พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
"ทวดในรูปสัตว์"ตำนานและความเชื่อของคนใต้ ![]() ทวดในรูปสัตว์ ตำนานและความเชื่อของคนใต้ ความเชื่อ คือ ความมั่นใจต่อสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นความจริง ในขณะที่ความเชื่อบางอย่างอาจสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน มาตั้งแต่ยุคโบราณ มาตั้งแต่ยังไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ไม่มีการพิสูจน์ถึงความ จริงของเรื่องนั้นๆ ขณะเดียวกันแม้ว่าทุกวันนี้วิทยาศาสตร์จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ตามธรรมชาติได้เกือบทั้งหมดก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าความเชื่อที่เชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลจะหมดไป สำหรับผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคใต้นั้น สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษหรือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ เรียกว่า “ทวด” รูปแบบความเชื่อในเรื่อง “ทวด ที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์” หรือ “ทวด ในรูปสัตว์” ถือกันว่าเป็นรูปแบบทางความเชื่ออีกรูปแบบหนึ่ง ที่กล่าวกันว่ามีเทวดาอารักษ์ประจำถิ่นในรูปสัตว์ชนิดต่างๆ คอยปกป้องรักษาอยู่ ตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดที่คนในภาคใต้ได้ยึดถือสืบทอดต่อๆ กันมา มีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายจังหวัด คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา เป็นดินแดนที่มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดอย่างแพร่หลาย การที่ชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับทวดในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในหลายๆ ด้าน " เอมอร บุญช่วย" ผู้วิจัยและศึกษาตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และนำมาปรับใช้เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป แนวคิดทฤษฎี-ความเชื่อ ทวด คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ได้สรุปไว้ว่า ทวด หมายถึง ดวงวิญญาณอันมีเดชานุภาพสูง ต้องมีการปฏิบัติบูชาเอาใจจึงจะให้คุณ และให้โทษหากมีการล่วงละเมิด ทวด แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑.ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปคน เช่น ตำนานทวดภควัม ทวดคำแก้ว และขุนโหร ต.สะทิ้งหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ทวดยายแอด หรือทวดแอด หรือทวดแม่ยายแอด ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นต้น ๒.ทวดที่เชื่อว่าไม่มีรูป เช่น ทวดสระโพธิ์ ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา เป็นต้น และ ๓.ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์ เช่น ทวดแหลมจาก (ทวดจระเข้) ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา และทวดตาหลวงรอง (ทวดงู หรือ งูทวด) ต.สะทิ้งหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นต้น ส่วนคติความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภท คือ ด้านโชคลาภ ด้านโรคภัยไข้เจ็บ ด้านคุ้มครองความปลอดภัย ด้านแคล้วคลาด และด้านคงกระพันมหาอุด และความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามสุดท้ายนี้ต้องขอบคุณแฟนผู้อ่านคอลัมน์ "ท่องไปในแดนธรรม" ที่ได้ขอข้อมูลจาก คุณาพร ไชยโรจน์ และภาพประกอบ จาก กิตติพร ไชยโรจน์ เพื่อนำมาเสนอในหน้าพระเครื่อง "คม ชัด ลึก" “ทวดจระเข้” ที่หัวเขาแดง ตามความเชื่อของชาวบ้านใน ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ล้วนมีความเชื่อในเรื่องอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของ “ทวดหัวเขาแดง” กันทั้งสิ้น ว่าเป็นประดุจดั่งเทวดาประจำสถานที่อันพำนักอยู่ในบริเวณหัวเขาแดง หากใครต้องการอะไร ก็ขอให้มาทำการ “บน” ก็จะได้สมดั่งใจต้องการ ดังมีตำนานพื้นบ้านเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ทวดหัวเขาแดง เดิมเป็นชายชราชาวจีน เดินทางมาจากผืนแผ่นดินใหญ่ มุ่งสู่ จ.นครศรีธรรมราช โดยเรือสำเภาขนาดใหญ่ ด้วยเป็นคนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง จึงนำทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลติดมาด้วย เพื่อนำมาร่วมบรรจุลงในพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่โชคไม่ดี ที่เรือสำเภามาล่มบริเวณปากน้ำทางเข้าเมืองสงขลาเสียก่อน ดวงวิญญาณของท่าน เมื่อตายไปก็มิได้หนีหายไปไหน ยังคงวนเวียนอยู่ในบริเวณดังกล่าว ในรูปของ จระเข้ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า “จระเข้ทวด” หรือ “ทวดจระเข้” และเชื่อกันว่า ทวดหัวเขาแดง ในรูปของจระเข้ใหญ่ จะคอยมาเฝ้าปากน้ำเมืองสงขลา คอยดูแลชาวบ้านมิให้เกิดอันตรายจากสัตว์ร้ายต่างๆ ได้ รวมทั้งป้องกันคลื่นลมในทะเลให้ชาวบ้านยามออกเรือหาปลา ดังนั้นก่อนที่ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวจะออกเรือจับปลา หรือสัตว์น้ำใดๆ ก็ตาม จึงต้องบอกกล่าวขอความคุ้มครองจากทวดหัวเขาแดงก่อนเสมอ ด้วยการลอยหมากพลู บ้างก็จุดประทัดก่อนออกเรือ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันความเชื่อดังกล่าว ก็ยังมีให้เห็นอยู่ รูปลักษณะของทวดจระเข้ จากคำเล่าลือ รวมถึงตำนานชาวบ้านเล่าปากต่อปาก รุ่นสู่รุ่น มาว่า ทวดจระเข้มีลักษณะเป็นจระเข้ใหญ่ มีดวงตาเป็นสีแดงสุก หากได้จ้องมองในยามค่ำคืน จะดูคล้ายเปลวไฟสองดวงลุกไหม้แลดูน่าเกรงขาม ทวดจระเข้มีลักษณะของส่วนลำตัวที่ใหญ่ และยาวมาก ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ชาวเลใน จ.สงขลา ว่า ทวดหัวเขาแดง ที่แสดงอยู่ในรูปของจระเข้ใหญ่นั้นมีลักษณะที่ใหญ่มาก พอๆ กับเรือหาปลา แต่ครั้นพอจ้องมองดูไปนานๆ เข้าทวดก็จะหายไปกับความมืด นอกจากนี้ในตำนานของ ทวดเรียม หรือ ทวดคลองนางเรียม ซึ่งเป็นทวดที่แสดงอยู่ในรูปของจระเข้ใหญ่ด้วยเช่นเดียวกันนั้น ก็ปรากฏว่า เป็นจระเข้ที่มีขนาดใหญ่มาก โดยมีความยาวจากหัวจรดปลายหางเท่ากับความกว้างของคลองนางเรียมพอดี จึงพอสรุปได้ว่า รูปลักษณะของทวดจระเข้นั้น จะมี ๒ สิ่งที่แตกต่างจากจระเข้โดยทั่วไป คือ ๑.ทวดจระเข้มีขนาดใหญ่กว่าจระเข้ในแบบธรรมดามาก ๒.ทวดจระเข้มีดวงตาเป็นสีแดงสุกคล้ายเปลวไฟลุกไหม้ ในเรื่องอายุของทวดจระเข้ หรือจระเข้ทวดนี้ ดูจะคล้ายๆ กันกับ งูทวด กล่าวคือ เนื่องด้วยชาวไทยถิ่นใต้ ล้วนมีคติทางความเชื่อว่า เมื่อเกิดเป็นทวดจระเข้แล้ว ก็จะดำรงคงเป็นทวดจระเข้ตลอดไป ดวงวิญญาณไม่มีวันดับสลาย หรือแตกสลายหายไปแต่ประการใด อายุของทวดจระเข้ก็จะเพิ่มทวีขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีวันแตกดับ และยังคงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยถิ่นใต้ให้ความเคารพสักการบูชาเรื่อยมาจวบจนยุคปัจจุบัน 0 ไตรเทพ ไกรงู 0 คมชัดลึก |