พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
เหรียญปฏิทินอัจฉริยะ ![]() ![]() เนื่องใน "วันปิยมหาราช" ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ วันนี้...ผู้เขียนขอนำเรื่อง เหรียญ ร.๕ ที่น่าสนใจเหรียญหนึ่งมาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาเป็นวิทยาทาน นับเป็นเหรียญสำคัญอีกเหรียญหนึ่งในบรรดา ของสั่งนำเข้ามาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เหรียญนี้มีลักษณะแปลกตา และไม่ค่อยมีแพร่หลายมากนัก ความพิเศษของเหรียญ มีรายละเอียดดังนี้ เป็นเหรียญกลมแบน ขอบเป็นรอยฟันเฟือง (ที่เรียกกันในวงการว่าขอบสตางค์) มีห่วงและหูห้อยอยู่ด้านบน ด้านหน้า ปรากฏอักษรพระปรมาภิไธย “จปร” ภายใต้จุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมี ด้านบน มุมทางขวาของเหรียญมีตัวหนังสือไทยเขียนคำว่า เบนซอน ส่วนมุมด้านซ้ายของเหรียญเขียนคำว่า ลอนดอน ด้านหลัง มีลักษณะแปลกตามาก เริ่มจากจุดแรกที่เห็นชัดที่สุดคือ มีแผ่นโลหะบางๆ ยึดติดกับตัวเหรียญด้วย หมุด ตัวเล็กๆ ตรงกึ่งกลางของเหรียญ ทำให้แผ่นโลหะบางๆ นี้เลื่อนไปมาได้โดยใช้นิ้วหมุน วงกลมรอบหมุด วงแรกเขียนข้อความภาษาอังกฤษว่า PATENT APPL.FOR ครึ่งวงกลม ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นช่องว่าง น่าจะเหลือไว้สำหรับเขียนชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ (คำว่า PATENT ในพจนานุกรม ให้คำแปลไว้ว่า "พระบรมราชานุญาตที่พระราชทานแก่ห้างร้าน" (สิทธิบัตร เนรมิตกรรมที่จดทะเบียน) ส่วนคำว่า APPL บางท่านบอกว่ามาจาก application ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุใจความที่ชัดเจนได้ ขอบวงที่ ๒ มีคำว่า CALENDAR 1904 TO 1925 นอกกรอบ ขวามือเขียนคำว่า THE UNDERLINED JAN. FEB. TO BE USED ONLY IN LEAP YEARS. (คำว่า LEAP YEARS คือ ปีอธิกวาร = อธิกวาร คือปีที่มีวันที่ ๒๙ ในเดือนกุมภาพันธ์ LEAP DAY) ด้านบนของช่องที่แบ่งเป็น ๗ ช่องนี้ เขียนปี ค.ศ.ไว้ เริ่มปี ค.ศ.1904 จนถึงปี ค.ศ.1925 โดยเขียนแบ่งไว้ในช่องรอบตัวเหรียญ ใช้เทคนิคตัดแผ่นโลหะแผ่นบนออก (ดังรูป) ทำให้เห็นตัวเลขที่เขียนไว้ข้างใต้อย่างชัดเจน แผ่นโลหะแผ่นบนใต้ช่องเจาะ ช่างผู้ชำนาญตีเส้นแบ่งช่องไว้อีก ๗ ช่อง แต่ละช่องเขียนตัวเลขวันที่ใน 1 เดือน คือ 1 ถึง 31 โดยแยกไว้ตามสูตรของช่าง เหรียญที่ระลึก ร.๕ ที่ว่าแปลกตานี้ ที่แท้ก็คือ เหรียญปฏิทิน นั่นเอง หากดูผิวเผิน หรือเทียบกับสมัยปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งเราได้ดูได้ใช้กันอยู่ทุกวัน แต่สำหรับคนสมัยเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน ของสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำเลิศอย่างที่สุด พูดกันแบบชาวบ้านก็ต้องยกย่องว่า ผู้ประดิษฐ์ของสิ่งนี้จะต้องเป็นอัจฉริยบุคคลเลยทีเดียว หากไม่เก่งจริงก็คงคิดเรื่องแบบนี้ไม่ได้ วิธีใช้เหรียญปฏิทิน ชิ้นนี้ ตามความเข้าใจของผู้เขียน CALENDAR นี้ มีปุ่มสะดวกใช้ข้างละปุ่ม เมื่อใช้นิ้วกดที่ปุ่ม แล้วหมุนซ้ายหรือขวา เพียงเบาๆ ปฏิทิน (พกพา) อันนี้จะเคลื่อนไหวทันที การเคลื่อนไหวของปฏิทินนุ่มนวลมาก แทบไม่น่าเชื่อ และการทำงานดูเหมือนกับการใช้ปฏิทิน ๑๐๐ ปีในบ้านเรา ผู้เขียนลอง ตั้งโจทย์ขึ้น ๒ โจทย์ โดยอยากทราบว่าเดือนมกราคม JANUARY ปี 1904 วันที่ 9 ตรงกับวันอะไร เมื่อหมุนปฏิทินตามวิธีใช้ ให้คำว่า JAN ในเส้นแบ่งช่องตรงกับ ค.ศ.1904 ซึ่งจะปรากฏอยู่เหนือคำว่า JAN วันที่ต้องการทราบจะปรากฏที่ด้านล่างในช่องที่เจาะไว้พอดี ในที่นี้ตรงกับวันอาทิตย์ S=SUNDAY นั่นเอง หรือถ้าต้องการทราบว่าเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1922 วันที่ 9 ตรงกับวันอะไร ก็หมุนให้คำว่า JANUARY ตรงกับปี ค.ศ.1922 ช่องที่เจาะไว้ด้านล่าง จะบอกวันที่ต้องการทราบตรงกับวัน M=MONDAY (วันจันทร์) นับว่าการทำงานของปฏิทินอันนี้เป็นอัจฉริยะจริงๆ (เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน) ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว มีการใช้ปฏิทินกันอย่างไร มีแล้ว ดีหรือไม่ ไม่ทราบ แต่เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว โลกเพิ่งจะรู้จักการใช้รถยนต์ ตรงกับรัชสมัยของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้นเมืองไทยเพิ่งเริ่มใช้ไฟฟ้า เริ่มมีการไปรษณีย์ ทั่วทุกมุมโลกเพิ่งเริ่มมีการพัฒนาบ้านเมือง เป็นโลกที่เพิ่งจะมีกันเท่านั้น ความลำบากยากเย็นเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน คนรุ่นนี้ได้พบเห็นก็แต่ในหนังสือเล่าเรื่องเก่าเท่านั้น ความเจริญเทียบกับทุกวันนี้มีน้อยมาก ผู้เขียนจึงภูมิใจมากที่มีส่วนร่วมและค้นพบเหรียญที่ระลึกนี้ขึ้นมา แต่การค้นพบนี้จะไม่มีค่าเลยถ้าไม่พูดถึงความสามารถ ความสำเร็จ ของผู้ประดิษฐ์คิดค้นของสิ่งนี้ เหนือสิ่งอื่นใด เหรียญปฏิทิน ที่ระลึกที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งมาจากประเทศอังกฤษ นับเป็นสิ่งบ่งบอกถึงพระปรีชาญาณอันกว้างไกลของพระองค์ ที่ทรงมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์บ้านเมืองของนานาอารยประเทศทั้งหลายได้เป็น อย่างดี พระองค์ถึงได้ทรงทราบถึงประดิษฐกรรมมหัศจรรย์ชิ้นนี้ ที่นับว่าเป็นของแปลกมากในสมัยนั้น และนำมาให้คนไทยได้รู้จักกัน และด้วยพระอัจฉริยภาพของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ นี้เอง จึงสามารถพาชาติไทยของเรา ให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย และยืนยงคงมั่นเป็นเอกราชมาจนถึงทุกวันนี้ คมชัดลึก เพชร ท่าพระจันทร์ |