พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
น้อย ไอยรา ผู้จุดประกาย'หลักสูตรพระเครื่อง' ที่ มช. ![]() ![]() หลักสูตรพระเครื่อง พระคงลำพูน ‘น้อย ไอยรา’ ผู้จุดประกาย'หลักสูตรพระเครื่อง' ที่ มช. บนเส้นทางนักสะสมพระเครื่อง ของนิพนธ์ สุขสมมโนกุล หรือ “น้อย ไอยรา” เชียงใหม่ นับได้ว่ เป็นผู้โชคดีที่ก้าวเข้ามาสู่วงการพระ ในขณะที่พระยังมีราคาไม่แพงนัก ขณะเดียวกัน ได้มีโอกาสรู้จักกับบรรดา “เซียนพระ” ชื่อดังของเมืองไทยหลายท่าน ตั้งแต่เริ่มสนใจพระเครื่องไม่นานนัก จากการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ความสามารถและเป็นที่รู้จักรักใคร่ของเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการพระ ทำให้น้อยได้รับคัดเลือกให้เป็น ประธานชมรมพระเครื่องเมืองเชียงใหม่ หลายสมัย ติดต่อกันหลายปี และยังเป็นผู้บุกเบิกร่วมจัดตั้งโครงการอบรมการศึกษาพระเครื่องพระบูชา ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกด้วยโดยได้เปิดอบรมมาแล้วหลายรุ่น จนถึงทุกวันนี้ ย้อนสู่อดีตที่ผ่านมา น้อย ไอยรา เล่าว่าผมเริ่มสนใจพระเครื่องราวปี ๒๕๑๒ ขณะกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย สมัยนั้นตลาดพระเครื่องอยู่ที่สวนรุกขชาติ ข้างจวนผู้ว่าฯ ตรงสี่แยกพุทธสถาน เลิกจากเรียนกลับบ้านก็เลยแวะดูพระ เพราะเป็นเส้นทางผ่าน มีแผงเลี่ยมพระอยู่ ๓-๔ แผง แผงขายพระ ๔-๕ แผง จากนั้นก็เริ่มศึกษา ซื้อหนังสือและตำราพระมาอ่านอย่างสนใจจริงจัง เมื่ออ่านแล้วก็เกิดความศรัทธา เป็นแรงจูงใจให้เริ่มสะสมพระเครื่องตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา” เมื่อเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น้อยเริ่มทำงานโดยเป็นวิศวกร รับเหมาก่อสร้างอาคาร "มูลนิธิสิริวัฒนา เชสเชียร์ เชียงใหม่" ทำให้มีโอกาสได้รู้จักกับ ท่านประสงค์ อิฐรัตน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จ.เชียงใหม่ ท่านได้จัดงานประกวดพระที่พุทธสถานเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๑ ในงานได้รู้จักกับเซียนพระจากส่วนกลางที่มีความรู้ความสามารถ และมีชื่อเสียงโด่งดังหลายท่าน เช่น อ.ปรีชา ดวงวิชัย อ.สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ คุณนิยม อสุนีย์ ณ อยุธยา อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ คุณอุดม กวัสราภรณ์ พ.ท.ศุภชัย ศรีแพทย์ พี่พยัพ คำพันธุ์ พี่ต้อย เมืองน้อย พี่สมศักดิ์ พร้อมเชื้อแก้ว พี่หริ ศิริ คูวิบูลย์ศิลป์ พี่ปื๊ด ถนอมศักดิ์ อนุกุล ฯลฯ ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็น "ครูคนแรก" ของน้อย ที่เปิดโอกาสให้ดูพระแท้มากมาย นับเป็นความโชคดี ที่ได้ “ครูดี” มาตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วงการใหม่ๆ การที่ได้เริ่มศึกษาและสะสมพระในสมัยนั้น ราคาพระยังไม่แพงนัก และหาไม่ยากเหมือนทุกวันนี้ สำหรับ พระรอด ลำพูน น้อยบอกว่า “ผมดูตำหนิเป็นตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ เพราะพระมีเยอะ ผ่านตาผ่านมือเป็นร้อยองค์ โดยเฉพาะพี่หริ คูวิบูลย์ศิลป์ ผมใกล้ชิดท่านมาก ท่านได้ให้คำแนะนำ คำปรึกษาที่ดี อยู่เป็นประจำ และยังแบ่งพระรอดให้บ่อยๆ ส่วนพี่ปื๊ด ถนอมศักดิ์ สมัยอยู่เชียงใหม่ ได้ให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ ในการเลือกหาพระเพื่อการสะสม พี่ปื้ดเป็นผู้รอบรู้ทุกด้านจริงๆ” พระองค์แรกที่เช่ามา น้อยบอกว่าคือ พระคงลำพูน เช่ามา ๑๐ บาท เมื่อปี ๒๕๑๒ ที่สนามพระข้างจวนผู้ว่า เป็นพระเรียบร้อย ฟอร์มตรง สีพิกุล ได้สตางค์ค่าขนมไปโรงเรียนวันละ ๕ บาท ต้องเก็บหลายวันถึงจะเช่าพระได้องค์หนึ่ง สมัยนั้น พระคงเขียว ฟอร์มดี องค์ละ ๕๐ บาท สีธรรมดาสวยๆ มีหน้าตา องค์ละ ๘๐-๑๐๐ บาท ถ้าเทียบราคาวันนี้ต้องแสนกว่า ความจริงอยากได้พระรอด แต่มีเงินไม่พอ พระรอด ตอนนั้นองค์ละหมื่นกว่าแล้ว ปี ๒๕๒๕ น้อยเริ่มทำธุรกิจ โรงแรมไอยรา จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทุกเดือน เพื่อติดต่อลูกค้า เสร็จงานก็แวะเข้าสนามพระ ที่วัดราชนัดดา และท่าพระจันทร์ ทำให้รู้จักกับเซียนพระดังๆ เพิ่มขึ้นอีก อาทิ เฮียบิ โกหย่วน พี่สำราญ บางแค ฯลฯ ที่ท่าพระจันทร์ ไปบ่อยหน่อย เพราะมีแผงพระเยอะ มีพระให้เลือกมาก และมีเซียนดังๆ รุ่นนั้นมากมายที่ได้รู้จักและได้รับความรู้จากท่าน ต่อมาประมาณปี ๒๕๒๖ น้อยมีโอกาสรู้จักกับ ท่านปลัดพิศาล มูลศาสตรสาทร ผู้ใหญ่ที่คนในวงการพระให้ความเคารพนับถือ ช่วงนั้นท่านเดินทางไปราชการที่เชียงใหม่บ่อยๆ ทำให้ได้รับความเมตตาจากท่าน แนะนำความรู้เกี่ยวกับพระบูชา และพระเครื่อง เพิ่มเติมในมุมมองของนักสะสมระดับอินเตอร์ โดยเฉพาะพระบูชา และเทวรูป ถือว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งของเมืองไทย จากการที่ “น้อย ไอยรา” ได้รู้กับเซียนพระดังๆ ของวงการ ทำให้นักสะสมพระเครื่องใน จ.เชียงใหม่ พร้อมใจกันเลือกให้น้อยเป็น ประธานชมรมพระเครื่องเชียงใหม่ สมัยแรก ปี ๒๕๒๘ น้อย บอกว่า “ความจริงแล้วชมรมฯ นี้ เริ่มก่อตั้งมาเมื่อปี ๒๕๑๔ โดยเฮียตง สมชาย วนเจริญ ลุงเหมอ เสมอ บรรจง อ.ยุทธ เดชคำรณ เสี่ยหย่ง ณรงค์ วงสวัสดิ์ พี่บุญเลิศ เย็นวงศ์สุข ฯลฯ เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง โดยมีเฮียตงเป็นประธานชมรมคนแรก ผมเป็นประธานชมรมต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๘ ติดต่อมาถึงปี ๒๕๓๖ และปี ๒๕๔๒-๒๕๔๖” ต่อมาน้อยได้ร่วมในการจัดตั้ง โครงการอนุรักษ์และเผยแพร่พุทธศิลป์ล้านนา ของ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเริ่มเปิดอบรมหลักสูตร พระสกุลลำพูน ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนอาชีพต่างๆ ทุกวงการ นอกจากความศรัทธาเลื่อมใสแล้ว พระสกุลลำพูน ยังมีอายุเก่าแก่ ศิลปะสวยงาม พิมพ์ทรงหลากหลาย และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง ทุกวันนี้โครงการนี้เปิดอบรมอยู่ และในปลายปีนี้จะเพิ่ม หลักสูตร พระบูชา ผู้สนใจติดต่อได้ที่ สำนักบริการวิชาการ มช.โทร.๐-๕๓๙๔-๓๖๐๘, ๐-๕๓๙๔-๓๖๐๑ ข้อแนะนำสำหรับผู้เริ่มเข้าวงการพระ น้อย บอกว่า สมัยนี้ง่ายกว่าสมัยก่อน เพราะมีตำราพระ หนังสือพระ นิตยสารพระ หลายสิบฉบับ และสื่อหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลได้ง่ายกว่าสมัยก่อน นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์พระเครื่องอีกหลายสิบเว็บไซต์ “ผม มีข้อแนะนำสำหรับผู้เริ่มสนใจเข้าวงการพระ คือ ๑. การเลือกพระเพื่อสะสม นอกจากความศรัทธาแล้ว ต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานประกอบคล้ายกับหุ้น ถ้าเป็นพระกรุ อายุเก่า ศิลปะสวย ปริมาณมากพอหมุนเวียน ราคาไม่สูงเกินไปยังน่าเก็บ ถ้าเป็นพระเกจิอาจารย์ ดูจากผู้สร้าง พิธีปลุกเสก จำนวนสร้างและวัตถุประสงค์ ถ้าพระเกจิอาจารย์เก่งดีมีวิชาจริง ผู้สร้างเจตนาดี พิธีดี รายได้เพื่อการกุศลจริง ก็น่าเก็บสะสม ส่วนตัวผมเลือกที่จะสะสมพระกรุมากกว่า โดยเฉพาะพระสกุลลำพูน พระสกุลล้านนา หรือพระบูชา อายุหลายร้อยปี ราคาวันนี้ยังน่าเก็บ เทียบกับพระเครื่องเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ราคาพระบูชายังขยับขึ้นไปไม่มาก ๒.การเรียนรู้ เพื่อดูพระเป็น ยุคความรู้ไร้ขีดจำกัด ต้องมีทฤษฎีในการดู เหมือนการเรียนหนังสือ เล่นกีฬา ร้องเพลง เล่นดนตรี ฯลฯ ทุกอย่างต้องมีพื้นฐานเช่นเดียวกัน ถึงจะมีโอกาสพัฒนาได้ดีกว่า สำหรับผู้เริ่มเรียนรู้ ผมขอแนะนำว่า ควรจะเริ่มจากพระกรุเนื้อดิน ที่มีอายุเก่าแก่มาก ปริมาณพระยังพอหาได้ ราคาไม่แพงนัก อย่างเช่น พระคง สภาพธรรมดา ราคาไม่ถึงหมื่น เช่ามาเป็นองค์ครูไว้ศึกษาก่อน เซียนพระดังๆ หลายคน เริ่มจากพระคงกันทั้งนั้น รวมทั้งตัวผมเองด้วย” น้อย กล่าวแนะนำ ในส่วนการของ หลักการดูพระเครื่องขั้นพื้นฐาน น้อยบอกว่า มี ๔ ข้อ ด้วยกันคือ ๑.ดูพิมพ์ ๒.ดูเนื้อหามวลสาร ๓.ดูธรรมชาติความเก่า ๔.ดูเทคนิคการสร้าง อย่างไรก็ดี การอ่านตำราอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีคนชี้แนะอีกด้วย ถึงจะเป็นเร็ว วิธีเรียนลัดอีกทางเลือกหนึ่ง คือ ไปเข้าเรียนหลักสูตรที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เวลา ๒ วัน เสาร์-อาทิตย์ เป็นเร็วกว่าเรียนด้วยเอง เพราะได้ศึกษาจากพระองค์แท้ องค์จริง อย่างมากมาย น้อยบอกด้วยว่า การหาเช่าพระที่ถูกวิธีและง่ายที่สุด คือ ซื้อพระแบบมีการรับประกัน ถ้าหากเป็นพระปลอมก็สามารถคืนพระได้และคืนเงินด้วย กรณีนี้ต้องพิจารณาผู้ขายเป็นหลักสำคัญ คือ ผู้ขายที่มีความรับผิดชอบสูงประกอบด้วย เพราะทุกวงการอาชีพ มีทั้งคนดีและไม่ดีปะปนอยู่ด้วยคนที่ฉลาดจึงต้องเลือกคบหาคนที่ดีเท่านั้น ปัจจุบัน น้อย ไอยรา ทำธุรกิจอิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต แอนทีคส์ ฟอร์ เดคอเรชั่น และสินค้าหัตถกรรม บริษัท ไอยราอาร์ท จำกัด ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง เลขที่ ๓๕/๔ หมู่ ๓ ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๓๐ โทร. ๐-๕๓๓๓-๙๔๕๐-๑ นอกจากการเขียนหนังสือ และเป็นอาจารย์พิเศษแล้ว ขณะนี้น้อยกำลังจัดทำเว็บไซต์ พระล้านนาดอทคอม <http://www.pralanna.com> เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการอนุรักษ์ พระกรุ พระเกจิอาจารย์ล้านนา สู่วงการสากล ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คาดว่าเว็บไซต์นี้จะเปิดบริการได้ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ นี้ สำหรับท่านผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ “น้อย ไอยรา” ทาง อีเมล : noiiyara@csloxinfo.com ข่าวพระเครื่อง 0 แล่ม จันท์พิศาโล 0 คมชัดลึก |