
คอลัมน์ หลังเลนส์ส่องพระ
เอกอุ
เมื่อนายช่างได้ออกแบบรูปทรงพระทั้ง 3 พิมพ์ เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้นำแม่พิมพ์ทูลถวายเพื่อทรงทอดพระเนตรทรงโปรดให้ แก้ไขข้อความบางประการทั้งทรงชื่นชมว่าออกรูปพระได้สวยงามยิ่งนัก ในการครั้งนี้ทรงโปรดประทานผงจิตรลดา-น้ำมนต์-ลงอักขระบนแผ่นทอง เพื่อนำไปหล่อหลอมตามโบราณนิยม พระคุณเจ้าที่เมตตากรุณาลงอักขระบน แผ่นทอง 1.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร 2.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (หลวงพ่อสนิท) วัดปทุมคงคา กรุงเทพ มหานคร 3.พระธรรมวโรดม (หลวงพ่อนิยม) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร 4.พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อวิเชียร) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี 5.พระเทพเมธี (หลวงพ่อบุญนาก) วัดเศวตฉัตร กรุงเทพ มหานคร 6.พระเทพศีลวิสุทธิ์ (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร 7.พระเทพวรเวที (หลวงพ่อธำรงค์) วัดแก้วแจ่มฟ้า กรุงเทพ มหานคร 8.พระราชญาณดิลก (หลวงพ่อสงวน) วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร 9.พระสิริวัฒนวิสุทธิ์ (เจ้าคุณสิริ) วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร 10.พระครูเกษมนวกิจ (หลวงพ่อเต้า) วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม 11.พระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 12.พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม 13. พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม 14.พระครูศรีฉพังคสังวร (หลวงพ่อเริ่ม) วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี 15.พระครูบรรหารศีลคุณ (หลวงพ่อแร่) วัดเชิดสำราญ จ.ชลบุรี 16.พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงพ่อดี) วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี 17.พระครูวิชาญชัยคุณ (หลวงพ่อสำราญ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัย นาท 18.พระครูวิเศษภัทรกิจ (หลวงพ่อทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี 19.พระครูนนทสิทธิการ (หลวงพ่อประสิทธิ์) วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี 20.พระภาวนาโกศลเถร (หลวงพ่อวีระ) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร 21.พระโสภณสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กรุงเทพมหานคร 22.พระครูสุนทรธรรมา นุศาสก์ (หลวงพ่อรวย) วัดท่าเรือ จ.ระยอง 23.พระครูสุทธาภรณ์ (พระอาจารย์เก็บ) วัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร 24.พระครูถาวรวิหารคุณ (พระอาจารย์หลั่ง) วัดนินสุขาราม กรุงเทพ มหานคร 25.พระอาจารย์สิริ (หลวงพ่อสิริ) วัดตาล จ.นนทบุรี
เมื่อคณะกรรมการ ได้นำแผ่นทองชนิดต่างๆ ไปถวายพระภาวนาจารย์ลงอักขระเลขยันต์เป็นที่เรียบร้อยแล้วพิธีหลอมหล่อจึง เริ่มขึ้น ณ ชั้นที่ 9 ตึกบริษัทเหมรัตน์จำกัด โดยใช้วิธีหล่อชนิดเหวี่ยง พระคุณเจ้า 9 รูป สวดเจริญชัยมงคลคาถาจนแล้วเสร็จ องค์พระสำเร็จออกมาดูสวยงามเจริญตาเป็นศรัทธายิ่งนัก แม้พิธีสร้างจะใช้เครื่องมือที่ทันสมัยแต่คณะกรรมการก็ได้ทรงแบบโบราณาจารย์ ได้ใกล้เคียงมิใช่แบบสมัยใหม่ไปทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท เหมรัตน์ จำกัดนี้ไม่เคยรับหรือหล่อองค์พระมาก่อนเลยจึงเป็นครั้งแรกของบริษัทแห่งนี้ อีกประการหนึ่งบริษัทแห่งนี้มีเครื่องมือแบบครบวงจรทุกประการ สำหรับ พระผงนั้นคณะกรรมการนอกจากจะได้รับประทานผงจิตรลดาจากท่านเจ้าคุณสมเด็จแล้ว ยังได้ผสมผงล้วนแต่เป็นมงคลทั้งสิ้น พระเครื่องรุ่นนี้จะมีตัวหนังสือกำกับอยู่ 3 ตัวกล่าวคือ "อุ อ ม" อักษร 3 ตัวนี้ เจ้าประคุณสมเด็จทรงโปรดให้เชิญมาประทับในองค์พระที่จัดสร้างพร้อมด้วยพระ นามย่อ ญสส โดยความหมายแล้ว อุ อ ม หรือ ม อ อุ เป็นหัวใจพระไตรปิฎก หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ม ย่อมาจาก มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
อ ย่อมาจาก อกาลิโก เอหิปัสสิโกฯ
อุ ย่อมาจาก อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆฯ
บางอาจารย์ท่านถือเอานามพระอรหันต์ อสีติมหาสาวก ผู้นำในการทำสังคายนาพระไตรปิฎก เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงท่านทั้งหลายคือ
ม หมายถึง พระมหากัสสป
อ หมายถึง พระอานนท์
อุ หมายถึง พระอุบาลี
ในศาสนาพราหมณ์ ม อ อุ เป็นคาถาสัญลักษณ์แทนพระเจ้าทั้ง 3 คือ
ม อนุสวาร หรือ ม แทนพระพรหม
อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ
อุ แทนพระศิวะ หรือ พระอิศวร
สัญลักษณ์ทั้ง 3 ตัวนี้เมื่อรวมกันจะอ่านว่า "โอม"
นอกจากด้านหลังองค์พระที่จัดสร้างจะมี อุ อ ม แล้วยังมีข้อความว่า "อายุ วัณโณ สุขัง พลัง และ อโรคยา ปรมาลาภา" พร้อมทั้งมีชื่อ "คลีนิคศรีรัตนโกสินทร์" กำกับด้วยลายพระหัตถ์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ สำหรับพระพุทธชินสีห์นั้นพระนามย่อ "ญสส" คงประทับอยู่ด้านหน้า กำกับด้วยพระคาถา "อุ อ ม" ล้อมรอบยันต์อุณาโลม เมื่อการจัดสร้างพระเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงได้ประทานกราบทูลเพื่อทรงทราบ พร้อมทั้งขอประทานพระอนุญาตใช้พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถานที่ประกอบพิธีอธิษฐาน จิตบริกรรมปลุกเสก ทรงโปรดประทาน ณ วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2533 เวลาพระฤกษ์ 17.39 น. เป็นวันพระแรม 14 ค่ำเดือน 3 ข่าวพระเครื่อง 