พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระสกุลลำพูน
พระสกุลลำพูน เมืองหริภุญชัย
พระกรุจังหวัดลำพูน
1. อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) วัดนี้ตั้งอยู่ตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของฝั่งแม่น้ำกวง ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้างและเป็นที่ตั้งของร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายชำรุด ศิลปะแบบช่างหริภุญชัย นอกจากนี้ยังขุดพบศิลาจารึกอีกหลายหลัก การขุดพบพระเครื่องของวัดนี้ พระสกุลลำพูนได้แก่ พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระเปื๋อย พระสิบแปด พระกล้วย เป็นต้น 2. อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพระอารามย่อยๆ อยู่ทางทิศเหนือของประตูช้างสี ซึ่งเป็นทวารพระนครเบื้องทิศเหนือ ห่างจากประตูเมืองประมาณ 500 เมตร วัดนี้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่เห็นเป็นของใหม่ที่สร้างบนรากฐานเดิม องค์พระเจดีย์มีการปฏิสังขรณ์ใหม่แต่ยังคงรูปร่างคล้ายของเดิม พระเครื่องที่ขุดพบคือ พระคง และ พระบาง ซึ่งพระบางของกรุวัดพระคงนี้จะเป็นคนละพิมพ์กับของวัดดอนแก้ว พระสกุลลำพูนปัจจุบันนี้มักจะเรียกกันว่าพระคงทรงพระบาง เป็นต้น 3. มหาวนาราม (วัดมหาวัน) พระอารามนี้อยู่นอกกำแพงเมือง ทางทิศตะวันตก ห่างจากประตูมหาวันอันเป็นประตูเมืองด้านตะวันตกประมาณ 50 เมตร และที่วัดแห่งนี้เอง ได้ขุดพบพระเครื่อง พระสกุลลำพูนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดนี้คือ พระรอดลำพูนและพระเครื่องอื่นอีก เช่น พระสาม พระสิบสอง พระกวาง เป็นต้น ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ 4. มหารัตตาราม (วัดประตูลี้) พระอารามแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ นอกกำแพงเมืองไปทางประตูลี้ ซึ่งเป็นประตูทางด้านทิศใต้ ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ 120 เมตร การพบพระเครื่องพระสกุลลำพูนของวัดนี้คือ พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวงพิมพ์ต่างๆ พระฤๅ และ พระสิบสอง เป็นต้น พระเปิม มีลักษณะโดยทั่วๆ ไปคล้ายกับ พระคง แต่มีสัณฐานเขื่องกว่ามาก และมีรายละเอียด ทั้งสัดส่วนต่างกันอยู่บ้าง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พิงผนังโพธิบัลลังก์ ลักษณะของกิ่งก้านและใบโพธิ์จะละเอียดงดงามมาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดเขื่องจึงสามารถแกะรายละเอียดได้อย่างคมชัดงดงาม พระเปิม เป็นพระเนื้อดินเผาแบบเดียวกับ พระคง พระบาง และ พระเลี่ยง พระสกุลลำพูน ในเรื่องการตีความหมายของชื่อพระสกุลลำพูน เช่น พระรอด พระคง พระบาง พระเปิม และ พระเลี่ยง นั้น บางท่านก็คิดมากจนเกินไป ซึ่งความจริงแล้วการตั้งชื่อพระ พระสกุลลำพูนที่พบในสมัยนั้นเขาไม่ได้คิดมากมายอะไร โดยตั้งชื่อเพื่อให้จำได้หมายรู้เท่านั้น เช่น พระรอด ความหมายก็คือพระขนาดเล็กซึ่งองค์พระมีขนาดเล็กกว่าพระอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ซึ่งเป็นความหมายของคำเมือง พระคง ความหมายก็คือองค์พระมีความล่ำสันและพระก็มีความหนามั่นคง หรือเรียกตามกรุที่พบ พระบางก็มีรูปร่างคล้ายพระคง แต่องค์มีความบอบบางกว่าพระคง และพระก็บางกว่าพระคง จึงเรียกว่าพระบาง พระเลี่ยง ก็มาจากคำเมืองที่ว่า เลี่ยม หมายความว่าแหลม รูปร่างของพระเลี่ยงนั้น ยอดเป็นปลายแหลมนั่นเอง พระเปิม ก็มาจากคำเมืองเช่นกัน ซึ่งมาจากคำว่าเปิ้ม คือใหญ่ อ้วน หรือแป้นป้าน นั่นเองครับ เปิ้ม หรือเบิ้ม ในภาคกลางนั้นมีความหมายคล้ายกันครับ ชื่อต่างๆ เมื่อเรียกกันไปนานๆ ก็เพี้ยนกันไปเป็นอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้เองครับ ในครั้งหนึ่งเคยมีคนกล่าวค้านเรื่องชื่อของพระเปิม ที่มีผู้กล่าวว่ามาจาก พรหม แล้วเพี้ยนมาเป็น พรัม แล้วมาเป็น เพิม จนเป็น เปิม ในที่สุดนั้น เป็นเรื่องที่เขาเอามาจากหนังสือของอาจารย์ตรียัมปวาย ซึ่งได้เขียนสันนิษฐานเอาไว้หลายด้าน แต่เขาเอามาพูดไม่หมด จึงเป็นที่ข้องใจกันอยู่ และเขียนมาถามผม ผมก็ได้บอกเล่าไปตามที่หนังสือของอาจารย์ตรีฯ ที่ท่านเขียนสันนิษฐานไว้ในทุกด้าน แต่ความจริงตามความคิดของผม ว่าน่าจะมาจากคำว่าเปิ้มเช่นกัน เนื่องจากได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดกันมานานแล้ว และได้สอบถามคนลำพูน เขาก็ว่ามาจากคำว่า เปิ้ม ครับ โม้มาเสียนานวันนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ และในวันนี้ก็ได้นำ พระสกุลลำพูน รูปพระเปิมมาให้ชมกันครับ ดูซิว่าเปิ้มจริงหรือเปล่าครับ ข่าวพระเครื่อง ด้วยความจริงใจแทน ท่าพระจันทร์ ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (152917) | |
สวยมากองค์นี้ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น สวยมากครับ วันที่ตอบ 2014-07-03 10:48:49 |
[1] |