พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
อิทธิพลแห่งดาว ใน...วันสำคัญทางศาสนาสากล ![]() ![]() อิทธิพลแห่งดาว ใน วันสำคัญทางศาสนาสากล ในพุทธศานาได้ใช้ปรากฏการณ์แห่งดวงจันทร์ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือ จันทร์เพ็ญ เพื่อกำหนดเป็นวันสำคัญทางศาสนาทั้งสิ้น และด้วยเหตุที่ศาสนาพุทธ กำเนิดท่ามกลางสิ่งแวดล้อมของศาสนาฮินดู ชื่อเดือน ชื่อวัน รวมทั้งศัพท์แสงต่างๆ ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ วันสำคัญทางศาสนาพุทธ จึงอิงพื้นฐานของชาวภารตทั้งสิ้น แต่ในเมื่อศาสนาพุทธฉีกแนวออกมาคนละทางจากฮินดู จึงต้องทำอะไรที่แตกต่างไปบ้าง วันสำคัญของพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓, วันวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖, วันอาสาฬหบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘, รุ่งขึ้น แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันเข้าพรรษา และสุดท้ายวันออกพรรษา ตรงกับ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นอกจากนี้แล้ว ยังใช้ดวงจันทร์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ หรือวันพระ ทั้งขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อปฏิบัติไปได้ไม่กี่ปี ก็เกิดปัญหา เพราะปฏิทินจันทรคติเคลื่อนเร็วขึ้นปีละ ๑๑ วัน (เมื่อเทียบกับปฏิทินสุริยคติ) ทำให้วันเข้าพรรษาล่วงไปอยู่ในฤดูแล้ง และวันออกพรรษาไปอยู่ในต้นฤดูฝน ซึ่งขัดต่อพุทธบัญญัติ ที่ให้สงฆ์เข้าพรรษาในต้นฤดูฝน จึงจำเป็นต้องปรับชดเชยตามหลักดาราศาสตร์ที่ให้เพิ่มเดือนแปดทุกๆ ๒ หรือ ๓ ปี เพื่อให้วันเข้าพรรษาตรงกับฤดูกาลแถวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และออกพรรษาในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ หากท่านย้อนกลับไปดูปฏิทินปี ๒๕๕๐ จะเห็นว่า เป็นปีที่มีเดือนแปดสองหน ตรงกับวันที่ ๓๐ กรกฎาคม เรียกว่า ปีอธิกมาส มาจากรากศัพท์ภาษาอินเดียและปี ๒๕๕๑ นี้ เรากำลังจะเข้าสู่วันสำคัญทางศาสนาอันดับแรก คือ ๒๑ กุมภาพันธ์ เป็น วันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ระลึกถึงการชุมนุมครั้งใหญ่ของสงฆ์ในครั้งพุทธกาล โดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า "พูดได้เต็มปากว่า วันสำคัญของศาสนาต่างๆ ล้วนอ้างอิง ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ โดยใช้ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ รวมทั้งกลุ่มดาวฤกษ์ เป็นเครื่องมือกำหนดช่วงวัน เดือน ปี และเวลาในการประกอบพิธี เมื่อทำซ้ำไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็น ปฏิทิน นักดาราศาสตร์แห่งบรรพกาล ทราบดีว่า วัตถุประสงค์ดั่งเดิมของการสร้างปฏิทิน ก็เพื่อใช้กำหนดวันประกอบพิธีทางศาสนา" นี่คือความเห็นของ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี ทั้งนี้นายสรรค์สนธิ อธิบายให้ฟังว่า ปฏิทินฉบับแรกของมนุษยชาติที่เป็นชิ้นเป็นอันถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ ๓,๗๖๐ ปี ก่อนคริสตกาล (๓๗๖๐ B.C.) ที่เมืองนิปปูร์ ในดินแดนอู่อารยธรรมของโลก รู้จักกันดีในชื่อว่า “เมโสโปเตเมีย” ปัจจุบันเป็นประเทศอิรัก ปฏิทินนิปปูร์ เป็นต้นแบบของปฏิทินศาสนายูดา ที่ใช้ในประเทศอิสราเอล วันสำคัญทางศาสนา ที่ยึดเอาดาราศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดของแต่ละศาสนา คือ ศาสนาที่ใช้ทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ฮินดู และพุทธ เพราะวันสำคัญของศาสนาเหล่านี้ มีเรื่องของฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกรณีของชาวคริสต์ มีวันสำคัญ คือ วันอีสเตอร์ เรียกเต็มๆว่า อีสเตอร์ซันเดย์ ภาษาลาตินใช้คำว่า Pascha เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูฟื้นคืนชีพในวันที่สาม หลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ปฏิทินของวันดังกล่าว ถูกกำหนดโดยสภานักบวชแห่งเมืองนีเซียร์ เมื่อ ค.ศ. ๓๒๕ (Council of Nicaea A.D. ๓๒๕) โดยนับเริ่มต้นที่วัน วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่แกนของโลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน และเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ตามด้วยวันพระจันทร์เต็มดวง หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และตามด้วยวันอาทิตย์ถัดไป แต่เนื่องจากจำนวนวันในรอบปีของดวงอาทิตย์ กับวันในรอบปีของดวงจันทร์ เป็นคณิตศาสตร์ที่ไม่ลงตัว จึงทำให้วันอีสเตอร์ซันเดย์ กระโดดไปกระโดดมา อยู่ในระหว่างปลายเดือนมีนาคม และปลายเดือนเมษายน "ในปี ๒๕๕๑ นี้ ชาวคริสต์ทั่วโลกคงได้ฉลองกันครั้งใหญ่อีกปีหนึ่ง เพราะปี ๒๕๕๑ นี้ วันอีสเตอร์ซันเดย์ ตรงกับ ๒๓ มีนาคม ย้อนประวัติศาสตร์แห่งการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูอย่างถูกต้อง ราวกับถ่ายทอดสดผ่านรายการ The History Channel กล่าวคือ วัน “วสันตวิษุวัต” ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑ ตรงกับวันศุกร์ และพระจันทร์เต็มดวงพอดี ถัดไปวันที่สามเป็นวันอาทิตย์ ทุกอย่างตรงกับเหตุการณ์จริง ตามความเชื่อของชาวคริสต์ ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนในวัน วสันตวิษุวัต เป็นวันศุกร์ และพระจันทร์เต็มดวง ฟื้นคืนชีพในวันที่สามซึ่งเป็นวันอาทิตย์" นายสรรค์สนธิ กล่าว พร้อมกับอธิบายต่อว่า ศาสนาฮินดูในประเทศอินเดีย ใช้ปฏิทินมหาศักราช (Saka calendar) วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวสันตวิษุวัต คือ ๒๑ มีนาคม เรียกว่า เริ่มต้นแห่งเดือนไจตระ และวันขึ้น ๙ ค่ำ ของเดือนนี้ ก็ตรงกับวันเกิดของพระราม ซึ่งเป็นอวตารอับดับที่เจ็ดของพระวิษณุ ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นวันสำคัญทางศาสนาของชาวภารต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่นับถือพระวิษณุ จะมีการสวดภาวนาขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มเรืองแสงที่ขอบฟ้า และเมื่อถึงตอนเที่ยงวัน พระอาทิตย์ตรงหัว ซึ่งตรงกับเวลาเกิดของพระราม พิธีอันยิ่งใหญ่ประกอบด้วยการสวดภาวนาสรรเสริญ ตามด้วยขบวนแห่รูปสมมติของพระราม พระลักษมณ์ และหนุมานเข้าสู่วิหาร พิธีนี้จัดอย่างอลังการที่สุด ที่เมืองอโยธยา สถานที่เกิดของพระราม ชื่อของพระราม คำว่า “รา” เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์คนอินเดียที่ชื่อ ราวี หรือ ราวินด้า จึงหมายความว่า You are Mr.Sun สำหรับศาสนาที่ใช้ดวงจันทร์เป็นปฏิทินเพียงอย่างเดียวนั้น คือ ปฏิทินของศาสนาอิสลาม ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน และมีจำนวนวันทั้งสิ้น ๓๕๔ วัน น้อยกว่าปฏิทินสากลปีละ ๑๑ วัน เนื่องจากจำนวนวันในรอบปีของดวงจันทร์ น้อยกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ อยู่ ๑๑ วัน และเดือนที่สำคัญที่สุดคือ เดือน ๙ ชื่อว่า เดือนรามาดาน ชาวมุสลิมทั่วโลกจะถือศีลอดเป็นเวลา ๑ เดือนเต็มๆ จากเหตุผลความต่างดังกล่าว ทำให้เดือนรามาดานเคลื่อนเร็วขึ้นเรื่อยๆ ปีละ ๑๑ วัน เมื่อเทียบกับปฏิทินสากล ดังตัวอย่าง ปี ๒๕๔๘ เริ่มเดือนรอมาดอน วันที่ ๕ ตุลาคม ปี ๒๕๕๐ วันที่ ๑๓ กันยายน ปี ๒๕๕๑ เริ่มวันที่ ๒ กันยายน และในปีหน้า ๒๕๕๒ จะขยับเป็น ๒๒ สิงหาคม พิธีถือศีลอดในเดือนรอมาดอน จึงไม่ยึดติดกับฤดูกาล อนึ่ง การประกาศให้เริ่มต้นพิธีถือศีลอด ในเดือนรามาดาน จะต้องมีผู้เห็นดวงจันทร์ขึ้น ๑ ค่ำ และมีการรับรองอย่างเป็นทางการเสียก่อน "วันสำคัญของศาสนาต่างๆ ล้วนอิงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ทั้งสิ้น แม้กระทั่งในครั้งโบราณกาล เช่น ศาสนาของอียิปต์ พวกเขาสร้างมหาพีระมิดเรียงกัน ๓ หลัง ให้ตรงกับตำแหน่งเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน (Orion belt) ส่วนชาวดรูอิท ในเกาะอังกฤษ จะฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นที่กองหินลึกลับ “สโตนส์เฮนจ์” ในวัน “ครีษมายัน” (summer solstice) ตรงกับ ๒๑ มิถุนายน กลางวันยาวที่สุดในรอบปี เพราะดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวโลกที่เส้นรุ้ง ๒๓.๕ องศาเหนือ ในขณะที่ชาวมายาโบราณที่ประเทศเม็กซิโก บูชางูยักษ์เป็นเทพพระเจ้า ดังนั้นจึงออกแบบก่อสร้างให้พีระมิด ชื่อ El Castillo ให้เงาแสงอาทิตย์เป็นภาพพญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากยอดพีระมิด ในวันวสันตวิษุวัต" นายสรรค์สนธิ กล่าว ข่าวพระเครื่อง |