พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
หลวงพ่อพระลับ วัดธาตุ คอลัมน์ ไหว้พระ 76 จังหวัด
รัศมีเป็นเปลวตั้งอยู่บนฐานกลีบบัว ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ฐานปัทม์ยกสูงทรงสี่เหลี่ยมบัวคว่ำหงาย และแนวลูกแก้วอกไก่งอนขึ้นทางด้านบน หลวงพ่อพระลับ จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว "สกุลช่างเวียงจันทน์" คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้ว เมืองเวียงจันทน์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 ประวัติเล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 (พ.ศ.2077-2114) เป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง พ.ศ.2090 พระองค์อพยพไปตั้งเมืองหลวงใหม่ ชื่อ "เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค" การอพยพครั้งนี้ได้นำพระแก้วมรกต พระบางพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ไปด้วย ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหมดสร้างในสมัยเชียงแสน เชียงใหม่ และสมัยพระเจ้าโพธิสารมหาธรรมิกราชาธิราช จากการศึกษาพระพุทธลักษณะจึงสันนิษฐานว่า หลวงพ่อพระลับ สร้างขึ้นโดย "พระเจ้าโพธิสาร พระมหาธรรมิกราชาธิราช" ประมาณ ปี พ.ศ.2068 ณ นครหลวงพระบาง เมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 สวรรคต พ.ศ.2114 พระเจ้าศรีวรมงคล ผู้น้องขึ้นครองราชสืบมา พระนามว่า "พระยาธรรมิกราช" (พ.ศ.2134-2165) มีโอรส 1 พระองค์ ชื่อ เจ้าศรีวิชัย เมื่อพระยาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์ กลุ่มของพระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัยจึงหลบหนีพร้อมนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไม่ทราบจำนวน ซึ่งมีหลวงพ่อพระลับ รวมอยู่ด้วย ไปอาศัยอยู่กับท่านพระครูหลวง (เจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ด) เจ้าศรีวิชัย มีโอรสอยู่ 2 คน คือ เจ้าแก้วมงคล และเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ พ.ศ.2233 ท่านราชครูหลวงได้อพยพชาวเวียงจันทน์บางส่วนประมาณ 3,000 คน ไปบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม แล้วพาครอบครัวเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง เนื่องจากท่านราชครูได้รับความเคารพจากประชาชนมาก สองพี่น้องชื่อ นางเพา นางแพง ซึ่งปกครองดูแลเมืองจำปาศักดิ์ จึงได้อาราธนาท่านให้ไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ เมื่อท่านไปปกครองได้ขยายอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ให้กว้างขวางออกไป และสร้างเมืองใหม่ ไม่ขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ได้อัญเชิญ "เจ้าหน่อกษัตริย์" หรือ "เจ้าหน่อคำ" มาเสวยราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาศักดิ์ใหม่ ทรงพระนามว่า "เจ้าสร้อยศรี สมุทรพุทธางกูร" (พ.ศ.2256-2280) และได้ให้เจ้าแก้วมงคล อพยพครอบครัว พร้อมประชาชนพลเมือง นำเอาพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเวียงจันทน์ ไปสร้างเมืองทง หรือ "เมืองสุวรรณภูมิ" (ปัจจุบัน คือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด) เจ้าแก้วมงคล ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนแรก (พ.ศ.2256-2268) จากนั้นก็มีเจ้าเมือง สืบต่อมาจนถึง พ.ศ.2326 "ท้าวภู" ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พระรัตนวงษา" ได้แต่งตั้งให้ลูกชาย "ท้าวศักดิ์" ไปดำรงตำแหน่ง "เมืองแพน" มียศเป็น "เพีย" เทียบเท่าพระยาฝ่ายทหาร ให้ไปตั้งรักษาการอยู่ริมแม่น้ำชี สถานที่นั้น เรียกว่า "ชีโหล่น" ต่อมาถึง พ.ศ.2332 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือเขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ดในขณะนั้น "ท้าวศักดิ์" อพยพประชาชนพลเมือง ประมาณ 330 ครอบครัว พร้อมนำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ไปไว้เคารพสักการะเป็นมิ่งขวัญเมืองด้วย ตั้งบ้านใหม่เรียกว่า "บ้านบึงบอน" และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกบึง เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้น 4 วัด คือ "วัดเหนือ" ให้เจ้าเมืองและลูกไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดกลาง" ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดใต้" ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฏฐาก "วัดท่าแขก" อยู่ฝั่งบึงด้านทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นๆ มาพักประกอบพุทธศาสนพิธี เมื่อสร้างวัดเหนือแล้ว จึงสร้างธาตุมีอุโมงค์ภายในนำเอาพระพุทธรูปไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเหนือเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "พระลับ" หรือ "หลวงพ่อพระลับ" สืบมาจนถึงทุกวันนี้ กระทั่ง พ.ศ.2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" ตั้งให้ "ท้าวศักดิ์" เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า "พระนครศรีบริรักษ์" เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในพระธาตุก็จะเรียกว่า พระลับ เพราะไม่มีใครเคยเห็น ปัจจุบันบ้านพระลับกลายเป็นเทศบาลเมืองขอนแก่น เหลือเป็นอนุสรณ์ คือ ตำบลพระลับ ส่วนวัดเหนือเปลี่ยนชื่อเป็น วัดธาตุ (พระอารามหลวง) สมัยหลวงปู่พระเทพวิมลโมลี (เหล่า สุมโน) เป็นเจ้าอาวาส เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อพระลับ จึงเชิญผู้ว่าฯ ขอนแก่น เป็นสักขีพยานเปิดเผยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองขอนแก่น เมื่อวันออกพรรษาปี 2537 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ (18 ตุลาคม 2537) พระลับจึงประจักษ์แก่สายตาเป็นพระคู่เมืองขอนแก่นนับแต่นั้น ![]() |
ข่าวพระเครื่อง ข่าววงการพระเครื่อง มีข่าวมาบอก