พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
วัดหาดส้มแป้น กับ..."ปลาเทพเจ้า" ![]() ![]() วัดหาดส้มแป้น ตั้งอยู่หมู่ ๓ ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง เดิมเป็นที่พำนักสงฆ์ ต่อมายกฐานะเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๓ ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ คือ เจดีย์ทรงหกเหลี่ยม สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อประมาณกว่า ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พระครูไพบูลย์วุฒิญาณ มีความเห็นว่าหากปล่อยไว้อาจถูกโจรกรรมของมีค่าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเจดีย์ จะต้องดำเนินการบูรณะขึ้น โดยสร้างเจดีย์ครอบองค์เก่า ลักษณะรูปทรงหกเหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ ๓ ม. วัดหาดส้มแป้น เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากวัดหนึ่งของจ.ระนอง เป็นที่ตั้งของศาลาที่ประดิษฐานรูปเหมือนของหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระภิกษุที่ประชาชนในภาคใต้ให้ความเคารพนับถือมาก โดยได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ก่อนมรณภาพ บริเวณวัดร่มรื่น มีเขาล้อมรอบ อากาศเย็นสบายเห็นสายหมอกยามเช้า มีลำคลองหาดส้มแป้นทอดผ่านวัด เป็นแหล่งของปลาพลวง ปลาตระกูลเดียวกับปลาตะเพียน และไม่มีผู้ใดจับปลาดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ ในบริเวณวัดจึงมีศาลาริมน้ำ สำหรับให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลาเหล่านี้ ประวัติวัดหาดส้มแป้น นั้นเดิมทีนั้นวัดไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันนี้ แต่ตั้ง (สำนักสงฆ์) อยู่บริเวณที่ปลูกสร้างบ้านของนางสุภา (เจ้เตี้ยง) ลิ่มศิลา ก่อนที่พ่อหลวงน้อยจะมาอยู่ที่หาดส้มแป้นก็มีพระมาอยู่บ้างแล้ว แต่ไปๆ มาๆ อยู่บ้าง ไม่อยู่บ้าง บางครั้งก็เหมือนจะเป็นวัดร้าง เมื่อพ่อหลวงน้อยมาหาดส้มแป้นก็ได้มาพำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้หลายพรรษา ต่อมาเมื่อพิจารณาบริเวณที่สร้างสวนของนายกลับ ซึ่งก็เป็นโยมอุปถัมภ์คนหนึ่งของวัด ท่านเห็นว่าบริเวณนั้นอยู่ติดลำคลองมีน้ำไหลใสสะอาด ธรรมชาติสงบร่มเย็นวังน้ำกว้างใหญ่ มีฝูงปลาพลวงมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คนสมัยก่อนเรียกว่า “วังสระ” คือเป็นวังน้ำและคล้ายสระน้ำที่กว้างใหญ่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงย้ายกลับมาอยู่ที่สวนของนายกลับ และยกฐานะเป็นวัดในปีนั้น ส่วนนายกลับตอนนั้นก็มีอายุมากแล้วลูกเมียก็ไม่มี เมื่อยกที่ให้วัดก็อาศัยอยู่ในวัดจนถึงแก่กรรม นายกลับเป็นคนอีสานเป็นคนที่เข้ามาขุดหาแร่ดีบุกในยุคต้นๆ คนหนึ่ง และที่สวนของนายกลับก็มีต้นส้มแป้นขี้ม้าปลูกอยู่ที่ริมสระด้วย จนผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา หรือมาทงเบ็ดตกปลาแถวๆ นั้น เรียกกันจนติดปากว่า “สระส้มแป้น” กันหลายปี พอพ่อหลวงน้อยมาสร้างวัด คำว่า “สระส้มแป้น” จึงค่อยๆ เลือนหายไป แล้วกลับมาเรียกกันใหม่อีกครั้งว่า “วังสระ” แต่เดี๋ยวนี้เกือบไม่มีใครเรียกที่ตรงนั้นว่า วังสระ อีกเลย หลังจากที่พ่อหลวงน้อยมรณภาพแล้ว มีพระภิกษุอีกหลายรูปวนเวียนมาอยู่ที่วัดหาดส้มแป้น แต่ละรูปก็อยู่ไม่นานพรรษาสองพรรษาก็ออกไป เท่าที่จำได้ก็มี อาจารย์เล่ (เหล) อาจารย์ช่วย อาจารย์หม่อม และอาจารย์ช่วย อีกครั้ง พ่อท่านแสง แล้วก็มาถึงพ่อท่านคล้าย ซึ่งท่านก็เป็นเจ้าอาวาสพร้อมจำพรรษาอยู่นานหลายปีจนมรณภาพ ทั้งยังเป็นที่รักและศรัทธาของชุมชนชาวหาดส้มแป้น และคนระนอง รูปสุดท้ายคือ พระครูไพบูลย์ วุฒิญาณ (ติ้น ตั้งสุวรรณ) ซึ่งมรณภาพเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘ ด้วยวิสัยทัศน์ในอดีตได้พัฒนาวัดเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่อง เที่ยว จนเป็นที่รู้จักต่อนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนอีกทางหนึ่ง ปลาเทพเจ้า ปลาพลวง หรือ พวง (ตามชื่อเรียกของคนท้องถิ่น จ.ระนอง) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในคลองหาดส้มแป้น ไม่มีผู้ใดจับปลาดังกล่าวเพราะมีความเชื่อกันว่าเป็น “ปลาศักดิ์สิทธิ์” ในบริเวณวัดมีศาลาริมน้ำสำหรับให้นักท่องเที่ยวพักผ่อน ชมปลา และให้อาหารปลา ปลาพลวง : หรือปลาพวง ตามชื่อเรียกของคนระนอง (ที่เรียกตามลักษณะนิสัยของปลาน้ำจืดชนิดนี้ที่อาศัยอยู่เป็นฝูงจำนวนมาก ฝูง หรือกลุ่มก้อน ตามภาษาใต้จะเรียกว่า “พวง” ปลาพลวงหรือพวง จัดเป็นปลาอยู่ในวงศ์ตระกูลปลาตะเพียน (Cyprinidae) ที่มีขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด ๒ คู่ ลำตัวสีน้ำตาลปนเขียว อาศัยเป็นฝูงใหญ่นับร้อยตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่างๆ มักจะไม่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นปลาชนิดอื่นๆ เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลา “เทพเจ้า” แต่จากการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกายเช่นเดียวกับ กรณีของปลาบ้า (คนที่กินจะมีอาการสะลึมสะลือคล้ายคนเสียสติ หรือคนบ้า) ปลาพลวงแต่ละถิ่นจะเรียกชื่อต่างกันออกไปอาทิ ปลาพวง ปลาโพ เป็นต้น นายสุมิตร พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานระนอง กรมชลประทาน บอกว่า เดิมทีนั้นการทำเหมืองดินขาว ทำให้เกิดปัญหาน้ำขาวขุ่นในคลองหาดส้มแป้นที่ไหลผ่านวัดในช่วงฤดูฝน ซึ่งจ.ระนองก็ได้มีการจัดทำโครงการคลองสวยน้ำใสขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้กำลังจะหมดไปเมื่อกรมชลประทานได้เข้ามาดำเนินการสร้าง “อ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น” ขึ้นบริเวณบ้านทอนเรียน เพื่อเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลเมืองระนองและพื้นที่รอบนอกกว่า ๑๕,๐๐๐ ไร่ และที่สำคัญยังจะทำให้น้ำในคลองหาดส้มแป้นใสตลอดทั้งปี เพราะน้ำจากอ่างเก็บน้ำจะช่วยเจือจางและผลักดันน้ำขาวขุ่นที่เกิดจากการทำ เหมืองดินขาวให้ไหลออกสู่ทะเล นักท่องเที่ยวจะได้เข้าไปสักการะหลวงพ่อคล้าย ดูน้ำใสและให้อาหารปลาพลวงที่ศาลาริมน้ำ วัดคลองหาดส้มแป้นได้ตลอดทั้งปีข่าวพระเครื่อง เรื่องไตรเทพ ไกรงู ภาพบุญเลื่อน พรหมประทานกุล |