียนกับพระอธิการแจ้งเจ้าอาวาสวัดขนอนใต้(สมณศักดิ์ขณะนั้นต่อมาได้เลื่อนเป็นพระครูสังฆรักษ์และพระครูสุทธาจารวัตรตามลำดับ) เมื่ออายุครบบวช ท่านได้บวชที่วัดขนอนใต้ โดยมีเจ้าอธิการด้วงแห่งวัดขนอนเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแจ้งและพระอาจารย์ธูปแห่งวัดขนอนใต้เป็นพระคู่กรรมวาจาจารย์ ต่อมาในปี๒๔๔๙ท่านได้เลื่อนเป็นพระครูพันเจ้าคณะแขวงอุทัยน้อย (วังน้อย) และในปี ๒๔๕๑ได้รับพระราชทานราชทินนามเป็น"พระครูนิเทศธรรมกถา" ถือได้ว่าหลวงพ่อพันท่านนี้ไม่ธรรมดา ซึ่งหลวงพ่อพันท่านนี้เป็นผู้บวชสามเณรให้แก่หลวงปู่แฉล้มในขณะนั้น ออกธุดงค์ ในขณะที่ท่านบวชเรียนอยู่กับหลวงพ่อพันที่วัดบ้านสร้าง ครั้งหนึ่งท่านเห็นพระสงฆ์ที่วัดบ้านสร้าง ๒ รูปจะออกธุดงค์ ท่านคิดที่จะออกธุดงค์ติดตามไปด้วย พระสงฆ์สองรูปไม่อนุญาติให้ท่านติดตามไปด้วย เพราะไม่มีกาน้ำ เกรงว่าท่านจะอดน้ำตาย ในวันนั้นท่านไม่ได้ออกธุดงค์ถึงแม้ท่านหากาน้ำได้ แต่ก็เป็นเวลาเย็นแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้นท่านจึงออกธุดงค์เพียงรูปเดียวโดยจะเดินทางไปจังหวัดสระบุรี ท่านเดินไปตามทางรถไฟซึ่งมีระยะทางค่อนข้างไกล จนเท้าของท่านเกิดอาการอักเสบ บวม พองเป็นน้ำ จนทำให้ท่านเดินไม่ไหว จึงได้โบกรถขอความช่วยเหลือจากผู้มีน้ำใจ ก็มีคนรับท่านขึ้นรถ ขับไปค่อนข้างไกลท่านได้มองเห็นพระธุดงค์ปักกลด อยู่ด้วยกัน ๓ รูป ซึ่งไม่รู้จักแต่ท่านขอลงตรงนั้น

การออกธุดงค์ของท่าน ได้เคยพบเหตุการณ์ประหลาด ในค่ำคืนหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังจะปฏิบัติกรรมฐาน ก็ได้มีหมาดำตัวใหญ่ลักษณะน่ากลัว ท่านเห็นว่ามันเดินผ่านไปมาที่ตรงบริเวณรอบๆท่าน แต่ท่านก็ใจเย็น ลุกขึ้นยืนรวบกลด แล้วลงนั่งเจริญกรรมฐานและแผ่เมตตา ปรากฎว่าหมาดำตัวนั้นไม่ทำอะไรท่าน มันทำได้เพียงแค่เดินไปมา ในค่ำคืนนั้นไม่มีอันตรายใดๆเกิดขึ้นกับท่านแม้แต่นิดเดียว หลวงปู่แฉล้ม ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบ้านสร้างได้ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อพันประมาณ ๓ พรรษา ก็ลาสิกขากราบลาหลวงพ่อพัน กลับมาอยู่ที่บ้านโพธิ์ ที่อำเภอเสนา

บรรพชาครั้งแรก
เมื่ออายุครบท่านได้ อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกระโดงทอง โดยมีพระพรหมวิหารคุณ (หลวงพ่อยิ้ม) วัดเจ้าเจ็ดใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สังวาลย์ วัดกระโดงทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โล่ วัดกระโดงทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในขณะที่อุปสมบทอยู่ก็ได้ศึกษาพระธรรมของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เพียง ๓ พรรษา ท่านก็จำเป็นต้องลาสิกขา เพื่อไปรับใช้ชาติ เป็นทหารและมีครอบครัว ท่านได้เข้ารับสมัครเป็นทหาร เพื่อไปรับใช้ชาติ ได้เพียงหนึ่งปีเศษ ก็ต้องปลดประจำการ เนื่องจากช่วงนั้นมีเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ถูกรอบปลงพระชนม์ จึงทำให้บ้านเมืองระส่ำระส่าย หทารจำนวนมากถูกปลดออกรวมถึงตัวท่าน หลังจากการปลดประจำการท่านมีครอบครัวและมีบุตร ๓ คน ท่านทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าครอบครัวที่ดี จนครอบครัวของท่านมีความสุขสบายแล้ว ดั่งที่ท่านได้ปรารถนาไว้ สิ่งที่ท่านปรารถนาได้เกิดขึ้น คือ เมื่อใดที่ครอบครัวท่านสบายแล้ว ท่านจะขอกลับมารับใช้ พระศาสนา จนกว่าชีวิตจะหาไม่

บรรพชาครั้งที่สอง ท่านได้กลับมาครองผ้าไตรจีวรใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ท่านคิดที่จะตัดทางโลก หลีกพ้นกิเลสตัณหาทั้งปวง ท่านจึงได้ไปบวชอยู่ที่ วัดทรงเสวย จังหวัดชัยนาท โดยมีพระครูวิชัยสาธุกิจ (หลวงพ่อย้อย) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ฉนฺทวณฺโณ” วัดทรงเสวยในสมัยก่อนเป็นวัดป่า หลวงปู่แฉล้มท่านเป็นพระที่มีระเบียบเคร่งครัดในพระวินัย รักสันโดษ และนิ่งเฉยปล่อยวาง ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทรงเสวย ท่านจำพรรษาอยู่ที่กุฏิที่ทางวัดได้สร้างไว้เพียงพรรษาเดียว แล้วท่านก็ขออนุญาติหลวงพ่อย้อยไปสร้างกุฏิที่ใช้ไม้และใบจากสร้างและได้จำพรรษาอยู่ที่นั่นตลอด ท่านบอกว่ามันปลีกวิเวกดีทำให้จิตใจเราสงบดี เมื่อมีความเงียบสงบ จึงเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งท่านอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ อาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า สามัญในลักษณะ หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวงสิ่งนั้นก็คือ อนิจจัง ความไม่แน่นอนในสังขาร ทุกข์ขัง ความวุ่นวาย ความไม่สงบสุขในสังขาร อนัตตา ความตาย ความไม่มีตัวตน

หลวงพ่อแฉล้ม พบสหธรรมมิก หลวงพ่อแฉล้ม ท่านสนิทสนมกับพระอริยสงฆ์คือพระครูเกษมชัยคุณ หลวงพ่อฉาบ เขมจิตโต แห่งวัดคลองจันทร์ ชัยนาท ซึ่งพื้นเพเดิมท่านเป็นชาวอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อฉาบท่านเป็นพระชอบค้นคว้าทดลองในด้านวิชาอาคมต่างๆ ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ด้วยท่านมีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่กลัวใคร หลังจากบวชใหม่ๆท่านก็ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเเจ่ม วัดวังแดงเหนือ อำเภอท่าเรือ อยุธยา ท่านปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อเเจ่มอยู่หลายปี ได้รับการถ่ายถอดวิชามีดพระขรรค์และผ้ายันต์นางกวักเมตตตาค้าขายมาโดยตรง ซึ่งวิชามีดพระขรรค์นี้เรียนได้ยากลำบากมาก หลวงพ่อเเจ่มท่านก็คนจริง เมื่อเวลาเสกมีดต้องเสกให้ปลอกมีดกับด้ามมีดวิ่งเข้าหากันให้ใด้ ถ้าดัง "แกร็ก" ถือว่าใช้ได้ หลวงพ่อฉาบได้เพียรพยายามจนสำเร็จ หลวงพ่อแจ่มจึงแนะนำให้ไปเรียนทางเมตตาลงนะหน้าทองกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ซึ่งหลวงพ่อฉาบเองท่านก็เรียนจากหลวงพ่อจงมาเพียงอย่างเดียว หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า ตอนใหม่ๆเราเดินทางไปหาเขานานๆเข้าเขากลับเดินทางมาหาเราเสียเอง หลวงพ่อฉาบท่านชอบมาสนทนากับหลวงปู่เป็นประจำที่วัดทรงเสวย

หลวงพ่อฉาบขอแลกพระ ในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทรงเสวยนั้น หลวงปู่ท่านชอบปลูกต้นว่านยาต่างๆ แล้วนำมาทำเป็นยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรค ใครเป็นโรคอะไรมาท่านก็จัดยาให้ โดยไม่เรียกร้องเงินทอง เพียงขอให้คนป่วยหาย เท่านี้ท่านก็สุขใจแล้วที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ว่านที่ปลูกนั้นมีมากมาย ส่วนหนึ่งท่านจึงนำมาทำพระพิมพ์สมเด็จพิมพ์ใหญ่ พิมพ์พระคะแนน นางพญา และพิมพ์พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร โดยมีคนแกะพิมพ์มาถวายท่าน ครั้งหนึ่งหลวงพ่อฉาบท่านทราบว่าหลวงปู่ท่านมีพระพิมพ์อยู่ หลวงพ่อฉาบจึงได้นำพระที่ท่านสร้างขึ้น มาแลกกับพระที่หลวงปู่ท่านสร้างหลวงพ่อฉาบท่านเอ่ยออกมาว่า “พระของท่านทั้งสวยทั้งดีไม่แพ้ของใคร” และหลวงพ่อฉาบยังนำนอแรด งาช้างมาถวายท่านเพื่อให้ท่านนำมาเป็นส่วนผสมในเนื้อพระ จะพบพระบางองค์ที่มีส่วนผสมของนอแรด และงาช้าง แต่ก็มีจำนวนน้อย เพราะท่านบอกว่าต้องตำให้ละเอียดเพื่อนำมาผสมกับผงว่านทำลำบากจึงเลิกทำ หลวงพ่อฉาบท่านชอบพระที่หลวงปู่ท่านสร้างเพราะทั้งสวยทั้งดี จึงได้มาขอให้หลวงปู่ท่านสร้างพระพิมพ์ให้ เพื่อจะนำไปแจกให้ญาติโยมได้มีไว้ติดตัว หลวงปู่ท่านก็ทำให้หลวงพ่อฉาบ

ศึกษาวิชาอาคม ท่านได้เรียนวิชาหุงน้ำมันจากหลวงพ่อย้อย ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคล้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดทรงเสวย หลวงพ่อคล้อยท่านนี้ก็ไม่ธรรมดาเป็นที่ยอมรับนับถือของพระผู้เป็นสหธรรมิกกับท่านคือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งจะไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เมื่อทางวัดทรงเสวยมีงาน หลวงปู่ศุขก็จะนำพระพิมพ์ต่างๆมาแจกให้ ถึงคราววัดปากคลองมะขามเฒ่ามีงาน หลวงพ่อคล้อยท่านก็จะหุงน้ำมันไปแจกเช่นกัน นับว่าวิชาหุงน้ำมันที่หลวงปู่แฉล้มท่านได้เรียนกับหลวงพ่อย้อย ศิษย์หลวงพ่อคล้อย ซึ่งไม่ธรรมดาขนาดหลวงปู่ศุข พระเกจิคณาจารย์ท่านยังยอมรับว่าเป็นน้ำมันที่สุดยอด ใช้ได้สารพัดประโยชน์ ท่านบอกว่าการเรียนวิชาหุงน้ำมันมี จะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเช่นกระทะ น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งท่านก็เรียนสำเร็จ ท่านสนิทสนมกับพระสงฆ์ซึ่งเป็นศิษย์ของฆราวาสชื่อว่าตากลับอยู่ที่วัดดอนตาล ชัยนาท ท่านตากลับท่านนี้เขาว่ากันว่าเมื่อคราวบวชเป็นมือขวาของหลวงปู่ศุข หลวงปู่แฉล้มท่านเดินทางไปมาหาสู่ที่วัดดอนตาลเป็นประจำ และพระสงฆ์ผู้นี้ได้บอกท่านว่าชัยนาท มีหมอที่มีความชำนาญในการต่อกระดูก โดยใช้น้ำมนต์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และรักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพร และยังมีเวทย์มนต์คาถาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงพ่อแฉล้ม ท่านเล่าให้ฟังว่า ใครกระดูกหักมา หมอผู้นี้ก็ต่อให้ได้โดยใช้เพียงน้ำมนต์วิเศษพรมลงไปตรงที่กระดูกหัก ความปวดก็จะค่อยๆคลาย กระดูกที่หักก็ประสานเข้าดังเดิมในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหมอท่านนี้มีชื่อว่า“หมอเหรียญ” โดยหมอเหรียญได้ศึกษาการรักษาต่างๆจากพ่อของท่านชื่อว่าหมอเยิ้ม และเคยได้ยินมาว่าหมอเยิ้มผู้นี้ได้ศึกษาวิชาอาคมตามตำรับของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จากพ่อของท่าน ซึ่งใครเป็นอะไรมาท่านรักษาได้ชงัด ยังถือได้ว่าหมอเหรียญผู้นี้ ได้รับการถ่ายถอดวิชาและเวทย์มนต์คาถาจากพ่อของท่านตามตำรับของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่แฉล้ม ท่านได้ยินกิติศัพท์ของหมอเหรียญผู้นี้ จึงได้เข้าไปขอเรียนวิชารักษาโรคกระดูก และการทำยาสมุนไพร รวมถึงเวทย์มนต์คาถาจนสำเร็จ ซึ่งนับว่าเป็นตำราสายสรรพวิชาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เดินทางไปหาท่านอาจารย์บุญมี คราวที่หลวงปู่อยู่ที่จังหวัดชัยนาท ท่านได้ยินข่าวว่า ท่านอาจารย์บุญมี จันทรรัศมี มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ เขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี หลวงปู่จึงเตรียมที่จะออกเดินทางไปหาท่านอาจารย์บุญมี

อาจารย์บุญมี จันทรรัศมี ท่านเป็นผู้ดำริสร้างพระปรางค์ดุสิตราชที่ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเกษร ท่านเคยบวชอยู่ที่วัดกระโดงทอง ในคราที่ท่านบวชท่านชอบธุดงค์ และเป็นอาจารย์สอนสมถกัมมัฏฐาน จึงปรากฎมีศิษยานุศิษย์มากมาย ถึงกับได้สร้างพระพระปรางค์ดุสิตราชไว้เป็นที่ระลึก ๓ ที่ คือ ที่วัดกระโดงทอง ๑ ที่วัดเจ้าเจ็ดใน ๑ และที่วัดห้วยคันแหลน จังหวัดอ่างทอง ๑ อีกทั้งยังแนะนำชักชวนประชาชนที่มีความเลื่อมใสให้ไปนมัสการพระพุทธบาท บนยอดเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งประมาณ ๕๐ ปีถอยหลังขึ้นไปเขาวงพระจันทร์เป็นป่าเขาที่มีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ซึ่งน่าสะพรึงกลัว ซึ่งแตกต่างจากหลังที่พระอาจารย์บุญมี ได้เป็นผู้ริเริ่มทำให้เขาวงพระจันทร์ดีขึ้น ในภายหลัง พระอาจารย์บุญมีได้ลาสิกขาเป็นอุบาสก นุ่งขาว ห่มขาว เป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐาน และได้มาพำนักเพื่อปฏิบัติธรรมอยู่ที่ เขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี เนื่องจากหลวงปู่แฉล้มท่านเคารพนับถือและศรัทธาท่านอาจารย์บุญมี จึงได้ออกเดินทางจากวัดทรงเสวย ชัยนาท ไปยังเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี

เช้าวันหนึ่งในระหว่างการเดินทาง ขณะที่ท่านเดินบิณฑบาตรอยู่ มีโยมคนหนึ่งเดินเข้ามาหาแล้วบอกท่านว่า “ท่านไม่ต้องบิณฑบาตรหรอก เดี๋ยวจะทำอาหารมาถวายให้” หลวงปู่ท่านปฏิเสธ บอกว่าจะอย่างไรก็ต้องบิณฑบาตร เพราะเป็นกิจของสงฆ์อันพึงกระทำ ท่านก็ออกบิณฑบาตรจนท่านเดินกลับมาถึงที่เดิม มาพบกับโยมคนเก่า โยมจึงได้ถามหลวงปู่ว่า “บิณฑบาตรมาได้อาหารเยอะหรือเปล่าท่าน” หลวงปู่ท่านนิ่งเฉย แล้วเปิดฝาบาตรออกให้โยมผู้นั้นดู ก็พบว่าไม่ได้อาหารแม้แต่นิดเดียวจากการบิณฑบาตรในเช้าวันนั้น โยมผู้นั้นจึงนำอาหารมาถวายท่าน และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านบิณฑบาตร ได้รับบิณฑบาตรเพียงข้าวสวยกับปาท่องโก๋ ท่านก็ฉันเพียงเท่านั้น ไม่ไขว่คว้าที่จะหาของอื่นมาฉัน เพราะความไม่ยึดติดของท่าน ในรูป รส กลิ่น เสียง จึงทำให้ท่านดำรงอยู่ได้

เมื่อเข้าเขตจังหวัดลพบุรี หลวงปู่ท่านก็ธุดงค์อยู่ที่นั่น ในลพบุรีสมัยก่อนจะมีป่าเขา และที่ขึ้นชื่อคือลิงลพบุรีมีมากมายเหลือคณา หลวงปู่ท่านเดินทางมาไกล ท่านจึงอยากพัก จึงปักกลดที่นั่นแล้วได้เอาจีวรที่เปียกชุ่มด้วยเหงื่อไปผึ่งไว้ ขณะนั้นมีลิงตัวหนึ่งวิ่งเข้ามาหยิบจีวรของท่านไป ท่านก็ตามเจ้าลิงตัวนั้น และจับจีวรไว้และขอคืนจากลิง ลิงก็ปล่อยจีวรคืนให้ท่าน นิสัยของลิงมันไม่อยู่เฉยอยู่แล้ว และลิงอีกตัวหนึ่งหยิบเอาของในย่ามที่ท่านได้วางไว้เอาไปกัด ท่านก็ยื่นมือเข้าไปเพื่อจะหยิบของท่านคืน แต่ลิงตัวนั้นอ้าปากจะกัดท่าน ท่านนึกได้ว่าระหว่างทางที่เดินมา ได้เก็บมะกอกป่าติดตัวมาบ้าง เจ้าลิงมันคงหิวละสิ จึงหยิบเอาของเราไปกัด ท่านจึงหยิบมะกอกป่ายืนให้ลิงตัวนั้น เมื่อลิงเอื้อมมือหยิบมะกอกป่าของท่าน ท่านก็เอื้อมมือหยิบของๆท่านกลับคืนมาได้ โดยไม่ได้รับอันตราย จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มีเมตตาต่อสัตว์ ถ้าเป็นคนทั่วไปคงจะไล่ตีลิงไปแล้วก็ได้ เมื่อท่านพักจนหายเหนื่อยก็ออกเดินทางต่อไป เหลือระยะทางค่อนข้างไกล ใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะถึงเขาวงพระจันทร์ ที่ท่านอาจารย์บุญมี ได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ วันหนึ่งขณะที่ท่านปักกลดอยู่ มีโยมคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของร้านผลิตยา มาพบท่าน ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ได้เข้าไปกราบท่านแล้วนิมนต์ท่านเพื่อให้ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน หลวงปู่ท่านยังมิทันตอบรับคำนิมนต์ โยมผู้นั้นก็รวบเก็บกลดและเครื่องอัฐบริขารต่างๆ แล้วดึงหลวงปู่ขึ้นรถไป

ในคราวนั้น หลวงพ่อแฉล้มท่านไม่ได้ไปหาท่านอาจารย์บุญมี ที่เขาวงพระจันทร์ดังที่ท่านปรารถนาไว้ เพราะมีเหตุต่างๆที่ทำให้ท่านเดินทางไปไม่ถึงเขาวงพระจันทร์ จึงตัดสินใจกลับมายังวัดทรงเสวย ที่ชัยนาท อีกครั้ง จากวัดทรงเสวย หลวงปู่แฉล้ม ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทรงเสวยได้ประมาณ ๘ พรรษา ก็จำเป็นต้องเดินทางกลับมายังวัดกระโดงทอง ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากคำชักชวนของพระครูวิบูลย์ธรรมศาสตร์ (หลวงพ่อสังวาลย์) ที่ได้ชักชวนท่านให้กลับมาบ้านเกิดช่วยกันดูแล ช่วยเหลือทางวัดกระโดงทองบ้าง เมื่อชาวบ้านในที่อาศัยอยู่ในระแวกวัดทรงเสวย ที่ศรัทธาท่าน รู้ว่าท่านจะต้องกลับไปอยู่ที่อยุธยาก็รู้สึกเสียใจ และเสียดายเพราะท่านเป็นดังเสาหลักของทางวัดทรงเสวยก็ว่าได้ ขณะที่อยู่ที่วัดทรงเสวยท่านได้สร้างศาสนสถานไว้ คือเมรุเผาศพ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ ที่ท่านต้องการสร้างเมรุเพราะไม่อยากให้เผาศพบนกองฟอน เมื่อประชาชนในระแวกนั้นรู้ว่าท่านจะสร้างเมรุ ก็ให้ความร่วมมือกับท่าน ใครมีปัจจัยก็นำมาถวายเพื่อซื้อของที่ใช้ในการสร้างเมรุ ใครมีของก็นำของมาถวาย เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ใครไม่มีเงินทองก็มาออกแรงช่วยท่านก่อสร้างเมรุ ความศรัทธาของประชาชนในระแวกนั้น ที่มีต่อท่าน ทำให้การก่อสร้างเมรุสำเร็จ

กลับคืนวัดกระโดงทอง เมื่อหลวงปู่แฉล้มกลับมายังวัดกระโดงทอง หลวงพ่อสังวาลย์ ท่านดีใจที่หลวงปู่กลับมา ถึงแม้ว่าสถานที่จำพรรษาของท่านจะไม่ใช่ที่เดิม หลวงปู่ท่านก็ยังคงยึดหลักปฏิบัติเหมือนเดิมทุกอย่าง คือท่านยังคงช่วยเหลือคนเช่นเดิม ใครเจ็บป่วยไข้มาหาก็จัดยาให้ ยังเคยมีคนกระดูกหักมาให้ท่านช่วยต่อกระดูกให้ ท่านก็ทำเหมือนกับที่หมอเหรียญอาจารย์ของท่านทำ คือใช้น้ำมนต์ในการประสานกระดูก และยังเคยหุงน้ำมันให้คนนำไปใช้แก้ปวด ทำได้อยู่เพียงพักหนึ่งท่านก็เลิกทำ เพราะเกรงว่าคนจะตำหนิท่านว่าจะทำแข่งกับ หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา อำเภอบางบาล อยุธยา ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อเมี้ยนท่านโด่งดังในเรื่องของการต่อกระดูก หุงน้ำมัน ทำน้ำมนต์ เช่นกัน หลวงปู่ท่านจึงเลิกรักษา จึงได้แค่ทำยาสมุนไพรให้คนป่วยไข้ไปกินเท่านั้น 

นอกจากท่านเป็นพระหมอ ที่ได้ร่ำเรียนตำราการรักษา จากฆราวาสที่ชื่อ หมอเหรียญ ที่มีวิธีการรักษาและเวทย์มนต์คาถาตามตำรับของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของคาถาอาคมที่ได้ศึกษาตามตำราของพระอาจารย์จำปี จนฺทาโภ ศิษย์สายพุทธาคม หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และยังมีมหาคาถาครอบจักรวาล ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ซึ่งท่านจะใช้คาถาภาวนาครอบตัวท่าน เปรียบดังมีกรอบแก้วเป็นกำบังป้องกันภยันตรายต่างๆ และท่านยังใช้อฐิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่อง นอกจากนี้ยังมีคุณวิเศษคือสามารถภาวนาครอบฝน ฝนที่กำลังตกอยู่นั้นก็จะค่อยๆหยุดตกได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบันหลวงปู่แฉล้มท่านจำวัดอยู่ที่วิหารข้างพระอุโบสถวัดกระโดงทอง ท่านอยู่รูปเดียว กิจของท่านในแต่ละวันคือ ในช่วงเช้ามืดประมาณตี ๔ ท่านมักชอบเดินจงกรมรอบพระอุโบสถก่อนที่จะ ออกบิณฑบาตรเป็นประจำ ท่านจะออกบิณฑบาตรโปรดญาติโยมในช่วงเวลาประมาณตี ๕.๒๐ ท่านบิณฑบาตรเพียงรูปเดียว โดยท่านเดินเข็นรถเข็นบิณฑบาตร ผู้เขียนเคยพูดกับท่านว่า “หลวงตาตอนเช้าให้ผมมาช่วยหลวงตาเข็นรถบิณฑบาตรไหมครับ” (ผู้เขียนเคยชินกับการเรียกท่านว่า หลวงตาเพราะเรียกท่านอย่างนี้มานานแล้ว) ท่านจึงตอบว่า “ไม่ต้องมาหรอก เพราะรถพยุงคน คนพยุงรถ” และยังพูดต่ออีกว่า “เรายังไม่ทันช่วยตัวเองให้เต็มที่เลย จะต้องไปขอความช่วยเหลือจากใครเขา เมื่อใดที่เราพยายามอย่างเต็มที่แล้วมันไม่ได้หรือไม่สำเร็จ จึงค่อยขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเขา” เพียงคำพูดสั้นๆของท่านทำเอาผมพูดไม่ออก 

ในยามว่างท่านชอบอ่านหนังสือต่างๆเช่น โลกทิพย์ โลกลี้ลับ เพราะท่านบอกว่าหนังสือเหล่านี้มีแง่คิดทางธรรมดีๆอยู่มากมาย ในช่วงเวลาก่อนเพล จะมีญาติโยมที่ศรัทธาท่านนำข้าวของอาหารมาถวายท่านอยู่เสมอ หลังจากฉันเพลเสร็จก็จะมีลูกศิษย์มารับเอาอาหารไป บางวันลูกศิษย์ท่านไม่มารับอาหารที่เหลือจากการฉันเพล ท่านก็จะแจกจ่ายให้คนอื่นๆไป ท่านมีความเมตตากับทุกคนไม่เลือกที่รักมักที่ชังส่วนเศษอาหารที่เน่าเสียท่านจะนำไปเทให้ปลากินที่บริเวณคลองหลังวัดเป็นประจำ เมื่อถึงวันพระท่านจะลงศาลาการเปรียญ ท่านนั่งเป็นรูปแรกก่อนท่านเจ้าอาวาส เพราะท่านเจ้าอาวาสนับถือท่านในฐานะเป็นพระอาวุโสกว่า ส่วนใหญ่ท่านจะได้รับอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเกิดจากความศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อท่าน

การสอนธรรม ให้ยึดเป็นที่พึ่งทางใจ
หลวงปู่แฉล้มท่านไม่สนใจว่าใครจะพูดอย่างไร จะทำอะไร มันก็เป็นเรื่องของคนผู้นั้น เรื่องของเราคือ“เรามีหน้าที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สาธุชนได้เข้าใจ เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา” ในแต่ละวันจะมีสาธุชนที่ศรัทธาท่าน ไปให้ท่านช่วยต่อชะตาบ้าง ไปทำสังฆทานบ้าง หรือนำข้าวของไปถวายท่าน ก่อนที่ท่านจะทำพิธี ยกตัวอย่างเช่น ทำสังฆทาน ท่านมักจะถามว่า “โยมรีบหรือเปล่า ถ้าไม่รีบให้รับศีลก่อนนะ เพราะบุคคลที่มีศีลแล้วทำบุญจะได้บุญมากกว่าบุคคลที่ไม่มีศีล” แล้วท่านก็อธิบายให้ฟังว่า สมัยก่อนคนจะต้องมาขอศีลจากพระที่วัด แต่สมัยนี้พระต้องถามว่าโยมจะรับศีลหรือไม่รับ และท่านก็อธิบายต่อไปอีกว่า คนเราถ้าไม่มีศีลมันก็ลำบาก ศีลห้าเป็นธรรมดาที่คนจะต้องรักษาเอาไว้ เมื่อมีศีลแล้วจะไม่มีทุกข์ สมัยนี้คนไม่ค่อยรักษาศีลกัน ขโมยขโจรมันถึงเยอะ ถึงแม้เจ้าของอยู่มันยังหยิบฉวยเอาได้ มันไม่กลัวบาป ถ้าเจ้าของไม่อยู่มันคงหยิบฉวยเอาจนหมด เมื่อสมัยก่อนคนชอบรักษาศีลกัน บ้านช่องเรือนชานฝากกันได้ เรื่องข้าวของจะหายไม่มี สมัยนี้ฝากบ้านกับตำรวจขโมยมันยังกล้าเลย ให้จำไว้ว่า “ถ้าเรารักษาศีล ศีลก็จะรักษาเรา” ทุกครั้งเมื่อสอนเสร็จ หลวงปู่ท่านจะพูดว่า “ที่พูดไป ไม่ใช่ว่าพูดให้เชื่อ แต่พูดให้ฟัง เมื่อฟังแล้วให้เอาไปคิด เมื่อคิดและพิจารณาดีแล้ว จึงค่อยนำไปปฏิบัติกัน แต่บางคนเขาพูดแล้วต้องการให้คนฟังเชื่อที่เขาพูด ทั้งๆที่ยังไม่ได้คิด พิจารณาในคำพูดของเขา เขาก็โกรธเราเหตุเพราะเราไม่ยอมเชื่อเขา” ซึ่งหลวงปู่ท่านไม่เคยบอกให้ใครเชื่อท่านง่ายๆ

ครั้งหนึ่งหลวงตาเคยสอนว่า ให้เรายึดหลักไตรสรณคมน์ คือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ คำว่า สรณัง หรือ สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ให้ยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ของดีเวลาให้ไม่อยากจะรับกัน ไม่รู้ไปไขว่คว้าหาอะไรกัน ๓ สิ่งนี้ ประเสริฐเหนือสิ่งอื่นใด ในเวลาที่กราบพระ เราต้องกราบ ๓ ครั้ง ครั้งแรก เรากราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งที่สอง เรากราบพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ ๓ เรากราบพระอริยสงฆ์ คือผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ว่ากราบหลวงตานะ เรายังไม่ถึงขั้นนั้น ทุกวันนี้อะไรมันก็เปลี่ยนพระสงฆ์องค์เจ้าก็เปลี่ยนไปดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายไว้ แต่อยากให้คิดว่า “พระท่านดีอยู่แล้ว ที่ไม่ดีนั้นไม่ใช่พระ” และท่านยังบอกอีกว่า ควรพิจารณาหลักไตรลักษณ์ คือการเกิด เจ็บ ตาย ทุกคนหนีไม่พ้น หลวงตาถามว่ารู้จักคำว่า “อยาก” หรือเปล่า อยากคำเดียวสั้นๆ มันทำให้เราไม่หลุด ถ้าจะให้หลุดต้องไม่อยาก และจำไว้นะว่า “เวรกรรม ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ได้แต่ชดใช้กรรมที่ทำกันไว้ อยากให้สร้างกันแต่ความดี ไฟที่เห็นๆกันอยู่นั้นมันร้อน แต่เขาว่าไฟในนรกมันร้อนกว่านี้มากนะ” หลวงปู่ท่านสอนให้พวกเราเกรงกลัวต่อบาป อยากให้สร้างกันแต่ความดี และท่านยังอยากให้สาธุชนปฏิบัติธรรมกัน

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบันหลวงปู่แฉล้มท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดกระโดงทองเป็นระยะเวลา ๒๖ พรรษา และจำพรรษาอยู่ที่วัดทรงเสวยอีก ๘ พรรษา รวมเป็น ๓๔ พรรษา ปัจจุบันหลวงปู่ท่านมีอายุ ๘๘ ปี
ขอขอบคุณรูปและข้อมูลจาก คุณgenerdius




ประวัติพระเกจิอาจารย์ ประวัติพระคณาจารย์ พระเครื่องพระเกจิ

ประวัติหลวงพ่อบุญมี โฆสธัมโม วัดเภาเคือง รวมข้อมูลพระเครื่อง
ประวัติพ่อท่านลอย กุสโร วัดชายคลอง ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อเปรม ติสสโร วัดวิหารสูง มะกอกใต้ จังหวัดพัทลุง
ประวัติหลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน ท่าแซะ จ.ชุมพร
ประวัติหลวงปู่จันทร์ ฐิตาจาโร วัดซับน้อย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ประวัติหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา
ประวัติหลวงพ่อเหลื่อม วัดนาท่อม พระเครื่องและวัตถุมงคลหายากเมืองพัทลุง
ประวัติพระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อแดง วัดโทตรี จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
ประวัติหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี
ประวัติพ่อท่านท้วง สำนักสงฆ์คลองแคว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
ประวัติ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
ประวัติ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง article
ประวัติพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน เทวดาเมืองคอน
ประวัติ พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า (วัดประดิษฐาราม)
ประวัติ พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน ละสังขารแล้ว
ประวัติหลวงพ่อจาด พระครูสิทธิสารคุณ วัดบางกระเบา
ประวัติ พระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) วัดดินดอน
ประวัติพ่อท่านหีต ปภังกโร วัดเผียน(คีรีรัตนาราม) นครศรีธรรมราช
ประวัติ พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ
ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้ จ.มหาสารคาม
ประวัติ หลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี
ประวัติ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา article
ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก
ประวัติหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ
ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร article
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
ประวัติหลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ จ.ระยอง
ประวัติหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติ หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม จ.นครพนม
ประวัติ หลวงปู่ถิน สารานุโม วัดบ้านดงเมืองน้อย
ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย จ.สกลนคร
ประวัติ พระอุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน
ประวัติ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี (พระครูโกวิทสมุทรคุณ)
ประวัติ หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
ประวัติ พระอาจารย์หรีด วัดปาโมกข์
ประวัติพระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ ประวัติ หลวงพ่อจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ article
ประวัติหลวงปู่เขียว วัดหรงบล จ.นครศรีธรรมราช article
ประวัติหลวงพ่อปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง article
ประวัติ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
ประวัติพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติพระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา(นำ แก้วจันทร์) article
ประวัติ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง
ประวัติพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติ อาจารย์นอง วัดทรายขาว พระครูธรรมกิจโกศล article
ประวัติ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ (พระครูวิสัยโสภณ ทิม)



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล