พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ล็อกเก็ต "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พิมพ์หน้าหนุ่ม ![]() ล็อกเก็ตครูบาศรีวิชัย พิมพ์หน้าหนุ่ม ยอดนิยม
ล็อกเก็ตครูบาศรีวิชัย พิมพ์หน้าหนุ่ม ยอดนิยม ถ้าจะว่ากันถึงราคาแล้ว เหรียญเงินลงยา แจกกรรมการ ๒๔๘๒ แพงที่สุด เพราะสร้างจำนวนน้อย และเป็นวัฒนธรรมความเชื่อของคนล้านนา ที่นิยมสร้างเหรียญรูปเหมือน รูปหล่อ พระเกศา ฯลฯ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หรือแม้กระทั่งรูปถ่ายของท่าน สมัยยังมีชีวิตอยู่ ก็มีราคาสูงถึงหลักหมื่นขึ้นไป ในปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านครูบาฯ ที่สร้างรุ่นเก่า ก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ ล้วนได้รับความนิยมทุกชนิด มาถึงวันนี้ นักสะสมพระรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญของอายุสมัยการสร้างมากขึ้น อย่าง เหรียญรุ่นวัดบ้านปาง หลังยันต์ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ทันครูบาฯราคาจะทะลุหลักแสนแน่ๆ เพราะความนิยมของนักสะสม มุ่งไปที่ เหรียญเป็น คือ เหรียญที่สร้างและปลุกเสกในช่วงที่พระเกจิอาจารย์ท่านนั้น ยังมีชีวิตอยู่ มากกว่า เหรียญตาย หมายถึงเหรียญที่สร้างภายหลังจากพระเกจิอาจารย์ท่านนั้นมรณภาพแล้ว ยกตัวอย่าง เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการามเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังเหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อมเหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯลฯ ล้วนได้รับความนิยมในหลักแสน หลักล้าน ทั้งสิ้น เพราะเป็นเหรียญมีประวัติการสร้างชัดเจน ระบุปี พ.ศ.ที่สร้างไว้บนเหรียญครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
![]() จากหลักฐานประวัติคำบอกเล่าต่างๆ ยังไม่ปรากฏว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านได้สร้างวัตถุมงคลด้วยตัวของท่านเลย คงมีเฉพาะลูกศิษย์ของท่านที่สร้างขึ้นมา แล้วแจกจ่ายกันในกลุ่มลูกศิษย์ด้วยกันเอง เป็นที่น่าสังเกตว่า สมัยที่ท่านครูบาฯยังมีมีชีวิตอยู่ มีการถ่ายภาพของท่านไว้ค่อนข้างมาก และภาพถ่ายของท่านก็สามารถอ้างอิงได้ว่า ถ่ายจากวัดไหน ปี พ.ศ.อะไร สมัยก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ การถ่ายรูปเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เริ่มแพร่หลายจากเมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร มายังหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เปิดร้านถ่ายรูปในเชียงใหม่ อย่าง ห้างยากี่ ญี่ปุ่น หน้าวัดอุปคุต นายเอ็ม ทานากะ และ ร้านเต็กหมัน ก็ได้บันทึกภาพครูบาฯไว้ สามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ ทั้งสถานที่ถ่าย และปี พ.ศ.
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเหรียญ หรือ ล็อกเกตของท่านครูบาฯ ทำให้เราทราบว่า ต้นแบบของเหรียญนั้น นำมาจากภาพถ่ายใด อย่างเช่น ล็อกเกตครูบาฯ พิมพ์หน้าหนุ่ม น่าจะเป็นภาพเดียวกันกับภาพถ่ายของท่านที่ วัดศรีดอนไชย ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๔ ส่วนเหรียญปี ๒๔๘๒ เป็นภาพที่ถ่ายภายหลัง เพราะท่านดูมีอายุมากขึ้นแล้ว ความนิยมรูปของครูบาฯมีมาก และแพร่หลาย หลายสิบปีก่อน รูปถ่ายท่านครูบาฯ จะพบเห็นบ่อยมาก ตามหมู่บ้านต่างๆ ในบริเวณเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน แสดงถึงความศรัทธาของคนในท้องถิ่น ที่มีต่อท่านครูบาฯ เป็นอย่างดี แม้กระทั่ง รูปถ่ายขนาดเล็ก ติดกระจกเลี่ยมทองแดง ที่เคยพบเห็นมา ก็มีความเก่าหลายสิบปีส่วน ล็อกเกต นั้นเข้าใจว่า พัฒนามาจากรูปถ่ายขนาดเล็ก เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้สวยงาม และเก็บรักษาได้ง่าย
ล็อกเก็ตครูบาเจ้าศรีวิชัย มี ๒ แบบ คือ ๑.ล็อกเกต พิมพ์หน้าหนุ่ม ทำจากภาพถ่าย ขณะที่ท่านยังหนุ่มอยู่ เปรียบเทียบกับภาพถ่ายรุ่นเก่าของครูบาแล้ว น่าจะทำจากภาพถ่ายของครูบาฯที่วัดศรีดอนไชย ถ่ายโดย เอ็ม ทานากะ ชาวญี่ปุ่น ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๔ ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๔๓ ปี ล็อกเกต รุ่นนี้ทำได้เรียบร้อยสวยงาม ความนิยมอยู่ที่หลักแสนขึ้นไป ๒.ล็อกเก็ต รุ่น "เต็กหมัน" ในภาพมีรายละเอียดระบุไว้เลยว่า พระศรีวิไชย ถ่ายโดย เต็กหมัน อย่างนี้ไร้ข้อถกเถียง ทำจากภาพครูบาฯ ที่ถ่ายโดยเต็กหมัน ความสวยงาม ประณีต ในการทำน้อยกว่า พิมพ์หน้าหนุ่ม ความนิยมก็เลยเป็นรอง
เทคนิคการสร้างล็อกเกต และ เข็มกลัด ความหมายของ ล็อกเกต คือ ของที่ใช้ห้อยคอ ติดตัวได้ส่วน ล็อกเกตครูบาศรวิชัย ความจริงแล้วเป็น เข็มกลัด ใช้กลัดติดอกเสื้อ เพราะด้านหลังมีเข็มกลัดอยู่ ทำมาจากรูปถ่าย วิธีการทำก็ใช้ฟิล์มภาพถ่ายอัดรูปขนาดเล็กตามต้องการ ตัดรูปถ่ายให้เป็นรูปไข่ เข้าใจว่าใช้วิธีการเดียวกับ การปั๊มกระดุมเสื้อ ของสตรีสมัยก่อน เพราะด้านหลังกระดุมเป็นแผ่นโลหะเหมือนกัน สมัยนั้นต้องส่งไปทำที่กรุงเทพฯ ทางเชียงใหม่ยังไม่มีเครื่องจักรที่ใช้ปั๊มแบบนี้ ส่วนแผ่นโลหะด้านหลัง เป็นแผ่นเหล็กชุบกันสนิม แต่เมื่อถูกสัมผัสใช้ไปนานๆ ก็ยังมีสนิมเกาะอยู่บ้าง ซึ่งจะเห็นแทบทุกองค์ อย่าง เหรียญครูบาฯ กรรมการลงยา ปี ๒๔๘๒ นั้น เป็นการปั๊มเหรียญออกมาก่อน แล้วมาลงยาทีหลัง สีที่ใช้ลงยาเป็นผลึกแก้วสีชนิดหนึ่ง นำมาบดให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำ แล้วป้ายลงไปบนส่วนที่ต้องการให้เป็นสี จากนั้นใช้ไฟเผาให้ละลาย จุดหลอมเหลวของผลึกแก้วสีจะละลายก่อนโลหะ เสร็จแล้วก็ขัดแต่งสีให้สวยงาม ไม่เลอะ ล็อกเกตรูปเหมือนสมัยใหม่ในปัจจุบันนี้ ในเมืองไทยน่าจะทำได้ ประมาณหลัง พ.ศ.๒๔๙๐ ลงมา
ล็อกเกตท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์หน้าหนุ่ม สร้างทันสมัยครูบาหรือไม่? มีพยานบุคคลที่เชื่อถือได้ ยืนยันอยู่ ๒ คน คือ ๑.คุณธานี สุวรรณธนาทิพย์ บุตรชาย เถ้าแก่โหงว ร้านทอง เตียวเม่งไถ่ ติดตลาดวโรรส (ก่อนไฟไหม้ตลาดครั้งใหญ่ พ.ศ.๒๕๑๑) เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ยืนยันว่า คุณพ่อ (เถ้าแก่โหงว) ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากท่านครูบาฯ เป็นผู้สร้างล็อกเกตท่านครูบาฯ โดยสั่งทำจากกรุงเทพฯ สมัยที่ท่านครูบายังมีชีวิตอยู่ คุณธานีเป็นผู้หนึ่งที่มีล็อกเกตท่านครูบาฯ หลายสิบอัน โดยได้รับเป็นมรดกตกทอดจากเถ้าแก่โหงว ๒.คุณธานี บุนนาค หลาน หลวงศรีประกาศ อดีตข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า สมัยเป็นเด็กนักเรียน ม.ต้น เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน คุณตา (หลวงศรีประกาศ) ได้รับล็อกเกตจากมือท่านครูบาฯ มาโดยตรง เมื่อพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแล้ว น่าเชื่อถือ เพราะสมัยนั้น พ.ศ.๒๕๑๐ กว่า เหรียญท่านครูบา ๒๔๘๒ ยังเช่ากันไม่กี่ร้อยบาท ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่าง เหรียญ ปี ๒๔๘๒ กับ ล็อกเกตหน้าหนุ่ม แล้วราคาสูสีกัน มีดีคนละอย่าง เหรียญปี ๒๔๘๒ แม้จะเป็น เหรียญตาย แต่พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ ที่วัดราชบพิธฯ พร้อมกับ เหรียญชินวรสิริวัฒน์ ส่วน ล็อกเกตท่านครูบาฯ น่าจะเป็น เหรียญเป็น เพราะสร้างทันสมัยท่านและหายากกว่า ทั้งหมดนี้ หากต้องการละเอียดมากกว่านี้ เปิดดูได้ที่ www.pralanna.com แหล่งรวมข้อมูลพระเมืองเหนือทั้งหมด
ที่มาหนังสือพิมพ์คมชัดลึก "น้อย ไอยรา / เชียงใหม่" |
ข่าวพระเครื่อง ข่าววงการพระเครื่อง มีข่าวมาบอก