พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ยันต์รูปพระพุทธ ![]() ภาพจากหนังสือชุด "รามเกียรติ์" ถือเป็นภาพต้นแบบที่พระเกจิคณาจารย์ยุคเก่าและปัจจุบัน นำมาใช้เขียนยันต์มากที่สุด ตัวละครที่สำคัญๆ เช่น หนุมาน พระพรหม นางสุวรรณมัจฉา พระอินทร์ พระราม (พระนารายณ์) รวมทั้งยักษ์วิรุฬจำบัง ล้วนถูกนำมาใช้ในการเขียนยันต์ทั้งสิ้น โดยมีคติความเชื่อว่า ภาพนั้นจะมีพุทธคุณโดดเด่นเช่นเดียวกับตัวละคร นอกจากนี้แล้ว ลักษณะการเขียนยันต์ มีหลายแบบต่างๆ และความหมายของยันต์แต่ละแบบก็แตกต่างกัน เช่น ยันต์กลม มีความหมายว่า เป็นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ยันต์สามเหลี่ยม มีความหมายว่า เป็นพระรัตนตรัย ยันต์สี่เหลี่ยม มีความหมายว่า เป็นทวีปทั้งสี่ หรือธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ยันต์รูปภาพ มีทั้งรูปภาพ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ ส่วนความหมายก็อยู่ในตัวของรูปภาพนั้นๆ เช่น หนุมาน มีคติความเชื่อว่า อยู่ยงคงกระพัน และเมตตามหานิยม จะพบในพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า ทุกสำนัก เช่น ผ้ายันต์หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา หนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ผ้ายันต์หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ผ้ายันต์หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม รวมทั้งหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม เป็นต้น ยักษ์วิรุฬจำบัง ที่ถูกนำมาเขียนลงบนผ้ายันต์อันเลื่องชื่อ ต้องยกให้ผ้ายันต์ของหลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม ส่วนรูปพระพรหมก็ถูกนำมาใช้ทุกสำนัก โดยมีคติความเชื่อว่า มีพุทธคุณด้านค้าขาย โชคลาภ เมตตามหานิยม ในขณะที่นางสุวรรณมัจฉา ก็ถูกนำมาเขียนเป็นยันต์เช่นกัน โดยมีคติความเชื่อว่า มีพุทธคุณด้านเมตตา ค้าขาย นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์ที่ขึ้นชื่อว่า มหาอำนาจ เช่น ช้าง ราชสีห์ หรือสิงโต เสือ จระเข้ พญายูงทอง พญาเต่าเรือน งู มังกร จิ้งจก ปลาไหล และนกคุ้ม ยันต์รูปพระพุทธ คือ ยันต์พระพุทธนิมิตร ในจำนวนรูปภาพที่นำมาเขียนเป็นยันต์ทั้งหมด ยันต์ที่ขึ้นชื่อที่สุดและถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือ ยันต์พระพุทธนิมิตร เป็นยันต์ที่เขียนเป็นรูปองค์พระทั้งองค์ แล้วลงด้วยคาถาพุทธคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ และเรียกสูตรด้วย อิติปิโสรัตนมาลา เสกด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมทั้ง คาถาพระพุทธนิมิตร สำหรับ ผ้ายันต์พระพุทธ ที่จะยกมาเป็นตัวอย่างการอธิบาย คือ ผ้ายันต์หน้าพระ ของ หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ วัดตะเคียน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โดยท่านได้ทำผ้ายันต์ไว้เมื่อกว่า ๑๐ ปีที่แล้ว ทั้งนี้ได้ทำเป็นรูปเฉพาะส่วนที่เป็นพระพักตร์เท่านั้น หรืออาจจะเรียกว่า “ยันต์หน้าพระ” ก็ได้ แม้ว่าจะมียันต์เพียงไม่กี่ตัว แต่ถือเป็นการรวมสุดยอดแห่งยันต์เอาไว้ โดยมีอักขระเลขยันต์ที่น่าสนใจดังนี้ คือ ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ นะ โม พุท ธา ยะ โดยตำแหน่งของแต่ละตัว คือ นะ (หูขวาของพระพุทธรูป) โม (หูซ้ายของพระพุทธรูป) พุท (ตรงเศียร) ธา (หน้าฝาก) ยะ (ปาก) คาถาบทนี้คือ คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ นั่นเอง ซึ่งถือเป็นสุดยอดพระคาถาที่โบราณาจารย์ทุกสำนักใช้ โดยมีการเรียกสูตร ดังนี้ นะกาโรโหติสัมพโว พระกุกกุสันโท จงบังเกิดเป็นตัวนะ โมกาโรโหติสัมพโวพระโคนาคม จงบังเกิดเป็นตัวโม พุทธากาโรโหติสัมพโวพระกัสสปะ จงบังเกิดเป็นตัวพุท ธากาโรโหติสัมพโว พระศรีศากยมุณี (บางครั้งอาจจะเรียกว่าสิริศากยมุนี) จงบังเกิดเป็นตัวธา ยะกาโรโหติสัมพโว พระอริยะเมเตโย (พระอริยเมตตรัย) จงมาบังเกิดเป็นตัวยะ ยันต์บริเวณคอ (เหนือเส้น) คือ ยันต์ธาตุ ๔ คือ นะ (น้ำ) มะ (ดิน) พะ (ไฟ) ทะ (ลม) แต่เรามักจะพูดติดปากว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ มีคติความเชื่อว่ามีพุทธคุณเด่นทางคงกระพัน ทั้งนี้ต้องเขียนควงเป็น ๔ บท สลับกัน ยันต์ใต้คาง คือ ยันต์หัวใจพระตรัยปิฎก คือ มะ อะ อุ ซึ่งเป็นตัวย่อมาจาก อาปามะจุปะ (พระวินัยปิฎก) อะทีมะสังอังขุ (พระสุตันตะปิฎก) สังวิทาปุกะยะปะ (หัวใจพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์) รวมแล้วเรียกว่า หัวใจพระตรัยปิฎก ซึ่งมีอยู่ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยันต์ที่อยู่รอบนอกสุด (ที่เป็นรูปโค้งตามเศียร) คือ พุท โธ ซึ่งเป็นพระนามพระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ในขณะที่ยันต์ที่อยู่เหนือเศียรพระ คือ อุ ทั้งนี้หากจะเขียน ต้องเรียกสูตรว่า อุเมตตา สัพเสน่หา นะระปูชิโต ตรีอักขระนิอัฒจันทัง (พระจันทร์ครึ่งซีก) เสวะสุริยะราชิโน (วงกลมแทนพระอาทิตย์) อุณาโลมมาพุทธะปะนะชะยเต อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (มงคล ๙) สัตถุโนพุทโธ ยันต์เขียนยาวติดกัน (ใต้ยันต์มหาเบา) เป็นคาถาพระพรหม อ่านว่า สัพเพชนา พหูชนา เอหิพรหมา จิตตังมานมามะมะ มีคติความเชื่อว่า ใช้เรียกคน เรียกทรัพย์ เรียกเงิน เรียกทอง ให้มามากๆ เฑาะว์รันโต ที่อยู่ ซ้ายขวา ยันต์มหาเบา การเขียนเฑาะว์รันโตตรามตำราของ หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม ให้เริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ ก่อน แล้ววางอารมณ์ทำใจให้เป็นสมาธิ แล้วภาวนาว่า “เฑาะว์รันโตศีละสมาธิ เฑาะว์รันโตตันตินะมัตถุโน เฑาะว์รันโตนะกัมมัถฐานัง เฑาะว์พุทธานมามิหัง” เฑาะว์ตัวนี้มีคติวามเชื่อว่า เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณเด่นด้านคงกระพัน ส่วน ยันต์มหาเบา ซึ่งเป็นยันต์เฉพาะตัวของหลวงปู่แย้มนั้น ไม่ว่าท่านจะสร้างวัตถุมงคลประเภทใด จะปรากฏยันต์ตัวนี้เสมอ ในผ้ายันต์ผืนนี้เช่นกัน คือ ยันต์ที่เขียนเป็นรูปวงกลม อยู่ในตำแหน่งใต้คอ โดยในวงกลมคือตัว "อัง" อย่างไรก็ตาม หากสังเกตการณ์ออกผ้ายันต์ ถังเรียกทรัพย์ ถุงเรียกทรัพย์ ของวัดและสำนักต่างๆ ในยุคปัจจุบัน ยันต์ที่ขาดไม่ได้ คือ หัวใจพระฉิม (หัวใจพระสิวลี) คือ นะ ชา ลี ติ โดยใช้คู่กับหัวใจพระพุทธเจ้าดำเนิน คือ ภควา ทั้งนี้จะเขียนว่า “ภควา นะชาลีติ” มีพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ นอกจากนี้แล้วบางสำนักจะหัวใจ อิติปิโส เพิ่มเข้าไป คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ อย่างไรก็ตาม ในอดีตการสร้างพระ ทั้งที่เป็นรูปหล่อลอย์องค์ และเหรียญ เป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะพระและวัดที่อยู่ตามต่างจังหวัด ดังนั้นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่ามักจะเขียนยันต์ลงบนแผ่นโลหะและผ้า มอบเป็นที่ระลึกให้แก่ญาติโยม ในงานบุญประเพณีของวัด โดยไม่มีการให้เช่าอย่างเช่นปัจจุบัน ภายหลังผู้นำไปใช้ได้รับประสบการณ์ความนิยมก็มีมาก ซึ่งปัจจุบันนี้มีวัดที่สร้างตะกรุดและผ้ายันต์แจกฟรี มีอยู่หลายวัด และที่ วัดตะเคียน นี้ก็เช่นกัน ในงานอาบน้ำเพ็ญในคืนวันลอยกระทงปีนี้ เวลา ๒๔.๐๐ น. ลูกศิษย์ได้จัดทำ ตะกรุดเดือนเพ็ญ จำนวน ๕๐๐ ดอก เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ที่ไปร่วมงานฟรี โดยหลวงปู่แย้มจะทำพิธีปลุกเสกในคืนดังกล่าว ผู้ที่ประสงค์ร่วมพิธี สอบถามรายละเอียด และเส้นทางได้ที่ โทร.๐-๒๕๙๕-๑๘๕๑, ๐๘-๑๙๒๑-๐๙๔๖ |