ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี

หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี

"หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์"เป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดปราสาทสิทธิ์ ม.5 ต.ประสาทสิทธิ์ อ.ดำ เนินสะดวก จ.ราชบุรี ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและมีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3

ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์
ความเป็นมาของ หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ได้รับการบอกเล่าจากคนเก่าแก่อย่าง พระครูสมุห์รวีโรจน์ วรมังคโล รองเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ ว่า เมื่อ พ.ศ.2371 รัชสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงปรารภว่า คลองสุนัขหอน ทางแม่กลองมาชนกับทางแม่น้ำท่าจีนที่ ต.โรงเข้ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ทำให้คลองตื้นเขินบ่อยๆ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้การขุดคลองแต่ละครั้งจะใช้ได้นานๆ เจ้าพระยาคลัง (ดิศ บุญนาค) ทูลแนะว่าให้ขุดคลองแยกจากคลองสุนัขหอนหรือคลองควายในปัจจุบัน ผ่านมาทางริมหมู่ บ้านโพหัก ดังนั้น รัชกาลที่ 3 จึงรับสั่งให้ขุดคลองขึ้น โดยชาวจีนผู้รับจ้างที่อาศัยอยู่ที่โคกสูง ต.ประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนิน สะดวก ซึ่งเป็นที่ตั้งอุโบสถในปัจจุบัน กระทั่งเมื่อขุดเสร็จ เจ้าพระยาคลังได้มาตรวจดูคลอง สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ หรือท่านช่วง บุญนาค ได้ติดตามบิดามาด้วย ตอนนั้นเจ้าพระยาคลังได้ปรารภว่า "โคกนี้สูงใหญ่กว้างขวางเหมาะที่จะสร้างวัด" แต่แล้วก็ยังไม่ได้มีการจัดสร้างวัด ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับสั่งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ดำเนินการขุดคลองดำเนินสะดวกเป็นระยะทางยาว เมื่อขุดคลองมาถึงหลักห้า พระยาศรีสุริยวงศ์ก็ระลึกถึงคำปรารภของเจ้าพระยาคลังผู้เป็นบิดาที่เคยปรารภ ว่าอยากจะสร้างวัดที่บริเวณดังกล่าว

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงตกลง ใจสร้างวัดขึ้นที่โคกนั้นด้วยสาเหตุ 3 ประการ คือ เพื่อทำตามความประสงค์ของบิดา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่น้องสาวที่วายชนม์ไปแล้ว และไว้สำหรับบำเพ็ญกุศลเหมือนกับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระครูสมุห์ รวีโรจน์ วรมังคโล เล่าว่า เมื่อสร้างวัดเสร็จ เจ้าคุณอริยมุนี วัดราชาธิวาส ได้มาเป็นประธานในพิธีผูกพัทธสีมา และในราว พ.ศ.2448 ท่านเจ้าอธิการแก้ว รัตนโชติ ก็ได้ย้ายศาลาการเปรียญไปไว้ริมเขื่อนด้านตะวันออก ต่อมา พ.ศ.2456 วัดเดิม กุฏิและโบสถ์เกิดการแตกร้าวมาก ประกอบกับว่าพื้นที่เป็นโคกดินเหนียว พอถึงช่วงฤดูแล้งก็แตกระแหงลึกมากเกือบเมตร พอฤดูฝน ฝนตกมากๆ ดินก็ทรุดเกินที่จะปฏิสังขรณ์ได้อีก ท่านเจ้าอธิการแก้วจึงย้ายวัดมา อยู่ที่ริมคลองดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และเมื่อวัดสร้างเสร็จก็ตั้งชื่อว่า "วัดสมเด็จพระปราสาทสิทธิดาราม" แต่พอย้ายวัดลงมาอยู่ที่ริมคลองดำเนิน สะดวก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จมาตรวจก็ทรงรับสั่งว่า วัดควรจะให้ตั้งชื่อตามตำบลที่ตั้งอยู่ว่า "วัดดอนไผ่" แต่วัดให้ใช้ตามทางราชการ ว่า "วัดปราสาทสิทธิ์"

ส่วน "หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์" องค์พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารหลังใหม่ ริมคลองดำเนินสะดวก เป็นพระพุทธรูปหินเขียวปางสมาธิ ศิลปกรรมสมัยอยุธยา หน้าตักกว้างประมาณ 60 นิ้ว สูง 3 ศอกคืบ มีพระพักตร์กลมอิ่มยิ้ม พระอังสะและพระอุระใหญ่กว้างและผึ่งผายสง่างาม พระเพลาเป็นแบบสมาธิธรรมดา พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้าย พระพุทธลักษณะได้สัดส่วน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างและผู้สร้าง แต่สันนิษฐานตามพุทธลักษณะ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณ มีอายุยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ย้อนกลับไป เมื่อครั้งที่วัดสร้างเสร็จ พระมหาแจ่ม วรรณวงศ์ ได้เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยพระอาจารย์บุนนาค ซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสสมัยนั้น ได้จัดกองผ้าป่าไปทอดยังวัดเชิงเลน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเสร็จพิธี คณะผ้าป่าก็ได้เอ่ยปากขอพระพุทธรูป เพื่อจะนำมาเป็นพระประธานในอุโบสถที่วัดเพิ่งสร้างเสร็จ เจ้าอาวาสวัดเชิงเลนท่านก็ไม่ขัดข้อง ซึ่งคณะผ้าป่าได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษ ฐานที่วัดปราสาทสิทธิ์ เมื่อขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปี 2499 โดยตอนนั้นหลวงพ่อมีองค์ชำรุดที่บริเวณพระอังสะและพระเพลา คณะกรรมการวัดจึงได้ช่วยกันนำไปปฏิสังขรณ์ให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด เมื่อบูรณะเสร็จแล้ว พระมหาแจ่ม และพระอาจารย์บุนนาค เห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาว ต.ประสาทสิทธิ์ และตำบลใกล้เคียง จึงขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์" ตั้งแต่นั้นมา ทุกวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 หรือช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นวันที่ได้อัญเชิญหลวงพ่อไตรรัตน์ฯ มาประดิษฐานที่วัดปราสาทสิทธิ์ ชาวบ้านได้ร่วมใจกันจัดประเพณีแห่พระทางน้ำเชิงอนุรักษ์ โดยได้นำองค์จำลองหลวงพ่อไตรรัตน์ฯ ขนาดหน้าตัก 29 นิ้ว ประดิษฐานในขบวนเรือแห่ให้ประชาชนตลอดสองฝั่งคลองดำเนิน สะดวก ระยะทาง 32 กิโลเมตร ได้ตั้งโต๊ะสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล การเดินทางมา สักการะหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ สามารถเดินทางจากถนนพระราม 2 ผ่านทางวัดเกตุมดีฯ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เข้ามายัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพียง 60 กิโลเมตร

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด
คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ วิจิตรา เนตรอุบล




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล