เสนอเทียบ เปรียญธรรม 9
ประโยคเทียบเท่าระดับปริญญาเอก
การศึกษาของคณะสงฆ์ แบ่งเป็นแผนกธรรม บาลี
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย
ระดับมหาวิทยาลัย
มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
สังกัดคณะธรรมยุต
ปัจจุบันทั้ง 2 แห่ง มีวิทยาเขตตามจังหวัดใหญ่ๆ
ทั่วประเทศ
สำหรับแผนกธรรม แบ่งเป็นนักธรรมชั้นตรี โท
และเอก
เป็นหลักสูตรเบื้องต้นสำหรับพระภิกษุ-สามเณร ก่อนจะเรียนในแผนกบาลี
ใช้เวลาศึกษา 3 ปี
ในส่วนของแผนกบาลีนั้น แบ่งเป็นประโยค 1-2
ไปจนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค ใช้เวลาศึกษา 8 ปี ถือเป็นการศึกษาระบบเก่าของคณะสงฆ์
แต่ก่อนใช้วิธีสอบแบบปากเปล่า ต่อมาใช้ระบบข้อเขียน
ผู้สอบได้ตั้งแต่เปรียญ
3 ประโยคขึ้นไป ถ้าเป็นพระก็จะมีคำนำหน้านามว่า
"พระมหา"
สำหรับสามเณรก็จะเรียกสามเณรเปรียญ
การเรียนการสอนภาษาบาลี
มีระบบเฉพาะของตัวเอง เคร่งครัด เต็มไปด้วยแบบแผน
ผู้ศึกษาแต่ละคน
จึงมีวิธีการของตัวเอง อดทน เพียรพยายามอย่างมาก
เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือต้องจบเปรียญ 9
ให้ได้
ในแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจบเปรียญ 9 น้อยมาก
เมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าสอบ
มีพระสงฆ์เปรียญ 8 บางรูป เพียรสอบเปรียญ 9
ซ้ำๆ ไม่น้อยกว่า 10 ปี
แต่สอบไม่ผ่าน
เมื่อหมดความอุตสาหะก็ขออยู่แค่เปรียญ 8
สำหรับสามเณรหากสอบสำเร็จเปรียญ 9 ประโยค ก็จะได้รับพระบรมราชานุเคราะห์
เป็นนาคหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานอุปสมบทให้
เมื่อครั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
และนายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กองพุทธศาสนศึกษา
ได้เตรียมเสนอร่างพ.ร.บ.การศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา
ปรับเกณฑ์เปรียบเทียบระดับการศึกษาใหม่ เท่าที่วางคร่าวๆ
ในส่วนของผู้ที่สำเร็จการศึกษาภาษาบาลีนั้น
ผู้สำเร็จเปรียญธรรม 3 ประโยค
เทียบเท่าม.ปลาย
จบเปรียญธรรม 6 ประโยค
เทียบเท่าปริญญาตรี
เปรียญธรรม 8 ประโยค เทียบเท่าปริญญาโท
สำหรับ
เปรียญธรรม 9 ประโยคเทียบเท่าระดับปริญญาเอก
แต่ก็แท้งเสียก่อน
เพราะนายสมัครถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ศาลาวัด