พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี ครั้นถึงปี พ.ศ. 2434 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ และต่อมาท่านก็ได้เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภออยู่ 12 ปี ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พอถึงปี พ.ศ. 2447 ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตโนบล หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนในเรื่องต่างๆ เสมอมาด้วยความเต็มอกเต็มใจ จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของบรรพชิตและคฤหัสถ์โดยทั่วไปทั้งเมืองอุบลฯ และเมืองใกล้เคียง หลวงปู่รอดท่านเป็นผู้นำสาธุชนเข้ายึดพระรัตนตรัยด้วยการอบรมให้เล่าเรียน ธรรมปฏิบัติ ทำให้คนชั่วกลับตัวมาเป็นคนดีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเวลาท่านดำริจะทำอะไรเป็นต้องสำเร็จ ท่านได้นำประชาชนบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุไว้หลายแห่งในเขตปกครองของท่าน ที่สำคัญที่สุดก็คือการบูรณะพระธาตุพนมอันเป็นพุทธเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2444 พระอุปัชฌาย์มหาโชติ วัดบูรพา เมืองอุบลฯ พร้อมทั้งพระอาจารย์มัน ภูริทัต พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล กับคณะเดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่บริเวณพระธาตุพนม ท่านอาจารย์ทั้ง 3 ท่านเห็นว่าองค์พระธาตุหมองคล้ำคร่ำคร่า ควรจะทำการบูรณะให้สวยงาม ก็เห็นพ้องกันว่ามีแต่ พระครูอุดรพิทักษ์คณเดช (หลวงปู่รอด) แห่งวัดทุ่งศรีเมืองเท่านั้น ที่จะมีความสามารถบูรณะได้สำเร็จ จึงได้เรียกหัวหน้าญาติโยมชาวพระธาตุพนมมาแนะนำให้ไปนิมนต์หลวงปู่รอดมา เพื่อทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ชาวบ้านจึงได้นำหนังสือของพระอาจารย์ทั้งสามไปนิมนต์หลวงปู่รอด ท่านก็ได้รับปากและมาช่วยบูรณะองค์พระธาตุพนมได้สำเร็จ โดยมีชาวบ้านและชาวลาวหลั่งไหลกันมาทั่วสารทิศ มาช่วยกันทำงานประมาณ 2 เดือนก็สำเร็จและมีการฉลองเป็นงานใหญ่ นับว่าเป็นงานปฏิสังขรณ์ชิ้นสำคัญที่ต้องจดจารึกไว้ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สิริอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 64 ท่านทิ้งไว้แต่อนุสรณ์คุณงามความดีให้แก่อนุชนคนรุ่นหลัง แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม คุณงามความดีของท่านยังจารึกไว้ในหัวใจของชาวอุบลราชธานี และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวอุบลฯ ตลอดไป ในด้านวัตถุมงคล เหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างในปี พ.ศ. 2483 โดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้สร้างถวาย
หลวงปู่รอด ชาวเมืองอุบลราชธานีรวมทั้งคนทั่วๆ ไปเรียกท่านอีกชื่อหนึ่งว่า "ท่านพระครูดีโลด หรือหลวงปู่ดีโลด" เพราะท่านจะพูดอะไรกับใครๆ หรือฟังใครพูด เวลาเขาเหล่านั้นพูดจบหรือเล่าจบ ท่านมักรับคำของเขาว่า "ดีๆ" ใครจะพูดร้ายหรือพูดดีกับท่าน ท่านก็จะพูดว่า "ดีๆ" เวลามีอารมณ์ชนิดไหนก็ตาม ท่านก่อนจะพูดอะไรก็ชอบเปล่งอุทานว่า "ดีๆ" เขาจึงถวายนามพิเศษว่า "หลวงปู่ดีโลด หรือท่านดีโลด" คำว่าโลดเป็นคำพื้นเมือง แปลว่า "เลย" คำว่าดีโลดก็หมายความว่า "ดีเลย" นั่นเอง "วัดทุ่งศรีเมือง" นั้นอาศัยรายละเอียดจากหลักฐานต่างๆ พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะสร้างในตอนกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวพุทธศักราช 2385 จุลศักราช 1158 มีพระปทุมราชวงศา พระอุปฮาด (กู่ทอง สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้นนับเป็นเวลามาจนบัดนี้ได้ 128 ปี ในระยะ 128 ปีนี้ เพื่อสะดวกในการศึกษาประวัติของวัดซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ยุค ใน 4 ยุคนี้ ได้มีพระเถระเป็นประ มุขปกครองถึง 3 รูปด้วยกันคือ ยุคที่ 1 ยุคก่อสร้างมีท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) และญาติครูช่างเป็นผู้ปกครอง ยุคที่ 2 คือยุคซ่อมแซมและสร้างศาลาการเปรียญ มีท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือหลวงปู่รอดนั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสปกครองในยุคที่ 1 สำหรับยุคก่อสร้างท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) ตามประวัติหลักฐานต่างๆ ได้ความว่าท่านเจ้าคุณองค์นี้เป็นผู้สร้างวัดทุ่งศรีเมือง ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยแท้ ถือกำเนิดที่บ้านกวางดำ ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน นัยว่าท่านเป็นคนผิวขาวรูปร่างสง่างาม เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ไปพำนักศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่สำนักวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระนคร ในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หลวงปู่รอด ได้มาอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ในตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูวิโรจน์รัตโนบล" ในรัชกาลที่ 5 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย พระครูวิโรจน์รัตโนบล ในเวลาที่ท่านปกครองวัดอยู่นั้นได้สร้างกุฏิขึ้นหลายหลัง ซึ่งยังปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ในขณะนั้นหอพระพุทธ บาทและหอไตรได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาบ้างแล้ว ท่านจึงได้ชักชวนบอกบุญแก่ทายาทายิกา และผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ให้พากันช่วยบริจาคทรัพย์เพื่อซ่อมแซมหอพระพุทธบาทและหอไตรอีก แต่ก็ไม่ได้รื้อของเก่าจนเสียรูปเพียงแต่เปลี่ยนแปลงถ่ายถอนบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น ส่วนแบบรูปทรงและลักษณะยังคงเป็นของเก่าอยู่ในสภาพเดิมจึง เป็นอันว่า ในสมัยท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล หอพระพุทธบาทและหอไตรได้ซ่อมมาแล้วครั้งหนึ่ง นับได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่วัดทุ่งศรีเมืองเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ เพราะเหตุที่ หลวงปู่รอดท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวเมืองอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเป็นดังนี้วัดทุ่งศรีเมืองจึงเป็นที่เคารพนับถือและเจริญศรัทธาของพุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายโดยทั่วไป
พระเครื่องหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง พุทธคุณโดดเด่นในเรื่องการเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมสิ่งที่นักสะสมควรระวังคือ ของเก๊ที่มีอยู่เพียบ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7329 ข่าวสดรายวัน |