พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระเครื่องชุดเล็กยอดนิยม พระเบญจภาคีชุดเล็ก ![]() ![]() พระเครื่องเบญจภาคีชุดเล็ก ในวงการพระเครื่อง เราจะเรียกพระเครื่องโบราณ ที่มีขนาดเล็กว่า "พระชุดเล็ก" โดยทั่วไปมักแบ่งเป็นสองประเภทคือ ชุดพระคณาจารย์ กับ ชุดพระกรุ ขณะเดียวกัน พระชุดเล็ก ยังหมายถึง พระที่มีราคาไม่แพง แต่มีพุทธคุณไม่แพ้พระชุดใหญ่ ทั้งนี้พระชุดเล็กที่รู้จักกันมากที่สุด คือ พระเบญจภาคีชุดเล็ก ประกอบด้วย ๑. พระสมเด็จปิลันทน์ นำมาบูชาแทน พระสมเด็จ วัดระฆัง ๒. พระคง ลำพูน นำมาบูชาแทน พระรอด ลำพูน ๓.พระนางพญา กรุวัดโพธิ์ (กรุโรงทอ) นำมาบูชาแทน พระนางพญา กรุวัดนางพญา ๔.พระนางกำแพงกลีบบัว นำมาบูชาแทน พระกำแพงซุ้มกอ กรุทุ่งเศรษฐี และ ๕.พระถ้ำเสือ อ.อู่ทอง นำมาบูชาแทนพระผงสุพรรณ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ พระเครื่องชุดเล็ก จะมีพุทธคุณสูงและสูงด้วยค่านิยม รวมทั้งเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง การจะได้เห็นองค์จริงจึงเป็นเรื่องยาก ขณะเดียวกันแม้กระทั่งการจัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติการจัดสร้าง รวมทั้งภาพพระชุดเล็ก ก็ไม่เคยมีในวงการพระเครื่อง ด้วยเหตุนี้ ในงานจัดนิทรรศการการประกวด การอนุรักษ์ พระเครื่อง พระบูชาและเหรียญคณาจารย์ ของ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะจัดขึ้นใน วันอาทิตย์ ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารหอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย เรืองสรรงามสิริ อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และประธาน ชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ เจ้าของฉายา "ตี๋เหล้า ท่าพระจันทร์" ได้รวบรวมและจัดพิมพ์หนังสือ "พระชุดเล็กยอดนิยม” เพื่อเป็นรางวัลชนะเลิศสำหรับพระแต่ละรายการ ตี๋เหล้า บอกว่า ในอดีตยังไม่เคยมีการจัดทำหนังสือพระชุดเล็กยอดนิยมมาก่อน จึงได้รวบรวมพระชุดเล็กที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน พระทุกองค์จะประกอบไปด้วยภาพแสดงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ที่สำคัญจะมีขนาดเท่าองค์จริงประกอบอยู่ด้วย ทั้งนี้ในการสร้างพระบางองค์ ถือเป็นงานช่างที่มีความละเอียดอ่อนในการทำ เช่น พระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์ฯ พระปิดตา วัดหนัง และพระปิดตา วัดทอง ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นจากช่างหลวงที่มีฝีมือประณีตในยุคนั้นๆ สามารถบ่งบอกถึงสกุลช่างในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี พระชุดเล็กยอดนิยม ที่ขึ้นชื่อว่าแพงอยู่ในหลักหลายๆ แสนถึงหลักล้าน เช่น พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก พระปรก วัดท้ายตลาด สภาพสวยสมบูรณ์ราคาถึงหลักล้านบาท พระชัยกะไหล่ทอง วัดสุทัศน์ฯ สภาพสวยสมบูรณ์ราคาหลายๆ แสนถึงหลักล้านบาท พระปรกมะขามเฒ่า ออกที่วัดอนงค์ ปี ๒๔๖๑ สภาพสวยสมบูรณ์ราคาหลายๆ แสน ส่วนพระชัยกะไหล่ทอง วัดสุทัศน์ฯ จัดสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นั้น บางตระกูลที่แต่งสวยๆ แต่งด้วยฝีมือช่างหลวง เป็นงานศิลปะในการสร้าง ผนวกกับการสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระเหล่านี้เนื่องจากมีราคาแพง และหายาก รวมทั้งเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง ดังนั้น จึงมีไหลเวียนในตลาดพระเครื่องน้อยมาก โดยล่าสุดได้เช่า พระปรกท้ายตลาด พระปรกมาขามเฒ่า ประมาณ ๕-๖ แสน บาท/องค์ หลังจากนั้นก็มีพรรคพวกแบ่งไปบ้าง "พระเครื่องชุดเล็ก ทุกรุ่นมีปลอมหมด ฝีมือดีบ้างไม่ดีบ้าง ปนกันไป ที่เก๊เรียกว่าฝีมือจัดจ้าน ต้องยกให้ พระปรกวัดท้ายตลาด ส่วนที่มีอายุการจัดสร้างน้อยที่ และเป็นที่นิยมมากที่สุด น่าจะเป็น พระผงของขวัญ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รุ่นแรก ที่มีเคลือบ สภาพสวยสมบูรณ์ ค่านิยมอาจจะสูงถึง ๕-๖ แสนบาท ในขณะที่พระที่มีค่านิยมสูงสุดเป็น พระชัยก้น ๒ รู กะไหล่ทอง สร้างประมาณปี ๒๔๖๐ ปัจจุบันเป็นของ นายประชา ศรีวิญญูนนท์ หรือเฮีย เป่งย้ง ตลาดพลู นิยมถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้เล่นหรือแขวนพระชุดเล็กนั้น จะแขวนคราวละ ๙ องค์ หากจะพูดถึงว่า ๙ องค์ มีอะไรบ้าง ถ้าเรียงตามลำความนิยม จะมีพระปรกต่างๆ พระชัยต่างๆ" ตี๋เหล้า กล่าว สุดยอดแห่งพระกรุชุดเล็ก พระกรุที่มีขนาดเล็ก วงการพระมักเรียกขานว่า "พระพิจิตร" แม้ว่าพระบางองค์จะไม่ได้ขุดพบที่ จ.พิจิตร แต่ถ้าหากว่า องค์พระมีขนาดเล็ก วงการพระก็จะเรียกว่า พระพิจิตร นำหน้าเสมอ เพราะว่าในอดีต พระขนาดเล็กมักพบที่ จ.พิจิตร มาก่อน และมีจำนวนมากที่สุดอีกด้วย ส่วนพุทธคุณของพระเครื่องเมืองพิจิตร โดดเด่นมากทางด้านคงกระพันชาตรี ถึงกับมีการบันทึกไว้ในลิลิตตะเลงพ่ายว่า "กระทั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงอาราธนาพระเครื่องของเมืองพิจิตรติดพระองค์ เวลาออกศึกโดยตลอด โดยได้นำเอาไว้ที่พระมาลา" พระเครื่องเมืองพิจิตร มีมากมายหลายกรุ หลายพิมพ์ แต่มักมีขนาดเล็กพอๆ กัน พิมพ์ที่นิยมมากๆ เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ถือได้ว่า เป็นพระที่มีความนิยมสูงมากในบรรดาพระสกุลพิจิตรทั้งหมด มีลักษณะแบนๆ รีๆ ขนาดประมาณ ๑ ตารางเซนติเมตรเท่านั้น พบมากที่กรุวัดมหาธาตุ นอกจากนี้ยังพบที่กรุวัดท่าฉนวน วัดโพธิ์ประทับช้าง วัดท่าฬ่อ วัดหัวดง และ บริเวณเมืองพิจิตรเก่า อีกด้วย พระพิจิตรยอดโถ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่นิยมมากพอๆ กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แต่พบจำนวนน้อยกว่ามาก มีเรื่องเล่ากันว่า พระพิจิตรยอดโถ พบอยู่ในโถใบใหญ่ ใต้เนินดิน ใกล้พระอุโบสถของวัดมหาธาตุ จ.พิจิตร และพระพิมพ์นี้ยังปรากฏอยู่ในภาชนะคล้ายผอบบนยอดเจดีย์ของวัดอีกด้วย จึงได้ชื่อว่า พระพิจิตรยอดโถ พระพิจิตรหน้าวัง เป็นพระพิจิตรอีกแบบหนึ่งที่นิยมในวงการ มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมป่องข้าง มีองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย มีขอบสูงรอบองค์พระ พบมากเป็นเนื้อชินเงิน บริเวณที่พบคือ รอบวังโบราณ ในตัวเมืองเก่าจ.พิจิตร เลยเรียกกันต่อๆ มาว่า พระพิจิตรหน้าวัง ต่อมายังพบพระพิมพ์นี้อีก ที่กรุวัดมหาธาตุ และพบพระคล้ายพิมพ์นี้ที่บริเวณป้อมพระจุลฯ หน้าวัดภูเขาทอง แต่เป็นเนื้อดิน มีขนาดเล็กกว่า ในวงการพระเรียกว่า พระพิจิตรป้อม พระพิจิตรนาคกลาง เป็นพระที่นิยมมากที่สุดในบรรดาพระสกุลพิจิตรทั้งหมด แต่เป็นพระที่พบที่วัดนาคกลาง ซึ่งอยู่บริเวณกรมอู่ทหารเรือ เขตบางกอกใหญ่ ถนนอรุณอมรินทร์ ธนบุรี พระพิจิตรวัดนาคกลาง เป็นพระเนื้อชินเงิน องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย ในซุ้มหยักคล้ายทรงห้าเหลี่ยม พระองค์ที่ไม่ได้ผ่านการใช้จะปรากฏผิวปรอทให้เห็น องค์พระมีขนาดเล็กมาก กว้างเพียง ๐.๕-๐.๗ เซนติเมตรเท่านั้น กล่าวกันว่า นักสะสมพระเมืองพิจิตร ถ้าหากขาดพระพิจิตรนาคกลางแล้ว ถือว่ายังขาดหัวใจหลักสำคัญของ พระชุดพิจิตร เลยทีเดียว เรื่อง - ภาพ.. "ไตรเทพ ไกรงู" |