พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม พระร่วงนั่งหลังลิ่ม พบครั้งแรกที่ กรุวัดช้างล้อม สุโขทัย วัดช้างล้อมนี้เป็นวัดสำคัญสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น บริเวณวัดแห่งนี้มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่ฐานโดยรอบมีรูปปั้นช้างอยู่โดยรอบฐานพระเจดีย์ นับได้ 36 เชือก สันนิษฐานว่าสร้างไว้ตั้งแต่ราวปี พ.ศ.1829-1835 และพระเจดีย์ในลักษณะนี้ยังพบที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่สร้างในรูปแบบเดียวกันคือที่ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานมีขนาดใหญ่และมีรูปปั้นช้างรายรอบอยู่ที่ฐานลักษณะเดียวกับที่วัดช้างล้อม สุโขทัย ที่กำแพงเพชรเรียกชื่อวัดว่า "วัดช้างลอบ" ส่วนที่วัดช้างล้อม สุโขทัยนี้ประมาณปี พ.ศ.2480 ได้มีการขุดพบพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ที่ด้านหลังเป็นร่องราง ซึ่งสังเกตดูที่ด้านหลังแล้ว ตอนที่เทหล่อพระต้องมีแบบพิมพ์ประกบที่ด้านหลัง และสามารถดูเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่ด้านหลังได้ ซึ่งถือเป็นข้อสรุปพระแท้-ไม่แท้ได้ด้วย เนื่องจากลักษณะที่ด้านหลังเป็นร่องคล้ายลิ่ม จึงมีการตั้งชื่อว่า "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" นั่นเองครับ พระที่พบทั้งหมดเป็นเนื้อชินเงิน หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2495 ก็มีการพบอีกครั้งที่กรุเดียวกัน และในปี พ.ศ.2500 ยังพบพระในลักษณะเดียวกันอีกที่บ้านแก่งสาระจิต และกรุวัดเจดีย์เจ็ดแถว แต่พระที่พบที่บ้านแก่งสาระจิตและกรุเจดีย์เจ็ดแถวนั้น พระจะมีผิวปรอทขาวมากกว่า ส่วนพระที่พบที่กรุวัดช้างล้อมนั้นจะมีผิวดำเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2507 ยังพบพระร่วงนั่งที่มีลักษณะคล้ายกับพระร่วงนั่งหลังลิ่มอีกที่กรุวัดเขาพนมเพลิง แต่องค์พระจะไม่ค่อยลึกชัดนักและมีขนาดเล็กกว่าของกรุวัดช้างล้อม อีกทั้งด้านหลังจะเป็นแบบหลังตันทั้งหมด เข้าใจว่าน่าจะสร้างล้อหลังจากที่สร้าง พระร่วงนั่งหลังลิ่มกรุวัดช้างล้อม แล้ว พุทธลักษณะของ พระร่วงนั่งหลังลิ่ม มีศิลปะไม่ค่อยเป็นแบบศิลปะสุโขทัยนัก ศิลปะจะออกไปทางศิลปะอู่ทองสุวรรณภูมิ เนื่อง จากมีไรพระศกและเส้นขอบสบงเด่นชัด พระเกศก็เป็นแบบฝาละมีคว่ำ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ ส่วนพุทธคุณดีครบเครื่อง และเด่นในทางด้านแคล้วคลาดภยันตราย ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก สวยๆ สนนราคาอยู่ที่หลักแสนต้นๆ ครับในวันนี้ก็นำรูปมาให้ชมกันหนึ่งองค์ครับ ข่าวพระเครื่อง พระร่วงนั่ง กรุบางขลัง เนื้อชินเงิน |