พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
คำกล่าวขอขมาพระแม่คงคา ในวันลอยกระทง
คำกล่าวขอขมาพระแม่คงคา ในวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่เก่าแก่และมีความสำคัญมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี จากหลักฐานในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธี 12 เดือน เราเรียกการลอยกระทงในสมัยสุโขทัยว่า การลอยพระประทีปหรือลอยโคม ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า การลอยพระประทีปกระทงนี้เป็นงานนักขัตฤกษ์ของประชาชนคนไทยทั่วไป ไม่เฉพาะเป็นแค่งานของทางราชการหรืองานพระราชพิธีเท่านั้น เพราะไม่ได้มีพิธีสงฆ์หรือพิธีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จากนั้นมีเรื่องเล่าต่อถึงประเพณีลอยกระทงที่ได้กล่าวไว้ในฤดูสิบสองเดือน ถึงเรื่องนางนพมาศ ซึ่งมียศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสนมเอกของพระร่วงพระเจ้าแผ่นดินสยาม (กรุงสุโขทัย) ว่าเมื่อเวลาเสด็จลงประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จด้วยในเรือพระที่นั่ง นางนพมาศจึงได้คิดประดิษฐ์กระทงถวายพระร่วง เป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหลแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือการลอยโคมในสมัยของนางนพมาศ ยังเป็นการกระทำเพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "แม่น้ำเนรพุทธา" ประเพณีลอยกระทง ที่สืบทอดต่อกันมา มีความเชื่อหลายประการ อาทิ เป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามหาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ การบูชารอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที หรือเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการลอยเพื่อส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล การระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว การลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ และการอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนา การลอยกระทงส่วนใหญ่นับแต่โบราณกาลมาจะประดิษฐ์จากวัสดุที่ทำขึ้นจาก ธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย ใบตอง และดอกบัว นำมาทำเป็นกระทงอย่างสวยงาม แล้วปักด้วยเครื่องสักการะบูชา ได้แก่ ธูป เทียน ดอกไม้ แล้วลอยกระทงในแม่น้ำอธิษฐานขอพรตามที่ตนปรารถนาพร้อมทั้ง ขมาพระแม่คงคา โดยจะมี บทสวดลอยกระทง คำบูชาสำหรับการลอยกระทง คาถาลอยกระทง คือ มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายัง นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง ปาทะวะลัญชัง อภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้นด้วยประทีปนี้ การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ แต่ในปัจจุบันประเพณีการลอยกระทงได้เกิดการเบี่ยงเบนไปจากเดิมมาก จะเห็นได้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย อาทิ การประกวดนางนพมาศ ที่มีการจัดขึ้นและให้ความสำคัญมากจนเกินไป จนกลายเป็นกิจกรรมหลักของประเพณี ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ใช่แก่นแท้ของประเพณีลอยกระทง แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่คิดเสริมขึ้นมาในภายหลัง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน รื่นเริงและดึงดูดนักท่องเที่ยว การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่น มีการเล่นกันอย่างคึกคะนอง ไม่ระมัดระวัง โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้คนทั่วไปและพาหนะที่สัญจรไปมา อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนได้ การประดิษฐ์กระทง สมัยก่อนจะใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ใบตอง หยวกกล้วย ที่ย่อยสลายง่าย ต่อมากลับนิยมใช้วัสดุโฟมที่ย่อยสลายยาก ทำให้แม่น้ำลำคลองสกปรกและเกิดมลภาวะเป็นพิษ จากเรื่องดังกล่าวจึงทำให้หน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษาต่างๆ เกิดการตื่นตัวและรณรงค์ ปลูกฝัง และสืบสานประเพณีการลอยกระทงและการประดิษฐ์กระทงที่ถูกต้องให้แก่เด็กและ เยาวชน เพื่อรักษาประเพณีการลอยกระทงที่ถูกต้อง เนื่องจากประเพณีการลอยกระทงถือเป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา กล่าวคือ ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทงแล้วนำไปลอยน้ำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อแม่น้ำที่ให้ ประโยชน์แก่เรา การสร้างความสามัคคีในชุมชน เช่น การร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน ความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง และช่วยกันทำนุบำรุงศาสนาโดยการทำบุญให้ทาน การปฏิบัติธรรมและฟังเทศน์ด้วย
สำหรับประเพณีการลอยกระทงในภาคต่างๆ ของไทยเรานั้น ทั้งภาคกลาง อีสาน เหนือ และใต้จะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี อาทิ มีการประกวดการประดิษฐ์กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่เน้นถึงการย่อยสลายได้ ง่ายตามธรรมชาติ เพราะเมื่อหลังจากลอยกระทงแล้ว วัสดุเหล่านั้นจะต้องไม่ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย โดยแยกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ความสวยงาม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่สอดแทรกการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมกันนี้ก็จะมีการประกวดนางนพมาศ การจัดให้มีมหรสพสมโภช การแสดงต่างๆ มีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ การลอยโคม และกิจกรรมที่สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ การจัดงานลอยกระทงในภาคเหนือและภาคอีสาน จะแตกต่างจากภาคอื่น เพราะไม่ได้จัดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งในภาคเหนือจะจัดงานประมาณเดือนสองหรือที่เรียกว่าเดือนยี่เป็ง เพราะจะนับเร็วกว่าปกติประมาณสองเดือน จะเป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุต ที่เชื่อว่าท่านได้บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ที่ท้องทะเลลึก หรือที่สะดือทะเลตามคติของชาวพม่า ซึ่งจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย และในอีกหลายจังหวัดทางภาคเหนือ แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือที่จังหวัดสุโขทัยจะเรียกว่าเทศกาลเผาเทียน เล่นไฟ โดยจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศไปร่วมงานอย่างคับคั่งเป็น ประจำทุกปี ส่วนการลอยกระทงทางภาคอีสาน เรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของทางภาคอีสาน และจัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม โดยมีการใช้วัสดุต่างๆ เช่น หยวกกล้วยมาตกแต่งเป็นรูปพญานาคหรือรูปอื่นๆ แล้วในเวลากลางคืนก็จะจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นภาพที่มีความสวยงามมาก ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวงานจำนวนมากวันสำคัญเป็นประจำทุกปี อาบน้ำมนต์จันทร์เพ็ญ ขึ้น15ค่ำเดือน12 และเนื่องในวันลอยกระทงที่จะเวียนมาถึงนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันสืบสานประเพณีลอยกระทงที่ถูกต้อง ด้วยการประดิษฐ์กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำลำคลอง พร้อมทั้งร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่ปล่อยสิ่งของ ปฏิกูลลงในแม่น้ำที่เราใช้สำหรับการอุปโภคและบริโภคอยู่เป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน พร้อมทั้งงดจุดพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่ควรจะลอยกระทงกันด้วยมิตรไมตรี เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีลอยกระทง คำบูชาสำหรับการลอยกระทง ลอยประทีป
ที่ถูกต้องต่อไปในอนาคต
คำกล่าวขอขมาพระแม่คงคา ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน
พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา
ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ
ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม
น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป
วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา
เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม
ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา
อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ.
พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศนเทพวราราม ที่มา: วัดสุทัศน์ ฯ 5 พย49
คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง อีกบทหนึ่งครับ ข้าขอยอกร ขึ้นตั้งหว่างศร |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (153780) | |
ขอบคุณมากๆครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ผม วันที่ตอบ 2014-11-07 09:15:06 |
ความคิดเห็นที่ 2 (158550) | |
good!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! | |
ผู้แสดงความคิดเห็น tipsuda วันที่ตอบ 2016-04-20 10:12:16 |
[1] |