พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
พระพุทธรูป พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับหลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จ.เพชรบูรณ์ ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ เพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา" สันนิษฐานว่า พระพุทธมหาธรรมราชา สร้างในราวปี พ.ศ.1600 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ในระหว่างที่สร้างนั้นก็ได้นิมนต์พระภิกษุที่เป็นพระเกจิอาจารย์มาปลุกเสกด้วย และยังมีเรื่องเล่ากันว่าพระเกจิอาจารย์บางรูปสามารถรู้ภาษาสัตว์ได้ หลังจากสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองสมโภช 9 คืน 9 วัน ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชสมบัติต่อจากกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาให้กับพ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี นอกจากนี้ ยังได้มอบพระราชธิดา พระนามว่า นางสุขรมหาเทวี และพระราชโอรสพระนามว่า กมรเตงอัญศรีทราทิตย์ หรือ ศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว ได้กอบกู้กรุงสุโขทัยคืนจากขอมสมาดโขลญได้แล้วพ่อขุนผาเมือง จึงได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย ทำให้นางสุขรมหาเทวีไม่พอพระทัย จึงได้โยน พระพุทธมหาธรรมราชา ลงแม่น้ำป่าสัก และพระนางก็ได้กระโดดน้ำตาย เวลาผ่านไป ได้มีชาวประมงได้ไปหาปลาเวียงแห แต่แล้วก็ได้พระพุทธมหาธรรมราชา สถานที่พบนั้น คือ วัดโบสถ์ชนะมาร (ซึ่งวัดโบสถ์ชนะมารในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้าง) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์ คิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงช่วยกันนำขึ้นมาจากแม่น้ำป่าสัก หลังจากนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย ปรากฏว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ได้หายไปจากวัดไตรภูมิ ทำให้เจ้าอาวาส พระลูกวัด และชาวบ้านต่างพากันค้นหา ในที่สุดก็พบ พระพุทธมหาธรรมราชา ดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณที่พบครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชา ลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด จนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงทุกวันนี้ ชาวเมืองเพชรบูรณ์ มีความเชื่อว่า ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จะทำให้ข้าวกล้าในท้องนา พืชผลทางการเกษตร เจริญงอกงาม ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จนกลายเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อใน การอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ ผู้ที่อัญเชิญจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยตำแหน่งดังกล่าว เทียบได้กับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุดในเมือง ความเสียสละของผู้เป็นใหญ่ ในนครที่มีความห่วงใยในทุกข์สุขของราษฎรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ จะให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าเมืองอัญเชิญไปดำน้ำแทนไม่ได้ หากปีใดไม่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไปดำน้ำ ชาวเพชรบูรณ์ เชื่อกันว่าปีนั้นบ้านเมืองจะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปด้วย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ยังสะท้อนให้เห็นความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวเพชรบูรณ์ ที่ต้องการสืบทอดและรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันนี้ไว้ อย่างทรงคุณค่าตลอดกาลนาน ปัจจุบัน พระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ ประดิษฐานในมณฑปวัดไตรภูมิ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เฉพาะในช่วงเทศกาลสารทไทยของทุกปี ที่จะถูกอัญเชิญไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ส่วนวันปกติประดิษฐานไว้ในมณฑป เพื่อให้ประชาชนได้บูชาสัก การะอธิษฐานจิตขอพร ปรากฏเป็นที่เลื่องลือว่า ใครได้มากราบไหว้บูชาพระพุทธมหาธรรมราชา จะเกิดความสบายใจ ประสบความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (151564) | |
สาธุๆๆๆๆๆ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น นน วันที่ตอบ 2013-02-27 18:56:07 |
[1] |