พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ คณาจารย์ และประวัติเมืองแปดริ้ว ![]()
หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ คณาจารย์ และประวัติเมืองแปดริ้ว ต่อมามีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองฉะเชิงเทราอีกตอนหนึ่ง คือ เมื่อศักราช 1128 ปี ตรงกับพุทธศักราช 2308 ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าข้าศึก พระยากำแพงเพชร (สมเด็จพระเจ้ากรุงธน) ซึ่งตั้งอยู่ค่ายวัดพิชัย ได้คุมสมัครพรรคพวกตีฝ่าไปทางตะวันออกผ่านเมืองนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เมื่อแม่ทัพพม่าได้ทราบข่าว ได้ส่งกองทัพออกติดตามพระยากำแพงเพชร แต่พม่าก็เสียทีกลับมาทุกครั้ง พม่าจึงเกณฑ์ทัพเรือให้หนุนเนื่องมาอีก และทัพบกพม่าซึ่งพ่ายแพ้มาก่อนนั้นได้ยกมาตั้งอยู่ปากน้ำโจ้โล้เมืองฉะเชิง เทรา ทัพเรือพม่าเมื่อไปถึง ณ ที่นั้น ได้สมทบกันแล้วยกพลขึ้นที่ท่าข้ามติดตามไป พระยากำแพงเพชรจึงให้พลทหารตั้งเป็นหน้ากระดาน แล้วให้ขุดสนามเพลาะและให้กองลำเลียงหาบคอนล่วงหน้าไปก่อน ตัวพระยากำแพงเพชรกับพระยาเชียงเงิน ขุนชำนาญไพรสนฑ์ นายบุญมี นายทองดี นายแสง นำหน้าพลทหารร้อยหนึ่งออกไปคอยรับทัพพม่า ครั้นทัพพม่ามาใกล้ จึงยิงปืนใหญ่น้อยระดมพร้อมกัน ต้องพลพม่าล้มตายเป็นอันมาก พม่าหนุนเนื่องเข้ามาอีกก็ต้องปืนคำรบสอง ต้องพลพม่าล้มตายเป็นอันมาก พม่าหนุนเนื่องเข้ามาอีกก็ต้องปืนคำรบสอง จนคำรบสามพม่าแตกหนีกระจัดกระจาย แล้วจึงเดินทัพต่อไปทางบ้านหัวทองหลาง สะพานทอง ล่วงแดนเมืองชลบุรีต่อไป เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา และขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ให้สังกัดกรมมหาดไทย และคงอยู่เช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็น เมืองๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี ต่อมาใน พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เรียกว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้ใช้ชื่อนี้ต่อมาจนกระทั่งบัดนี้ ทว่าเมืองฉะเชิงเทรามีชื่อเรียกว่า "แปดริ้ว" มาแต่โบราณ ซึ่งความนี้ปรากฏในหนังสือ "ประชุมพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะภาค 1" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า "ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร เมืองแปดริ้วเป็นชื่อไทย" มีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านมีความเห็นว่า "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "สตรึงเตรง" หรือ "ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง ข่าวสด |