พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระแก้บน แต่โบราณกับ คติความเชื่อการสร้างพระของชาวพุทธ ![]()
"เวลา นี้มารมันเยอะ ต้องการสกัดกั้นไม่ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ให้มารแสดงไปก่อน ตอนจบเป็นยังไง เดี๋ยวได้ชมกัน ตอนนี้ได้ทำพระองค์เล็ก ๘๔,๐๐๐ องค์ ชื่อว่า พระพิทักษ์ชนะมาร แจกจ่ายไปเรื่อยๆ เป็นความเชื่อว่าจะชนะมาร" นี่เป็นอีกความพยายามหนึ่ง เพื่อที่จะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๕ ของ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผ่านไปแล้วเกือบ ๑ เดือน แต่พรรคพลังประชาชนก็ยังไม่สามารถประกาศจัดตั้งเป็นรัฐบาลได้ ที่สำคัญ คือ นายสมัครยังไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๕ ของประเทศไทย ตาม ที่โหรหลายสำนักฟันธงไว้ และสิ่งหนึ่งที่นายสมัครกำลังสร้างสมบารมีสู่ตำแหน่งดังกล่าว คือ สร้างพระพิทักษ์ชนะมาร แจกมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ สำหรับการจัดสร้างพระเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์เสริมชะตาชีวิตนั้น อ.ขวัญทอง สอนศิริ (โจ้) ศูนย์พิษณุโลกศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก บอกว่า การสร้างพระดังกล่าวภาษาชาวบ้านเรียกว่า พระแก้บน เป็น คติความเชื่อของชาวพุทธมาตั้งแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันก็ยังเชื่อกันอยู่ ทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่อง โดยจะสร้างเมื่อบุคคลประสบทุกข์ (สภาวะที่ทนได้ยาก) ย่อมแสวงหาวิถีทางดับทุกข์ ตามภูมิรู้ภูมิธรรมของแต่ละบุคคล วิถีทางหนึ่ง แต่โบราณ คือ การบนบานศาลกล่าว เมื่อสมปรารถนาก็สร้างพระถวายแก้บน หรือสร้างพระจำนวนเท่ากำลังวันเกิด ถวายเป็นการสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาชีวิต เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว บางรายอาจจะแก้บนด้วยการปิดทองพระทั้งองค์ เปลี่ยนเครื่องทรง รวมทั้งถวายฉัตร อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นๆ ในการจัดสร้างพระเครื่องและพระพุทธรูปอีกหลายเหตุผล ทั้งนี้ อ.ขวัญทอง จำแนกเหตุผลการจัดสร้างไว้ดังนี้ ๑. สร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระรัตนตรัยที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของชาวพุทธ ๒. สร้างเพื่อเป็นพุทธานุสติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นอนุสติที่ตั้ง แห่งบุคลาธิษฐาน นำไปสู่ธรรมาธิษฐาน ในการดำเนินชีวิตของบุคคล ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ๓. สร้างเพื่อเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา จรรโลงพุทธศาสนา แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้คงอยู่คู่แผ่นดินสยาม แต่โบราณกาลจึงนิยมสร้างพระพุทธรูป หรือพระพิมพ์พระเครื่อง บรรจุไว้ในสถูป พุทธเจดีย์ มงคลสถานต่างๆ เป็นต้น ๔. สร้างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุพการีที่ล่วงลับจากไปแล้ว ด้วยอิทธิพลของคำสอน ในเรื่องความกตัญญูกตเวที ในหลักพระพุทธศาสนานั่นเอง จึงนิยมสร้างพระถวายวัด แล้วจารึกชื่ออุทิศกุศลแก่บุพการีชนไว้ที่ฐานพระ เป็นต้น ๕.สร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติวีรกษัตริย์ หรือบุคคลสำคัญของแผ่นดินสยาม แต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เช่น พระพิมพ์นางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างถวายพระนางวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชมารดาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์ผู้ทรงสถาปนาวัดนางพญา พระกริ่งนเรศวร สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในมหาวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้เอกราชชาติไทย เป็นต้น ๖. สร้างเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร หรือ ผู้สนองคุณแผ่นดิน เฉกเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน แก่ผู้สนองคุณแผ่นดิน หรือพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ประจำเมือง แทนการพระราชทานพระแสงดาบแต่โบราณกาล เป็นต้น ๗. สร้างเพื่อเป็นพระชัยประจำรัชกาล หรือ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ดำรงพระสกุลยศ พระอิสริยยศ ตามราชประเพณี ที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ๘. สร้างเพื่อเป็นมงคลอนุสรณ์ ในมงคลโอกาสต่างๆ ของชีวิตของบุคคล ผู้ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ในมงคลโอกาสครบรอบวันเกิด หรืออายุวัฒนมงคล ครบรอบนักษัตร แต่โบราณนิยมสร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิด หรือในมงคลโอกาสอันดีงาม แก่ชีวิตอื่นๆ เป็นต้น ๙. สร้างเพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แผ่พุทธานุภาพปกป้องคุ้มภัย เป็นขวัญกำลังใจต่อชีวิตในโอกาสต่างๆ อาทิ ยามศึกสงคราม อาทิ พระพุทธชินราชอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๘๕ สร้างแจกทหารในคราวสงครามอินโดจีน เป็นต้น ๑๐. สร้างเพื่อมอบเป็นมงคลอนุสรณ์ แก่ผู้ร่วมสร้างกุศลและคุณประโยชน์ในพระพุทธศาสนาและสาธารณกุศลแก่ส่วนรวม แต่โบราณกาล ถือคติสร้างเพื่อแจกเป็นทานแก่พุทธศาสนิกชน ผู้ร่วมกุศลในพุทธศาสนา ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่วัตถุนิยม จึงวิวัฒนาการมาสู่การกำหนดเป็นอัตราค่าบูชา (เรียกว่า ทำบุญบูชา) รับพระ หรือ รัตนมงคล เป็นการตอบแทน เพื่อหารายได้สร้างศาสนสถานในพระพุทธศาสนาและสาธารณกุศลแก่ส่วนรวมต่อไป อ.ขวัญทอง ยังบอกด้วยว่า "ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เป็นเหตุผลยอดฮิตในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปี ที่ผ่านมา คือ สร้างเพื่อเป็น พุทธพาณิชย์ อันเป็นเจตนาแอบแฝงในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงสังวรระวังเป็นยิ่งนัก เพราะ เจตนาของการสร้างไม่บริสุทธิ์" พระเขาเมือง เป็นพระพุทธรูปบูชา มีขนาดเล็ก พบที่บริเวณ เขาเมือง หรือ เขาชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง และที่พบบนภูเขาในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งมีลักษณะแบบอย่างของศิลปะ เป็นแบบเดียวกัน ใน บริเวณเขาเมือง หรือเขาชัยบุรี เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงเก่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภูเขาที่อยู่ในบริเวณเมืองเก่า นอกจากเขาเมืองแล้ว ก็มี เขาบ่อฬา เขาวัดลิงค์ และภูเขาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก็มีเขาพนมวังก์ เขานางชี เขาโต๊ะบุญ เขาพังอิฐ เขาโพรกเพรง กลุ่มเขาเหล่านี้ มีถ้ำที่สำคัญ และเป็นแหล่งศาสนามาก่อน ในถ้ำและบนภูเขา ได้มีการค้นพบพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์เงิน เงินยวง ทองคำ เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปเหล่านี้ ชาวพัทลุงหรือชาวปักษ์ใต้ทั่วไปนิยมเรียกว่า “พระเขา” และเชื่อกันว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีการซื้อขายกันด้วยราคาแพง แหล่งที่ค้นพบ พระเขาเมือง ได้แก่ ถ้ำพระเขาเมือง ถ้ำไม้ขามเขาเมือง ถ้ำวังโหนดเขาเมือง ถ้ำเขาบ่อฬา ถ้ำเขาพลู ถ้ำเขาวัดลิงค์ ถ้ำเขานางชี ถ้ำชาวไทรเขาพนมวังก์ ถ้ำโคบ เขาพนมวังก์ ถ้ำพระเขาโพรกเพรง สาเหตุที่ค้นพบพระพุทธรูปเหล่านี้ ภายในถ้ำตามภูเขาต่าง ๆ เนื่องจากในสมัยโบราณ ถ้ำเหล่านี้เป็นพุทธสถานที่อยู่ในบริเวณตัวเมืองเก่า ประชาชน ในสมัยก่อน มีความเชื่อถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ด้วยสัมฤทธิ์เงิน เงินยวง และทองคำ ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นสิ่งสะเดาะเคราะห์ให้ตัวเองด้วย โดยประดิษฐานไว้ตามถ้ำที่มีพระพุทธรูปปูนปั้นในถ้ำเลยก็มี เป็นคติเดียวกับประชาชนในปัจจุบัน ที่นิยมซื้อพระพุทธรูปองค์เล็กๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ตามถ้ำ หรือตามหน้าพระประธาน ภายในอุโบสถ นิยมเรียกว่า “พระแก้บน” หรือ “พระทำบุญเดือนสิบ” คมชัดลึก |