พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
เหรียญที่ระลึก (Medal) ![]() ![]() เหรียญปราบฮ่อ ร.5 เหรียญที่ระลึกยอดนิยม เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ในขณะที่ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ ๒ ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา
![]() การจัดสร้างเหรียญที่ระลึก ขึ้นเป็นครั้งแรก ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยพระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่คนไทยรู้จักกันดีว่า "เหรียญแต้เม้งทงป้อ" ซึ่งมีทั้งเหรียญเงินและเหรียญทอง เหตุที่เรียกเหรียญนี้ว่า "แต้เม้งทงป้อ" ซึ่งก็คือพระนามของรัชกาลที่ ๔ ที่เป็นภาษาจีนนั่นเอง สาเหตุที่แซ่แต้ เข้าใจว่าสืบเนื่องมาจากสมัยพระเจ้าตากสิน พระองค์ท่านแซ่แต้ ในปัจจุบันถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาสูงมากซึ่งอาจสูงสุดในบรรดา เหรียญกษาปณ์ต่างๆ ก็ว่าได้ ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงละทิ้งความเชื่อดังเดิมว่า "การจำลองรูปภาพบุคคลลงบนสิ่งใดจะไม่เป็นมงคลต่อชีวิต" ด้วยการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปของพระองค์ลงบนเหรียญที่ระลึกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ ตรงกับวโรกาสการเฉลิมพระชนมายุครบ ๑๗ พรรษา คือเหรียญ สพปมจ ๕ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบน เหรียญกษาปณ์ ขณะเดียวกันยังถือว่าเป็นการสร้างเหรียญที่ระลึกตามแบบสากลอีกด้วย เหรียญที่ระลึก อันเป็นที่นิยม รัชกาลที่ 5 เช่น เหรียญที่ระลึกในการครองราชย์ เหรียญที่ระลึก ในการฉลองพระสุพรรณบัฏให้แก่พระโอรส เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์และพระมเหสี นอกจากนี้ยังมีเหรียญที่สร้างขึ้นในพระราชพิธิที่สำคัญต่างๆ เช่น เหรียญที่ระลึกประชันอาวุธ เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ เหรียญประพาสยุโรป เหรียญราชรุจิ เหรียญสตพรรษมาลา หรือเหรียญ ๕ รัชกาล เหรียญที่ระลึกพระบรมศพ เหรียญ ร.๕ หลังช้างสามเศียร เหรียญทวีทาภิเษก ร.ศ.๑๑๗ เหรียญรัชมังคลาภิเษก ร.ศ.๑๒๗ เหรียญทรงม้า ในงานรัชมังคลาภิเษก ร.ศ.๑๒๗ เหรียญรัชมงคล ร.ศ.๑๒๖ เหรียญเสมอ ร.๒ ร.ศ.๑๒๒ และเหรียญหมู เนื้อเงินลงยา พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นต้น การจัดสร้าง เหรียญที่ระลึกในสมัย รัชกาลที่ 5 ถือว่าเป็นยุคทองของ การสร้างเหรียญที่ระลึก นอกจากมีการนำพระบรมรูปมาเป็นแบบบนเหรียญแล้ว ยังมีการออกแบบเหรียญในรูปทรงต่างๆ ทั้งทรงกลม เหลี่ยม ดาว อีกด้วยและด้วยเหตุที่ในยุคนี้ได้มีการเปลี่ยแปลงของบ้านเมืองอย่างมากมายทำให้
เหรียญที่ระลึก ที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นที่แสวงหาของนักสะสมเป็นอย่างยิ่ง กรณีการจัดสร้าง เหรียญประพาสยุโรป มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ คือ การเสด็จฯ ประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ ถือว่าเป็นเหรียญแห่งการรักษาอธิปไตยของชาติ ในการเสด็จฯ ประพาสยุโรปในครั้งแรกซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๐ นั้น กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเกรงประชาชนจะเข้าใจผิดว่า พระองค์ทรงไม่ใส่ใจกับการพัฒนาบริหารประเทศ เอาแต่เที่ยวสนุกสนาน พระองค์ถึงกับทรงกล่าวปฏิญาณต่อหน้าพระสงฆ์ หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าสาบาน โดบบางส่วนของคำปฏิญาณต่อหน้าพระสงฆ์ คือ "... ข้าพเจ้าของปฏิญาณตนเฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่นี้ว่า การที่ข้าพเจ้าคิดจะไปยุโรปในครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักร และด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าตั้งใจจะรักษาตนให้สมควรแก่เป็นเจ้าของประชาชนทั้งปวง จะรักษาเกียรติยศแห่งราชอาณาจักรอันเป็นเอกราชนครนี้ จนสุดกำลังที่ข้าพเจ้าจะป้องกันได้..." ในการจัดสร้างเหรียญครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ๔ แบบ คือ ๑.เหรียญที่ระลึกในการเสด็จฯ ประพาสยุโรป มี ๔ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงินกะไหล่ทอง เนื้อเงิน และเนื้อบรอนซ์ ๒.เหรียญประพาสมาลา มีลักษณะเหมือนเหรียญที่ระลึกในการเสด็จฯ ประพาสยุโรปทุกอย่าง แต่แตกต่างกันตรงที่มีหว่งติดแถบ ๓.เหรียญย่อมีลักษณะเหมือนเหรียญที่ระลึกในการเสด็จฯ ประพาสยุโรปทุกอย่าง แต่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง ๑๗ มม.เท่านั้น และ ๔.มีลักษณะเหมือนเหรียญที่ระลึกในการเสด็จฯ ประพาสยุโรปทุกอย่าง แต่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง ๒๕ ซม. มีทั้งเนื้อเงินและเนื้อทองคำ ส่วนอีกเหรียญหนึ่งที่แปลกจากเหรียญอื่นๆ คือ เหรียญทวีทาภิเษก ร.ศ.๑๑๗ มีลักษณะเป็นรูปดาว ๕ แฉก ด้านบนมีห่วงขวางและมีห่วงร้อย การจัดสร้างเหรียญนี้จัดสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบ ๓๐ ปี (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๑) ซึ่งเป็นการครองสิริราชสมบัติที่มีระยะเวลายาวนานเป็น ๒ เท่าของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ (ครองสิริราชสมบัติเป็นเวลา ๑๕ ปี) โดยจัดสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพานและผู้ที่สร้างคุณงามความดี ต่อแผ่นดิน นอกจากนี้แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงมาตราเงินตราไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง และเฟื้อง เป็นระบบโดยใช้หน่วยเป็นบาทและสตางค์ คือ ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๑ อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ สำหรับผู้ที่ สะสมเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก นอกจากรู้ลักษณะของเหรียญว่าเก๊แท้เป็นอย่างไรแล้ว รวมทั้งค่านิยมของวงการเช่าซื้อแล้ว สิ่งที่น่าศึกษาไม่น้อยกว่ากัน คือ ประวัติศาสตร์ในการสร้างเหรียญแต่ละรุ่นล้วนมีประวัติศาสตร์น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะ เหรียญที่ระลึก ที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ นอกจากเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวในอดีตอีกด้วย ข่าวพระเครื่อง ที่มาหนังสือพิมพ์คมชัดลึก |