พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พระเครื่องวัตถุมงคลต่างๆ
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม)
อภินิหารพระครูวัดฉลอง หลวงพ่อแช่ม เล่าเรื่องนี้ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่าเมื่อมีข่าวคนจีนก่อความไม่สงบ ไปถึงบ้านฉลองว่า มีคนจีนจะออกไปปล้น ชาวบ้านที่เป็นลูกศิษย์ท่านจึงไปช่วยพาหลวงพ่อหนีไปด้วย แต่ท่านตอบว่า "ข้าอยู่ในวัดนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จนอายุป่านนี้แล้ว ทั้งเป็นสมภารเจ้าวัดอยู่ด้วย จะทิ้งวัดเสียอย่างไรได้ พวกสูจะหนีก็หนีเถิด แต่ข้าไม่ไปล่ะ จะต้องตายอยู่ในวัด อย่าเป็นห่วงข้าเลย" คนเหล่านั้นเห็นว่า ท่านไม่ยอมทิ้งวัดไป จึงพูดกับท่านว่า "ถ้าขรัวพ่อไม่ไป พวกผมก็อยู่เป็นเพื่อน แต่ขออะไรพอคุ้มตัวสักอย่าง" หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ท่านจึงเอา ผ้าขาวม้าลงยันต์ เป็น ผ้าประเจียด แจกให้คนละผืน ออกไปสู้รบกับพวกคนจีน จนในที่สุดจีนอั้งยี่พวกนั้นล้มตายแตกหนีกระจัดกระจายไปหมด หลวงพ่อบอกว่า "จีนรบสู้ไทยไม่ได้ ด้วยมันกินข้าวต้ม พวกไทยไม่ต้องกินข้าวต้ม จึงเอาชนะได้ง่ายๆ" นับแต่นั้นมา พวกจีนอั้งยี่ก็ไม่กล้าไปปล้นบ้านฉลองอีก ชาวเมืองภูเก็ตเริ่มนับถือท่านว่า เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคมอย่างผู้วิเศษ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ให้เป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ตำแหน่ง สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต
ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พระเครื่องวัตถุมงคลต่างๆ (วัดไชยธาราราม) พระครูวัดฉลอง (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง)ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา ต่อมาครอบครัวอพยพหนีภัยพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านฉลอง จ.ภูเก็ต พ่อแม่ส่งท่านไปเป็นลูกศิษย์วัดฉลอง ขณะนั้นมี พ่อท่านเฒ่า เป็นเจ้าอาวาส พอโตขึ้นท่านได้บวชเณร และเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาที่วัดฉลอง ศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ จากพ่อท่านเฒ่า จนเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน มีสมาธิจิตสูง รวมทั้งได้ศึกษาวิชาคาถาอาคมต่างๆ วิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อแช่มเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านโดยทั่วไป พ.ศ.๒๓๙๓ พ่อท่านเฒ่ามรณภาพ หลวงพ่อแช่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทน นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่มีอายุน้อยมาก เพียง ๒๓ ปีเท่านั้นเอง
จนเมื่อเกิดกบฏอั้งยี่ พ.ศ.๒๔๑๙ ท่านได้เป็นผู้นำในการปราบพวกอั้งยี่ได้ราบคาบ ทำให้เป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างไกล จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศจากในหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยตรง และจากการที่ได้เข้าเฝ้าล้นเกล้าฯ ร.๕ นี้เอง ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “พ่อท่านสมเด็จเจ้า” หมายถึง ตำแหน่งที่เจ้า (ในหลวง) พระราชทานให้โดยตรง พัดยศที่ได้รับพระราชทานก็เป็นพัดยศพิเศษ ไม่เหมือนที่ใดมาก่อนเลย นับเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๕๑ สิริรวมอายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑ นับถึงปีนี้ครบรอบ ๑๐๐ ปีพอดี แม้หลวงพ่อแช่มท่านจะละสังขารไปแล้ว แต่ความทรงจำในเกียรติคุณและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังคงมีอยู่อย่างมั่นคงในความจิตใจของชาวเมืองภูเก็ต และชาวไทยทั่วประเทศ
ในส่วนของวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม สมัยที่ท่านยังชีวิตอยู่ก็มีเพียงผ้าประเจียด ที่ทำขึ้นอย่างง่าย แล้วปลุกเสกด้วยความตั้งใจจริง จึงมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของวัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มที่เป็นรูปเหมือนบูชา เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พระผง ฯลฯ ได้มีการจัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๗๑ คือหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว ๒๐ ปี เป็นการจัดสร้างโดยวัดฉลอง และวัดอื่นๆ ที่ได้อาศัยบารมีของท่านตลอดมา จนทำให้วัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มมีอยู่จำนวนมากมายหลายรุ่น ซึ่งล้วนแต่มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเมตตามหานิยม อุดมโชคโภคทรัพย์ แคล้วคลาดปลอดภัย รวมทั้งด้านป้องกันคุณไสยสิ่งจัญไรต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันละสังขารของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในปี ๒๕๕๑ นี้ ชัยนฤทธิ์ พันธุ์ทอง และทีมงานนิตยสาร “พระเครื่องล้ำค่า” จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติ หลวงพ่อแช่ม ฉบับสมบูรณ์ขึ้น เป็นหนังสือปกแข็งขนาดมาตรฐาน หนา ๓๑๘ หน้า พิมพ์สี่สี ด้วยกระดาษอาร์ตอย่างดีทั้งเล่ม โดยได้บรรจุเรื่องราวต่างๆ อันน่าสนใจไว้อย่างครบถ้วน ทั้งเรื่องของ ประวัติหลวงพ่อแช่ม ประสบการณ์อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เลื่องลือกันมาช้านาน และที่สำคัญคือ ประวัติการสร้าง เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง รุ่นต่างๆ รวมทั้งวัตถุมงคลอื่นๆ ไว้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการจัดพิมพ์ หนังสือประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง มาก่อนหน้านี้
ชัยนฤทธิ์ กล่าวว่า จากการที่ได้เช่าบูชา พระเครื่อง พระหลวงพ่อแช่ม วัดฉลองทำให้ทราบถึงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน และเมื่อได้อ่านประวัติอย่างละเอียดแล้ว ยิ่งประทับใจในเกียรติคุณของท่านมาก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้มีการจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพื่อเผยแพร่เกียรติประวัติและคุณความดีต่างๆ ที่หลวงพ่อได้ทำไว้ให้กับแผ่นดิน อันจะได้เป็นเยี่ยงอย่างที่อนุชนคนรุ่นต่อไปได้พึงยึดถือไว้เพื่อปฏิบัติตาม ในส่วนของนักสะสมพระเครื่อง ก็จะได้ใช้เป็นคู่เมืองในการเช่าหาพระหลวงพ่อแช่มได้อย่างถูกต้อง เพราะมีข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพวัตถุมงคลทุกภาพในหนังสือเล่มนี้ได้มีการคัดเลือก ตรวจสอบมาแล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงล้วนเป็น ของแท้ ที่สามารถยึดถือเป็นแนวทางในการสะสมพระหลวงพ่อแช่ม วัดฉลองได้เป็นอย่างดีที่สุด
แล่ม จันท์พิศาโล ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (150685) | |
เนื้อหาค่อนข้างดีน๊ค่^^ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น เป้ วันที่ตอบ 2012-02-07 17:44:18 |
ความคิดเห็นที่ 2 (156252) | |
เนื้อหาดีมากๆ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น หมิวเชือน วันที่ตอบ 2015-07-21 10:20:30 |
[1] |