พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
'เหรียญดังที่ดูยากไม่มี ![]() ![]() สันติ อรุณศิริ เป็นชื่อจริงของ “เพชร ท่าพระจันทร์” เซียนพระหนุ่มสายตรงเหรียญพระพุทธรูป และเหรียญพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เซียนเหรียญ” ระดับแถวหน้าคนหนึ่งของเมืองไทย เพชร ท่าพระจันทร์ เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดแถวบางรัก สมัยที่ยังเป็นเด็กเคยนั่งเรือมาเที่ยวสนามหลวง แล้วบังเอิญเดินผ่านเข้าไปในสนามพระที่ท่าพระจันทร์ เห็นเซียนพระคนหนึ่งกำลังซื้อพระจากลูกค้า ก็รู้สึกแปลกใจว่า ทำไมเขาถึงดูพระได้แม่นยำขนาดนั้น หยิบพระขึ้นมาดูก็รู้ได้ทันทีว่า องค์ไหนแท้องค์ไหนปลอม ช่างเก่งจริงๆ รู้สึกประทับใจมากจึงคิดในใจว่า อยากจะเป็นเช่นเซียนพระคนนั้นบ้าง จดจำและฝังใจภาพเหตุการณ์วันนั้นมาโดยตลอด จากวันนั้นเป็นต้นมา "เพชร" จึงได้เริ่มเจียดเงินค่าขนม เอาไปซื้อหนังสือพระมาอ่าน ก็ได้รับความรู้ในระดับหนึ่ง ต่อมาทางบ้านได้ย้ายไปอยู่แถวแฟลตดินแดง ที่นั่นมีแผงพระเปิดขายกันอยู่ที่ใต้ถุนแฟลต และหน้าห้องน้ำแถวโรงหนังจักรวาล ทำให้มีโอกาสได้ดูพระตามแผงต่างๆ อย่างจุใจ พร้อมกับได้ซื้อขายพระกับเขาด้วย ทุกวันจะคลุกคลีอยู่ที่นี่ เพราะไม่ได้ทำงานอะไรนอกจากดูหนังสือเพื่อสอบเทียบ จนได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ในเวลาต่อมา ช่วงที่นั่งตามแผงพระที่แฟลตดินแดง เหรียญอันแรกที่ได้ซื้อมา คือ เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ รุ่นปี ๒๔๘๙ เนื้อเงิน เหรียญนี้ทุกวันนี้ก็ยังเก็บรักษาอยู่ เพราะถือว่าเป็นเหรียญเก่าของสะสมแรกในชีวิต ที่ซื้อมาด้วยความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริง วันหนึ่งจวนมืดค่ำแล้วมีคนเอา พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ ๓ ชั้น (พิมพ์นิยม) มาขาย พันกว่าบาท จึงซื้อไว้ เพราะเห็นว่าถูกมาก ดูจากพิมพ์ทรงองค์พระ และเนื้อมวลสารแล้วน่าจะแท้ พอได้พระมาแล้วก็เอาไปขายต่อทันทีที่ศูนย์พระเครื่องราชดำริ ของ คุณยงยุทธ พินิจประภา ได้เงินมา ๒๒,๐๐๐ บาท รู้สึกดีใจและมีกำลังใจมากด้วย มาถึงจุดนี้ "เพชร" คิดว่า อาชีพซื้อขายพระน่าจะเป็นทางเดินที่เหมาะกับตัวเอง จึงตัดสินใจเริ่มต้นซื้อขายพระอย่างจริงจัง พอดีกับช่วงนั้นที่ ตรอกพญาไม้เชิงสะพานพระปกเกล้าฯ (ติดกับสะพานพระพุทธฯ) ฝั่งธนบุรี เปิดเป็นศูนย์พระเครื่องขึ้นใหม่ จึงไปเช่าไว้แผงหนึ่ง ทำให้ซื้อขายพระได้มากขึ้น รู้จักผู้คนในวงการพระมากขึ้นด้วย และที่นี่...มีผู้ใหญ่หลายท่านให้คำแนะนำที่ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะ “เจ็กม้า” ชมว่า "เพชร" เล่นพระดี พระในแผงสะอาดตา ดูง่าย น่าจะไปอยู่สนามใหญ่ จะได้มีโอกาสเติบใหญ่ง่ายกว่า จึงชวนไปอยู่ที่ สนามพระท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่ได้จุดประกายให้ “เพชร” สนใจในเรื่องพระเครื่องสมัยเด็ก พอได้ยินอย่างนั้นเข้า ก็ดีใจสุดๆ ตอบตกลงทันที นับเป็นก้าวแรกที่ “เพชร” มีโอกาสได้ “แจ้งเกิด” ที่สนามพระท่าพระจันทร์ อันถือได้ว่าเป็น มหาวิทยาลัยพระเครื่องเก่าแก่ที่สุดของเมืองไทย ที่ได้ผลิต เซียนพระระดับมือพระกาฬ มาแล้วมากมาย แผงพระที่ “เพชร” ไปเปิดนั้น เป็นมุมหนึ่งของร้านพระของ “เจ็กม้า” และ “น้าหล่อ” ซึ่งได้เมตตาแบ่งเนื้อที่ให้ "เพชร" เล่าว่า “มาถึงจุดนี้ผมก็ต้องเข้าสนามพระทุกวัน ลูกค้าคนสำคัญคือ ‘ปากคลอง’ สมัยนั้นเขาเปิดร้านอยู่ที่คลองสาน พอผมมาเปิดแผงที่ท่าพระจันทร์ เขาจะมายืนเฝ้าทันที พรึ่บเดียวเฮียปากคลองจะเหมาซื้อของไปหมดเลย ทำให้ผมไม่ต้องอยู่เฝ้าร้าน จึงออกไปหาของต่อ แหล่งใหญ่ที่ได้ของบ่อยๆ คือ ตามงานประกวดพระ ที่มีแผงจรจากที่ต่างๆ เอามาพระวางขาย ทำให้ได้พระดีพระแท้เป็นประจำ บางครั้งก็มี ‘สาย’ ส่งของมาให้ อีกแห่งหนึ่งที่ได้ของบ่อยๆ คือ ร้านเฮียกวง เกษตร (ชาตรี ฉัตรชาตรี) โดยเอาของหลักๆ จากท่าพระจันทร์ไปขาย หรือแลกเปลี่ยนกัน นอกจากนี้ก็มีที่ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ตลาดสะพานใหม่ ดอนเมือง ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดนัดที่นครปฐม ก็มักจะได้ของดีๆ อยู่เสมอ ช่วงนั้นต้องตระเวนหาของตามที่ต่างๆ เพราะหามาได้เท่าไรก็มีคนซื้อหมดไปในเวลาอันสั้น” และจากการที่ลงโฆษณาในหนังสือพระเครื่อง ทำให้มีชาวบ้านติดต่อบอกขายพระมาโดยตรงก็มี หรือเรียกให้ไปดูพระที่บ้าน หากเป็นพระแท้จะซื้อเอาไว้ในราคาที่เป็นธรรม รับซื้อเหรียญเก่า ไม่กดราคาเป็นการรักษาไมตรีเอาไว้ ต่อไปหากเขาจะขายอะไร ก็จะเรียกเราไปอีก อันนี้ถือว่าเป็นความซื่อสัตย์ ความจริงใจกับลูกค้า ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญมาก “เพชร” บอกว่า การได้อยู่ในสนามพระท่าพระจันทร์ ทำให้ต้องเรียนรู้ในการดูพระได้ทุกประเภท เพราะลูกค้าเอาพระอะไรมา ถ้าหากดูไม่เป็นก็จะพลาดโอกาส แผงอื่นได้ไปก็ต้องเสียดาย แถมยังถูกเพื่อนเยาะเย้ยได้อีกว่า ดูพระไม่เป็น จึงต้องดูให้เป็นและกล้าที่จะตัดสินใจซื้อพระได้ทุกอย่าง ซึ่งทุกวันนี้ “เพชร” ก็สามารถทำได้แล้วตามปณิธานที่ตั้งไว้ แต่ที่ชอบเหรียญ ก็เพราะว่า เหรียญมีศิลปะสวยงาม ดูง่าย มีจุดที่บ่งบอกถึงความแท้ได้อย่างชัดเจน หากเป็นของปลอมก็มีข้อยุติ บางเหรียญมีปี พ.ศ.จารึกไว้ บอกถึงความเก่า อีกอย่างหนึ่ง คือ เหรียญที่ขายออกไปมีปัญหาให้ต้องเดือดร้อนในภายหลังน้อยมาก ตกไม่แตก หรือชำรุด ไม่เหมือนอย่างพระเนื้อดินหรือพระผง
หลักการดูเหรียญพระของแท้ของปลอมเป็นอย่างไร ? เพชร บอกว่า "อันดับแรกต้องดูที่ใบหน้าของหลวงพ่อก่อน ซึ่งต้องรู้ว่าเหรียญแท้นั้นใบหน้าหลวงพ่อเป็นอย่างไร ? หากผิดเพี้ยนไปจากที่เคยพบเห็น ก็ต้องตีว่าเก๊ไว้ก่อน ต่อมาดูที่เนื้อโลหะ ผิวเก่า ผิวใหม่ จะมีความแตกต่างกัน สมัยผมเริ่มเข้าสู่วงการใหม่ๆ โชคดีที่ช่วงนั้นเหรียญปลอมมีน้อย เหรียญแท้มีมาก ผมจึงสามารถจดจำใบหน้าของหลวงพ่อในเหรียญต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ในส่วนของจุดตำหนิที่หนังสือพระนิยมชี้ให้ศึกษานั้น เป็นเพียงส่วนประกอบ สำหรับผู้เริ่มศึกษาใหม่ๆ เท่านั้น เพราะต้องไม่ลืมว่า คนทำเหรียญปลอมเขาก็สามารถทำจุดตำหนิเหล่านั้นได้เช่นกัน คนซื้อขายเหรียญระดับมืออาชีพ จะไม่นำจุดตำหนิเหล่านั้นมาพิจารณา เพียงดูใบหน้าของหลวงพ่อก็รู้แล้วว่า เป็นเหรียญแท้ หรือเหรียญปลอมมากกว่า" ในส่วนของ ตัวตัดข้างเหรียญ ก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณาเหรียญแท้เหรียญปลอมได้ด้วย เพราะอย่างที่เข้าใจกัน "ขอบเหรียญ" สมัยก่อนเป็น รอยเลื่อย ในขณะที่เหรียญยุคต่อมาเป็น รอยตัด เหรียญปลอมจะทำตัวตัดไม่เหมือนเหรียญแท้ แต่สำหรับมืออาชีพอย่าง "เพชร" ใบหน้าของหลวงพ่อ และธรรมชาติของเนื้อโลหะเหรียญต้องมาก่อน สำหรับ เหรียญปลอม ที่เรียกว่า "บล็อกคอมพิวเตอร์" นั้น "เพชร" บอกว่าเป็นการถอดพิมพ์จากเหรียญจริง ที่ใช้เครื่องมือทันสมัยขึ้น ด้วยกรรมวิธีแบบใหม่ ที่ให้ความละเอียดประณีตกว่าสมัยก่อน มีการลบรอยผด ทำผิวเหรียญเกลี้ยง แต่ถ้าหากพิจารณาอย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็สามารถจับจุดแตกต่างได้ไม่ยากนัก ในยุคปัจจุบัน มีเหรียญอะไรบ้างที่คิดว่า ดูยากและมีปัญหามากที่สุด "เพชร" ตอบว่า "ความจริงแล้ว เหรียญดูยากในสายตาของมืออาชีพแล้ว ไม่มี ทุกเหรียญมีข้อยุติทั้งสิ้น แต่ปัญหามาจากตัวบุคคลมากกว่า โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างจะมีอิทธิพล หรือคนมีสี ได้ของปลอมไปแล้วไม่ยอมรับความจริง ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่รู้พลอยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของแท้ไปด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่มีราคาแพง ทำให้เป็นเงื่อนไขเป็นปัญหาตลอดมา หากพบปัญหาแบบนี้ก็จะไม่ขอออกความคิดเห็น ไม่ขอวิจารณ์ใดๆ บอกไปก็เปลืองตัวเปล่าๆ" นอกจากเหรียญยุคเก่าๆ แล้ว "เพชร" ยังชอบหาเหรียญแปลกๆ ที่ไม่ค่อยมีใครเขาหากัน อย่างเช่น เหรียญที่ไม่ปรากฏชื่อหลวงพ่อ ชื่อวัด ปี พ.ศ. ทำให้เกิดความอยากรู้ว่าเป็นเหรียญหลวงพ่ออะไร ? ก็ต้องหาหนังสือมาศึกษาค้นคว้าต่อไป หากไม่มีหนังสือก็ต้องสอบถามจากคนเฒ่าคนแก่ หรือคนรุ่นก่อนๆ ทำให้เกิดรสชาติในการสะสมเหรียญยิ่งขึ้น หรือเหรียญที่มีคำจารึกแปลกๆ อย่างเช่น เหรียญหลวงพ่อปั้น วัดกะมัง ที่จารึกไว้ในเหรียญว่า "กันผีปีศาจต่างๆ" เหรียญนี้น่าสนใจมาก อาจจะเป็นเหรียญเดียวในวงการที่มีคำจารึกเช่นนี้ แต่เหรียญที่ "เพชร" รักมากที่สุดเห็นจะเป็น เหรียญหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม รุ่นแรก ฉลองสมณศักดิ์ ปี ๒๕๐๔ เพราะเคยไปกราบท่านมาแล้ว ประทับใจสุดๆ จึงตามเก็บเหรียญของท่านมาโดยตลอด ความรักเหรียญรุ่นนี้ทำให้ "เพชร" ถึงกับสะสมเอาไว้ถึง ๓๐ เหรียญ พร้อมกับนิมนต์ภาพ เหรียญหลวงปู่เพิ่ม ขึ้นติดบนชื่อป้ายร้าน "PRECIOUS" (พรีเชียส) คู่กับ เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ที่ชมรมพระเครื่องมรดกไทย ชั้น ๓ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน อันเป็นร้านที่ "เพชร" เปิดดำเนินงานอยู่ในทุกวันนี้ การที่ตั้งชื่อร้านว่า "PRECIOUS" (พรีเชียส) ซึ่งแปลว่า "ของมีค่า" นั้นก็เนื่องจาก "เพชร" เป็นคนหนึ่งในทีมงานนิตยสารฉบับนี้ ซึ่งเป็นของ อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ โดยเริ่มงานกับท่านยุคบุกเบิก เมื่อ อ.รังสรรค์ หยุดทำนิตยสารฉบับนี้ก็เลยขออนุญาตเอาชื่อนี้มาเป็นชื่อร้านเพราะไม่อยากให้ชื่อ "PRECIOUS" หายไปจากวงการพระ นอกจากเปิดร้านพระแล้ว "เพชร" ยังมีงานเขียนเรื่องพระเครื่องลงในนิตยสาร "สปิริต" ของ "พี่นะ" ภัทรพนธ์ บุญลือพันธ์ อีกด้วย พร้อมกับการสะสมของเก่าของโบราณต่างๆ และภาพเขียนของศิลปินชื่อดัง ซึ่ง "เพชร" บอกว่ามีความสุขมากๆ ที่ได้มายืนอยู่ตรงจุดนี้ พร้อมกับฝากถึงท่านผู้อ่านว่า หากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องใดๆ ก็ตาม และต้องการคำปรึกษาที่ตรงไปตรงมา เชิญพบกับ "เพชร ท่าพระจันทร์" ได้ทุกโอกาส ทุกคำถามจะมีคำตอบให้อย่างถูกใจที่สุดข่าวพระเครื่อง คมชัดลึก |