พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ชั่วโมงเซียน"เต้ สระบุรี" ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพระกรุ เก่าสมัยโบราณ ![]()
คมชัดลึก ในส่วนของพระเครื่องนั้น มักพบเป็นพระเครื่องเนื้อดิน ขนาดใหญ่ ยากที่จะแขวนติดตัว พุทธลักษณะส่วนเด่นชัดคือ ที่พระเศียรมีขนาดเม็ดพระศกใหญ่ หน้าแบน คิ้วทำเป็นเส้นนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา ดวงตานูนหนา ริมฝีปากหนา กรุที่พบพระเครื่องสมัยทวาราวดีเด่นๆ คือ เมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี เมืองไพร เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองนาดูน ในแถบจ.กาฬสินธุ์ เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ในส่วนของพระเครื่องที่มีอายุคาบเกี่ยวในยุคทวาราวดีที่เป็นที่นิยมกันในวงการพระเครื่อง อาทิ พระนาคปรกเมืองไพร พระนาคปรกนาดูน พระถ้ำเสือ (ทวาราวดียุคปลาย) จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น สมัยศรีวิชัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ เป็นสมัยที่มีอายุใกล้เคียงกับสมัยทวาราวดี เป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน ส่วนใหญ่โบราณวัตถุที่พบมักเป็นพระบูชา ประเภทพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปดินดิบ พระพิมพ์ดินดิบ โดยมากอาณาจักรศรีวิชัยในไทยจะพบแถบภาคใต้ โดยเฉพาะ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี สมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ เป็นสมัยที่เกิดการเผยแพร่วัฒนธรรมของเขมร จากกัมพูชามายังไทย ซึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กำหนดเรียกสมัยนี้ว่า "วัฒนธรรมลพบุรี" ซึ่งหมายถึง โบราณสถานเขมรที่พบในประเทศไทย รวมทั้งโบราณวัตถุ ที่ทำขึ้นในไทย โดยมีแบบศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา แต่ต่อมา นักวิชาการบางท่านเห็นว่า เป็นการจำแนกแบบทับซ้อน จึงหันมาเรียก แบบศิลปะเขมร หรือ ศิลปะร่วมแบบเขมร แต่ไม่มีกำหนดอย่างเป็นทางการ พระบูชาสมัยลพบุรีนี้มีแบบพระพุทธรูป และเทวรูป โดยส่วนใหญ่พบในเขตตอนกลางประเทศ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ จ.ลพบุรี ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่พบพระบูชา พระเครื่อง สมัยนี้มากที่สุด จนเป็นที่มาของชื่อสมัย พระบูชาส่วนใหญ่ที่พบนั้น มักมีสนิมออกไซด์เป็นสีเขียว เนื่องจากวัสดุที่สร้างมาจากทองแดง-ทองเหลือง เป็นหลัก ในวงการพระจึงมักเรียกว่า "สนิมหยก" ส่วนในแบบของพระเครื่องนั้น เรามักพบสร้างด้วยเนื้อตะกั่วเป็นหลัก อย่างในสกุลพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง ซึ่งเมื่อสร้างจากเนื้อตะกั่วจึงเกิดสนิมเป็นสีลูกหว้าสีแดง ในวงการพระจึงเรียกว่า เนื้อตะกั่วสนิมแดง นอกจากพบใน จ.ลพบุรี แล้ว ใน จ.สุโขทัย สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี เรายังพบพระบูชาและพระเครื่องที่เป็นสกุลเดียวกัน ซึ่งจัดได้ว่า อยู่ในสมัยลพบุรีเช่นกัน ส่วนพระเครื่องที่พบร่วมกรุที่เป็นเนื้อชินเงินนั้น น่าจะเป็นพระที่อยู่ในสมัยลพบุรียุคปลาย พระกรุเก่า สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ กรุงสุโขทัยจัดได้ว่า เป็นเมืองที่มีศิลปวัฒนธรรมงดงาม อ่อนช้อย ต้องตาต้องใจนักสะสมของเก่าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพระบูชาสมัยสุโขทัย งดงามอ่อนช้อย สรีระงดงามมาก ใบหน้าเป็นรูปไข่ ปลายรัศมีเป็นทรงเปลว เม็ดพระศกเป็นก้นหอย รูปร่างอวบอิ่ม นิ้วเรียวยาว เราจะเห็นแบบของพระเครื่องที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยได้อย่างชัดเจน คือ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ พระลีลา กรุถ้ำหีบ พระเครื่องในสมัยสุโขทัย นิยมทำกันทั้งแบบเนื้อดิน และเนื้อชิน ในส่วนของพระร่วงหลังรางปืน ที่พบที่ศรีสัชนาลัย สุโขทัย จะเห็นได้ว่าเป็นแบบลพบุรี เนื้อตะกั่วสนิมแดง มาบรรจุอยู่ที่สุโขทัย พระกรุเก่า สมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นผู้เลือกพื้นที่ในการสร้างราชธานีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ราบ ปากแม่น้ำถึง ๓ สาย โดยได้รับความสนับสนุนจากเมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรีปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้เอง ศิลปกรรมของอยุธยาในยุคต้น จึงได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบทวาราวดี และแบบลพบุรี (ขอม) ที่มีอยู่ในสุพรรณบุรี มาผนวกกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง จนมีการเรียกกันว่า "ศิลปะแบบอู่ทอง" พุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยนี้มีพระพักตร์ผสมไปด้วยศิลปะทวาราวดี และลพบุรีเข้าด้วยกัน จนเราต้องแยกเป็น ศิลปะอู่ทอง ๑ อู่ทอง ๒ และอู่ทอง ๓ ลักษณะศิลปะแบบนี้ ยังได้ถ่ายทอดลงสู่พระเครื่องดังของสุพรรณบุรีอย่างชัดเจน คือ พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ทำให้เราทราบได้อย่างแน่ชัดว่า เป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยอยุธยายุคต้น อย่างแน่นอน ในยุคต่อมา อยุธยามีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวัฒนธรรมอย่างสูงสุด มีการสร้างรูปแบบศิลปะทรงเครื่อง ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น จนเป็นต้นแบบให้สมัยรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา ส่วนในด้านพระเครื่องนั้น มักมีการสร้างไว้ทั้งแบบเนื้อดินและเนื้อชินเงิน โดยเฉพาะกรุวัดราษฎร์บูรณะ ถือได้ว่า เป็นกรุพระเครื่องสมัยอยุธยาที่ใหญ่ที่สุดกรุหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งจะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไปข่าวพระเครื่อง คมชัดลึก |