พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
เส้นทางนักพระเครื่อง2 0 แล่ม จันท์พิศาโล 0 คมชัดลึก (ต่อจากฉบับวันเสาร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม) หลังจากประสบความสำเร็จจาก สนามพระท่าพระจันทร์ แล้วชัยนฤทธิ์เริ่มขยายสาขา โดยไปเปิดร้านที่ ชมรมพระเครื่องมณเฑียรพลาซ่า ถนนสุรวงศ์ ในตอนเย็นถึงค่ำ เพราะที่นี่เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของลูกค้าอีกระดับหนึ่ง ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะ ก็ได้ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ต่อมาเมื่อ ชมรมพระเครื่องมรดกไทย บนชั้น ๓ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ได้ขยายพื้นที่กว้างขึ้น ชัยนฤทธิ์จึงมาเปิดร้าน "ช้างให้ บางคลาน" ขึ้นที่นี่อีกแห่งหนึ่ง โดยนำชื่อของ วัดช้างให้ กับ วัดบางคลาน (หลวงพ่อเงิน) มารวมกัน ตรงจุดนี้ ทำให้ชื่อของชัยนฤทธิ์เป็นที่รู้จักของลูกค้าอย่างกว้างขวางมากขึ้นไปอีก ในฐานะที่เป็น ร้านพระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ สายตรงที่มี พระหลวงพ่อทวด แท้ๆ แทบทุกรุ่น ไว้บริการตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ชัยนฤทธิ์ได้จัดทำนิตยสารพระเครื่องขึ้นมาฉบับหนึ่ง เป็นของตนเองโดยเฉพาะ ชื่อว่านิตยสาร "พระเครื่องล้ำค่า" เป็นนิตยสารรายเดือน พิมพ์สี่สีทั้งฉบับ โดยมี คุณอุทัยวรรณ พันธุ์ทอง ศรีภรรยา เป็นผู้ดูแล พร้อมกับทีมงานที่ล้วนเป็นลูกหลานจาก จ.สงขลา ชวนกันขึ้นมาทำงาน ช่วงแรกๆ ไม่มีใครเป็นงานด้านนี้มาก่อน ต้องช่วยกันฝึกฝน จนทุกวันนี้มีความชำนาญงานพอสมควร ถ่ายรูปได้ เขียนข่าวเป็น จัดรูปเล่มวางรูปวางเรื่องได้อย่างสวยงามและลงตัว นับเป็นการสร้างงานให้แก่ลูกหลาน และน้องๆ ชาวใต้ด้วยกัน ได้ทำงานมีเงินทองใช้จ่ายโดยทั่วกัน ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกสายตาในการดูพระเครื่องประเภทต่างๆ ไปในตัวด้วย นิตยสารพระเครื่องล้ำค่า วางจำหน่ายมาจนถึงทุกวันนี้เป็นฉบับที่ ๖๙ เป็นเวลานานกว่า ๖ ปีแล้ว นับเป็นนิตยสารพระเครื่องอีกฉบับหนึ่งที่มีเนื้อหาสาระดีมีคุณค่า เพราะลงแต่ภาพ พระแท้ ให้ได้ศึกษา และเช่าหากันอย่างมากมาย ในราคาที่เป็นธรรม ทำให้นิตยสารฉบับนี้ได้รับความเชื่อถือจากผู้อ่านทั่วประเทศในระยะเวลาอันสั้น ขณะเดียวกัน ชัยนฤทธิ์ก็ได้จัดทำ หนังสือเฉพาะกิจ ออกวางจำหน่ายมาแล้ว ๕ เล่ม เป็นหนังสือปกแข็งได้มาตรฐาน หนากว่า ๓๐๐ หน้า พิมพ์สี่สี ด้วยกระดาษอาร์ตอย่างดี จำหน่ายเล่มละ ๑,๕๐๐ บาท ปรากฏว่า ทุกเล่มประสบความสำเร็จ ขายดีจนต้องพิมพ์ครั้งที่ ๒ ก็มี หนังสือเฉพาะกิจเล่มแรก คือ พระหลวงพ่อทวด ฉบับสมบูรณ์ วัดช้างให้ จ.ปัตตานี เป็นการรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ หลวงพ่อทวด พระอริยสงฆ์เจ้าสมัยกรุงศรีอยุธยา ไว้อย่างละเอียด รวมทั้งประวัติ พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ผู้สร้าง พระหลวงพ่อทวด เป็นครั้งแรกขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๗ นอกจากนี้ยังมี ภาพพระหลวงพ่อทวด รุ่นต่างๆ ที่พระอาจารย์ทิมได้ปลุกเสกไว้ ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ จนถึงปี ๒๕๑๑ อันเป็นรุ่นสุดท้าย ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไปเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ หนังสือเล่มนี้ ชัยนฤทธิ์ ได้ทุ่มเททั้งสติปัญญา กำลังกายกำลังใจ และเวลาเป็นแรมปี เพื่อเสาะหาประวัติอย่างละเอียด ตลอดจนไปสัมภาษณ์จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำให้ได้ข้อมูลมาอย่างสมบูรณ์มาก ขณะเดียวกันก็ได้ภาพประวัติศาสตร์ หลวงพ่อทวด และ พระอาจารย์ทิม มากเป็นพิเศษอีกด้วย รวมทั้งภาพ พระหลวงพ่อทวด ครบถ้วนทุกรุ่นทุกพิมพ์ทุกเนื้อ อันเป็นพระหลวงพ่อทวดที่พระอาจารย์ทิมได้ปลุกเสกไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานชาวไทยผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสได้เอาไว้สักการบูชา...จนทุกวันนี้ ความครบถ้วนสมบูรณ์ของหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งการจัดรูปเล่มการวางหน้าหนังสือที่อ่านง่าย และสวยงาม ทำให้ได้รับรางวัล หนังสือดีเด่นแห่งปี ๒๕๔๖ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ โดยได้รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่ง และความภาคภูมิใจของชัยนฤทธิ์เป็นอย่างยิ่ง หนังสือเฉพาะกิจเล่มที่ ๒ คือ "พระเครื่องล้ำค่าเมืองใต้" เป็นการรวม ภาพพระเครื่องของเมืองใต้ครบทั้ง ๑๔ จังหวัด ซึ่งยังไม่เคยมีใครจัดทำได้อย่างสมบูรณ์และสวยงามมาก่อนหน้านี้ แม้แต่ จ.สตูล ซึ่งเป็นจังหวัดเล็กๆ และมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ก็ยังมีวัดพุทธที่มีเหรียญเก่าแก่ออกเมื่อปี ๒๔๘๓ คือ เหรียญพระพุทธรูป วัดชนาธิปเฉลิม สร้างโดย หลวงพ่อเปลื่อง ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ จ.พัทลุง ชัยนฤทธิ์ก็ได้เดินทางไปค้นคว้าเสาะหาข้อมูลมาลงไว้ในหนังสือเล่มนี้ ท่านที่ต้องการศึกษา พระเครื่อง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ต้องหาหนังสือเล่มนี้ไว้เป็นคู่มือ หนังสือเฉพาะกิจเล่มที่ ๓ คือ "คัมภีร์ล้ำค่าจตุคามรามเทพ" เล่มนี้ออกมาต้อนรับกระแสนิยม จตุคามรามเทพ ช่วงปี ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา แม้ว่าช่วงนี้กระแสนิยมจะแผ่วเบาลงแล้วก็ตาม แต่คุณค่าของหนังสือเล่มนี้ยังมีอยู่อย่างครบถ้วน อีก ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า จตุคามรามเทพ จะมีวงจรครบวาระหวนกลับมาดังอีกครั้งหนึ่ง ลูกหลานในวันนั้น ที่เพิ่งหันมาสนใจวัตถุมงคล จตุคามรามเทพ ก็จะได้ใช้เป็นคู่มือในการค้นหาศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง หนังสือ "คัมภีร์ล้ำค่าจตุคามรามเทพ" เล่มนี้ได้รับ รางวัลหนังสือดีเด่น จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ อีกเล่มหนึ่ง โดยได้รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่นกัน หนังสือเฉพาะกิจเล่มที่ ๔ คือ หนังสือ "พระองค์ครูหลวงพ่อทวด" เล่ม ๑ เป็นการรวมประวัติ และ ภาพพระหลวงพ่อทวด เฉพาะ พระบูชา เนื้อว่าน เนื้อปูน และ ภาพพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ครบทุกพิมพ์ โดยคัดเอาเฉพาะองค์ที่สวยคมชัด ทั้งพิมพ์ทรงองค์พระ และเนื้อหามวลสาร เพื่อให้เป็น "พระองค์ครู" หรือพระองค์ตัวอย่างสำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้ชนิด "เจาะลึกพระหลวงพ่อทวด" อย่างแท้จริง หนังสือเฉพาะกิจ เล่มที่ ๕ คือ หนังสือ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พระอริยสงฆ์ผู้เป็นที่เคารพสักการะและเทิดทูนของชาว จ.ภูเก็ต และชาวใต้ทุกคนตลอดมา ในฐานะผู้นำในการปราบกบฏอั้งยี่ที่ก่อกวนความสงบสุขในเมืองภูเก็ต เมื่อปี ๒๔๑๙ จนพวกอั้งยี่พ่ายแพ้ไปในที่สุด ในเวลาต่อมา ทางวัดฉลองได้มีการสร้าง พระหลวงพ่อแช่ม ขึ้น ภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้วเมื่อปี ๒๔๕๑ โดยมีการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกเมื่อปี ๒๔๘๖ และมีการสร้างวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ เป็นระยะๆ จนถึงทุกวันนี้ ปรากฏว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม ทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยมแสวงหากันอย่างกว้างขวาง หนังสือ หลวงพ่อแช่ม ฉบับสมบูรณ์ ของชัยนฤทธิ์เล่มนี้ มีข้อมูลทั้งเรื่องประวัติวัด ประวัติหลวงพ่อแช่ม และรายละเอียดของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ของหลวงพ่อแช่ม ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ขณะนี้หนังสือเล่มนี้กำลังวางจำหน่ายอยู่ (สอบถามได้ที่โทร.๐๘-๑๔๔๖-๐๙๗๖)
หลักการศึกษา และ พิจารณาพระหลวงพ่อทวด สำหรับผู้ริเริ่มให้ความศรัทธาสนใจนั้น ชัยนฤทธิ์แนะนำว่า "อันดับแรก คือ พิมพ์พระ จะต้องพิจารณาให้ออกว่าเป็นพระพิมพ์อะไร แต่ละพิมพ์แยกย่อยเป็นพิมพ์อะไรบ้าง เช่น พิมพ์ใหญ่ หัวมีขีด พิมพ์ใหญ่ ไหล่จุด ฯลฯ อันดับต่อไป คือ เป็นพระถอดพิมพ์หรือไม่ ถ้าเป็นพระถอดพิมพ์ หรือพระปลอม พิมพ์ทรงองค์พระจะขาดความคมชัด ไม่เหมือนองค์จริง พระปลอมขนาดองค์พระจะไม่เท่ากับพระแท้ ไม่ใหญ่กว่าก็ต้องเล็กกว่า และอันดับสุดท้ายที่ต้องจดจำให้แม่น คือ เนื้อหามวลสารพระหลวงพ่อทวด ซึ่งสร้างจากเนื้อว่าน ๑๐๘ ปูนขาว กล้วยป่า ผงขี้ธูป ดินกากยายักษ์ ดอกไม้แห้ง น้ำว่าน ๑๐๘ น้ำพระพุทธมนต์ เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยาย จะพบเห็นเม็ดแร่สีขาวขุ่น สีดำ สีขาวอมเหลือง สีน้ำตาล และเม็ดทรายสีขาว และผงวิเศษ ซึ่งจะปรากฏมากทางด้านหลังขององค์พระ" นอกจากนี้ ชัยนฤทธิ์ยังได้แนะนำว่า องค์ประกอบของพระหลวงพ่อทวด ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน หรือพิมพ์ไหนก็ตาม หากได้ศึกษาจากหนังสือที่มีภาพพระหลวงพ่อทวดขนาดใหญ่พอสมควร และเป็นภาพที่มีความคมชัดมาก ก็จะสามารถเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนชัดเจน สำหรับหนังสือ "พระองค์ครูหลวงพ่อทวด" ผลงานล่าสุดของชัยนฤทธิ์ ยังได้ก้าวไกลไปอีกขั้นหนึ่ง โดยถ่ายภาพองค์พระหลวงพ่อทวดไว้ถึง ๕ ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา และด้านล่าง ทำให้เห็นมิติขององค์พระได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน อันเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้สนใจพระหลวงพ่อทวด เข้าใจในพิมพ์ทรงองค์พระได้อย่างถูกต้องยิ่งๆ ขึ้น เมื่อมีโอกาสได้พบเห็นพระองค์จริงบ่อยๆ ก็จะสามารถพิจารณาได้ว่า เป็นพระแท้หรือพระปลอมกันแน่ ชัยนฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า "อนาคตของพระหลวงพ่อทวด ยังคงสดใสไปอีกนาน เพราะทุกวันนี้ มีผู้เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้น ในขณะที่พระหลวงพ่อทวด (เฉพาะที่พระอาจารย์ทิมปลุกเสก) มีจำนวนเท่าเดิม จึงเกิดการแสวงหามากขึ้นกว้างขึ้น และราคาก็แพงขึ้นด้วย สมัยก่อนเซียนพระส่วนกลาง (กทม.) ยังจับจุดพระหลวงพ่อทวดของแท้ไม่ได้ ทำให้ไม่รู้ว่า ต้องพิจารณาตรงไหนบ้าง การเช่าหาพระหลวงพ่อทวดจึงยังไม่กว้างขวาง ซื้อไปทีไรกลายเป็นพระปลอมทุกที เป็นเช่นนี้บ่อยๆ ก็ท้อใจ แต่ทุกวันนี้เซียนพระในกรุงเทพฯจำนวนมาก ได้ข้อยุติในการพิจารณาพระหลวงพ่อทวดกันแล้ว ทำให้กล้าซื้อในวงที่กว้างขึ้น แม้แต่พระหลวงพ่อทวดที่มีราคาแพงๆ ก็กล้าซื้อ เพราะซื้อมาขายไปย่อมมีกำไรเสมอ พระแท้เอาไปให้คนที่ดูพระเป็น จะบอกตรงกันว่าเป็นพระแท้วันยังค่ำ และสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เสมอ ทุกวันนี้...นอกจากชัยนฤทธิ์จะมีร้านพระ และนิตยสารพระของตนเอง รวมทั้งการจัดทำหนังสือเฉพาะกิจอย่างต่อเนื่องแล้ว กิจกรรมอย่างหนึ่งของชัยนฤทธิ์คือ การมีส่วนร่วมในการจัดงานประกวดพระอยู่เป็นประจำ เพราะความมีน้ำใจกว้างใหญ่ไพศาล ระดับ "เศรษฐีน้ำใจ" ก็ว่าได้ จึงทำให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการพระให้ความเคารพรักนับถือชัยนฤทธิ์กันโดยทั่วไป งานประกวดพระครั้งไหนก็ตาม หากมีชัยนฤทธิ์ให้ความร่วมมือ หรือเป็นผู้ประสานงานด้วยแล้ว งานประกวดพระครั้งนั้น จะต้องมียอดจำหน่ายกล่องพระ (บัตรลงทะเบียนพระ) สูงกว่า ๒ ล้านบาทเสมอ ล่าสุด...เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤษภาคมที่ผ่านมา งานประกวดพระของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาชายฝั่ง กองทัพเรือ ที่ชั้น ๘ อาคารพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน มียอดรายได้รวมทั้งหมดถึง ๔ ล้านบาท เฉพาะค่าจำหน่ายกล่องพระ (บัตรลงทะเบียนพระ) มียอดสูงถึง ๒.๔๕ ล้านบาท สำหรับตำแหน่งงานในวงการพระที่ผ่านมา ชัยนฤทธิ์เป็นอดีต ประธานชมรมพระเครื่องเมืองสงขลา ส่วนในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย (ที่มี พยัพ คำพันธุ์ เป็นนายกฯ) และเป็น รองประธานชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง (ที่มี สมศักดิ์ ศกุนตนาฏ เป็นประธานชมรมฯ) และเพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของแผ่นดินถิ่นกำเนิด ชัยนฤทธิ์จึงได้เชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการพระ ไปร่วมบุญจัดสร้าง วิหารจตุรมุข พร้อมทั้งหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของ หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่อ ๒ ปีก่อน ขณะนี้งานก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ และได้ประกอบพิธีเปิดไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ โดยเสียค่าก่อสร้างทั้งหมด ๔ ล้านกว่าบาท นับเป็นผลงานที่ชัยนฤทธิ์ภาคภูมิใจมาก ในแวดวง เซียนพระสายหลวงพ่อทวด ทุกวันนี้ ชัยนฤทธิ์ พันธุ์ทอง อาจจะไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่หากมีการจัดอันดับ ๑ ถึง ๑๐ สุดยอดเซียนพระสายหลวงพ่อทวดกันขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องมีชื่อของ "ชัยนฤทธิ์ พันธุ์ทอง" รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ข่าวพระเครื่อง |