พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ![]() ![]() สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระราชาคณะในขณะนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับจากวันนั้น ถึงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา นับเป็นวาระดิถีครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ๑๙ ปีพอดี ในโอกาสอันสำคัญนี้ วัดบวรนิเวศวิหารจึงได้จัดบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศล เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๑ พร้อมทั้งการบำเพ็ญพระกุศลทักษิณานุปทาน ถวายแด่สมเด็จพระบูรพาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช ทั้ง ๑๘ พระองค์ และพระบูรพาจารย์ ที่พระตำหนักเพ็ชร และเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑ ได้จัดพิธีบำเพ็ญพระกุศล ครบปีที่ ๑๙ แห่งการสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมทั้ง พิธีเปิดนิทรรศการพระประวัติ พระศาสนกิจ พระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้ง ๑๙ พระองค์ ณ พระตำหนักเพ็ชร พระตำหนักเดิม จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกทั้งหลาย เข้าชมนิทรรศการนี้ได้ "ฟรี" โดยทางวัดจะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ คณะกรรมการโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับประทานพระอนุญาตให้จัดสร้างสิ่งมงคลสักการะในวาระครบรอบปีที่ 19 แห่งการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญรับวัตถุมงคลพระรูปเหมือน ได้ ณ สำนักงานโครงการฯ ข้างพระอุโบสถ หรือสอบถามได้ที่โทร.๐-๒๒๘๒-๒๔๔๗, ๐๘-๑๙๓๕-๕๗๕๔, ๐๘-๑๒๕๖-๓๕๑๐, ๐๘-๔๙๔๐-๐๙๗๒ 0 แล่ม จันท์พิศาโล 0 นิทรรศการ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ พระตำหนักเพ็ชร พระตำหนักเดิม พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า "เจริญ คชวัตร" นามฉายาว่า "สุวัฑฒโน" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จนถึงทุกวันนี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนบุตร ๓ คน ของ นายน้อย คชวัตร และ นางกิมน้อย คชวัตร ชาติกาล ณ บ้านวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๕๖ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ อายุ ๘ ขวบ เข้าศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม จบชั้นประถม ๓ พ.ศ. ๒๔๖๙ มีอายุย่างเข้าปีที่ ๑๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมี พระครูอดุลสมณกิจ (หลวงพ่อดี พุทธโชติ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้ไปเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา จ.นครปฐม ในพรรษานั้น เพื่อกลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม ในพรรษาต่อมา (พ.ศ.๒๔๗๒) พระครูอดุลสมณกิจ ได้พาสมเด็จฯ มาถวายตัวต่อเจ้าประคุณ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (พระยศในขณะนั้นของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่อศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามฉายาว่า "สุวัฑฒโน" พ.ศ.๒๔๗๒ อายุ ๑๗ ปี สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญ ๔ ประโยค พ.ศ.๒๔๗๖ สมเด็จฯ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี โดยมี พระครูอุดมสมณกิจ (หลวงพ่อดี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้อยู่จำพรรษา โดยช่วยสอนปริยัติธรรม ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา ออกพรรษาแล้ว กลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำ ญัตติเป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (พระสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในขณะนั้น) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้จะกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่สมเด็จฯ ยังคงไปมากับวัดเทวสังฆาราม เพื่อช่วยสอนพระปริยัติธรรม อยู่อีก ๒ ปี พ.ศ.๒๔๗๖ อายุ ๒๑ ปี สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค พ.ศ.๒๔๘๔ อายุ ๒๙ ปี สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘ สมเด็จฯ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาสันสกฤต เป็นพื้นฐานด้วยตนเอง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทรงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาเยอรมัน และฝรั่งเศสอีกด้วย โดยทรงใช้เวลาว่างในตอนเย็น หรือกลางคืน ศึกษากับครูคฤหัสถ์ที่มาสอนเป็นการส่วนตัว แต่เนื่องจากไม่มีเวลาศึกษาอย่างติดต่อ ภายหลังจึงได้เลิกร้างไป เมื่อสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว สมเด็จฯ ก็เริ่มรับภาระหน้าที่ต่างๆ ทั้งวัดบวรนิเวศวิหาร ของคณะสงฆ์ และขององค์กรต่างๆ ทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตำแหน่งงาน และสมณศักดิ์...พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พ.ศ.๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ "พระโสภณคณาภรณ์" พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จออกทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ ทรงเลือกสมเด็จฯ เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวช และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมวราภรณ์" รักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกา พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจาก พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระญาณสังวร" วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๓๒ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนา "สมเด็จพระญาณสังวร" เป็น "สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" พระองค์ที่ ๑๙ จนถึงทุกวันนี้ นับเป็นเวลาครบรอบ ๑๙ ปีพอดี ข่าวพระเครื่อง |