พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระสังกัจจายน์ พระโชคลาภ คู่เมืองร้อยเอ็ด ![]()
ไหว้พระ 76 จังหวัด ที่มาข่าวสด"วัดสระทอง" ตั้ง อยู่ในตัวเมืองร้อยเอ็ด เป็นที่ประดิษฐาน "พระสังกัจจายน์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพศรัทธา แต่การสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ปรากฏหลักฐาน เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา (ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ได้พบพระพุทธรูปองค์นี้ เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยกให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นประจำทุกปี การสร้างวิหารพระสังกัจจายน์และอุโบสถ สมัยแรกทางวัดไม่ได้สร้างขึ้น เพราะตามประวัติวัด มีการสร้างวิหารหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ โดยปลูกสร้างเป็นศาลามุงแฝก เพื่อกันแดดคุ้มฝนให้องค์หลวงพ่อสังกัจจายน์ ต่อมาปี พ.ศ.2477 คุณแม่ต่วน ศรีเลนวัฒน์ ได้สละทุนทรัพย์สร้างวิหารถาวรหลวงพ่อสังกัจจายน์ขึ้น หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ เป็นวิหารทรงมะนิลา เพื่ออุทิศให้นายตุ่น ผู้เป็นสามีที่วายชนม์ พ.ศ.2480 คุณแม่เอี่ยม วุฒิจำนง พร้อมด้วยหลาน ได้มีศรัทธาเลื่อมใสสร้างเป็นอุโบสถ ฝาผนังก่ออิฐถือปูน ครอบองค์พระสังกัจจายน์เป็นประธานในอุโบสถ ฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาตามประเพณีทางพระพุทธศาสนา ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2480 วันที่ 13 สิงหาคม 2495 เวลาประมาณ 22.30 น. ได้เกิดเพลิงไหม้อุโบสถชำรุดเสียหายมาก เหลือแต่องค์หลวงพ่อสังกัจจายน์ ซึ่งอยู่ในสภาพเดิมมีรอยร้าวเล็กน้อย พระมงคลญาณเถร (ผาย ขันติโก) เจ้าอาวาสวัดสระทอง พร้อมด้วยคณะสงฆ์ภิกษุสามเณรและทายกทายิกาได้ให้ช่างบูรณะตกแต่งหลวงพ่อพระ สังกัจจายน์ให้อยู่ในสภาพปกติเหมือนองค์เดิมทุกประการ และได้ซ่อมแซมอุโบสถให้เป็นพระวิหารหลวงพ่อสังกัจจายน์ หลังจากนั้น พระครูภาวนาวิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดสระทองรูปปัจจุบัน ได้เชิญชวนผู้มีศรัทธาอื่นปรับปรุงวิหารพระสังกัจจายน์ให้สวยงามยิ่งขึ้นดัง ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ผู้ใดบูชาผู้นั้นได้ลาภประเสริฐแล พระสังกัจจายน์ พระแห่งโชคลาภ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง มีตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่งมีโสเรยยะ บุตรเศรษฐี คะนองเห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง พลันปรากฏว่า โสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปากได้กลายเพศเป็นหญิงในทันทีจึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งรูปหนึ่งในพุทธสาวก แต่ด้วยรูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่สตรีเพศอย่างยิ่ง จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วนพุงพลุ้ยน่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส เรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์จึงได้รับพรจากพุทธสาวกอันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ เป็นพระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัวดังนี้ การบูชาพระสังกัจจายน์ให้เป็นมงคล ควรบูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่างๆ หรือดอกบัว มิว่าจะบูชาด้วยดอกใดให้ใช้ 7 ดอก ถวายน้ำสะอาด 1 แก้วและถวายผลไม้ทุกวันพระ คาถาบูชาพระสังกัจจายน์ สำหรับคาถาบูชา กัจจายะนะ จะ มะหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะ สุภา สิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะ มามิหัง ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหม นะ มุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะ มามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิตถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยัง มะมะฯ คาถาบูชาขอลาภ (สวดบทนี้ได้ทุกวันเพื่อสิริมงคล) กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทา โสตถิ ภะวันตุ เม |