พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน 63

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ หม่อน มัลเบอร์รี่ หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
เหรียญหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ ประวัติและอภินิหารของท่าน ![]()
ข่าวสด เมื่อเอ่ยชื่อถึงคำว่า "เชน" คนไทยวัยกลางคนขึ้นไป จะนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง "เชน (shane)" อันเป็น ชื่อของพระเอกในเรื่อง ซึ่งเป็นมือปืนพเนจร ที่เข้ามาเป็นผู้ปกป้องครอบครัวหนึ่ง ที่ถูกรุกรานจากเศรษฐีไร่ปศุสัตว์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์คาวบอยแห่งตำนานขนานแท้ นำแสดงโดย อลัน แลดค์ ผู้รับบทเป็น "เชน" มือปืนพเนจร เป็นผลงานของพาราเม้าท์ พิคเจอร์ส สร้างและฉายเมื่อ ค.ศ.๑๙๕๒ (พ.ศ.๒๔๙๕) และนำกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อ ค.ศ.๑๙๘๐ (พ.ศ.๒๕๒๖) ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์คลาสสิกตลอดกาลของสหรัฐอเมริกาอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทยก็รู้จักกันทั่วประเทศในช่วงนั้น ช่วงที่ภาพยนตร์เรื่อง "เชน" มาฉายในเมืองไทย ได้รับความนิยมมาก บางคนเข้าชมซ้ำถึง ๔-๕ ครั้ง ด้วยความประทับใจในตัวของ "เชน" พระเอกสุภาพบุรุษในเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน ในช่วงนั้นวงการมวยไทยของบ้านเรา มีนักมวยผู้หนึ่ง ชื่อสามารถ ศรแดง กำลังเป็นนักมวยดาวรุ่ง มีหมัดขวาที่หนักหน่วง และชกได้ใสสะอาดตามกติกา แบบประทับใจแฟนมวย จึงได้รับสมญานามจากแฟนมวยว่า "เชน" เช่นกัน เวลา สามารถ ขึ้นชกกับคู่ต่อสู้ แฟนมวยที่เชียร์ฝ่าย สามารถ จะตะโกนก้องด้วยคำว่า "เชนสู้ๆ" สร้างความฮึกเหิมให้นักมวยที่ชื่อ สามารถ เป็นอย่างมาก จนทำให้ลืมความเจ็บปวด บุกเข้าขยี้คู่ต่อสู้แบบลืมเป็นลืมตาย สร้างสีสันให้วงการมวยไทยในขณะนั้นเป็นอย่างมาก
เหรียญหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ ประวัติและอภินิหารของท่าน สำหรับวงการพระเครื่องของบ้านเรา ก็มีพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคมรูปหนึ่ง มีนามว่า "เชน" เช่นกัน โดยท่านพำนักอยู่ที่ วัดสิงห์ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานหลายปีแล้วก็ตาม แต่เกียรติคุณชื่อเสียงของท่าน ก็ยังเป็นที่กล่าวถึงอยู่เสมออย่างมิรู้ลืม ประวัติหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี มีนามเดิมว่า "เชน แดงน้อย" เกิดเมื่อปี ๒๔๓๓ ณ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นบุตรของ นายแจ่ม และ นางอำ มีอาชีพทำนา โดยมีพี่น้องรวมกันทั้งหมด ๔ คน หลวงพ่อเชนเป็นคนที่สอง หลวงพ่อเชน และพี่น้องโชคไม่ดี ต้องอาภัพทั้งบิดาและมารดา ตั้งแต่หลวงพ่อเชนอายุได้ประมาณ ๑๐ กว่าขวบ พี่สาวคนโตคือ นางปริก จึงรับภาระเป็นผู้นำครอบครัว และเลี้ยงดูน้องๆ สมัยที่ยังเป็นเด็ก "เชน" มีหน้าที่ช่วยเหลือในการทำนา งานหลักก็คือ การเลี้ยงควาย มีอยู่วันหนึ่ง ที่เป็นเหตุทำให้เด็กชายเชน ต้องก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นศิษย์ของพระตถาคต ขณะที่ ด.ช.เชน นำควายไปเลี้ยงกลางทุ่ง ควายเกิดดื้อ ด.ช.เชน เกิดความโมโห จึงใช้มีดปลายแหลมขว้างไปที่ควายตัวนั้น ถูกเข้าที่ขาควาย ได้รับบาดเจ็บ เมื่อกลับถึงบ้าน พี่สาวทราบเรื่อง จึงเกิดความโกรธ ถึงกับลงมือทุบตี และออกปากขับไล่ด้วยความโมโห ด.ช.เชน หนีไปเป็นเด็กวัด อาศัยอยู่กับ หลวงพ่ออิ่ม วัดสุทธาวาส ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านพักมากนัก ทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่ออิ่ม ต่อมาเมื่อ ด.ช.เชน อายุ ๑๒ ปี หลวงพ่ออิ่มจึงจัดการบวชเณรให้ และสอนพระธรรมวินัย ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมให้ สามเณรเชน จนมีความเชี่ยวชาญพอสมควร เมื่อสามเณรเชนมีอายุได้ ๒๓ ปี ตรงกับปี ๒๔๕๕ หลวงพ่ออิ่มจึงอุปสมบทให้สามเณรเชน โดยมีท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุเชน พำนักอยู่กับหลวงพ่ออิ่มอีก ๓ ปี จึงขออนุญาตหลวงพ่อออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น โดยมุ่งตรงสู่ภาคเหนือและอีสาน กลับมาอีกครั้งเมื่อทราบว่า หลวงพ่ออิ่มมรณภาพแล้ว จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดสิงห์ และอยู่ต่อมา จนกระทั่งครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสิงห์ หลวงพ่อเชนมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๔ รวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑ ในด้านการศึกษาวิทยาคมของ หลวงพ่อเชน นอกจากท่านจะศึกษากับหลวงพ่ออิ่มแล้ว ท่านยังไปฝากตัวศึกษากับ หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี สุดยอดพระคณาจารย์ผู้มีวาจาสิทธิ์ และเชี่ยวชาญทางด้านไสยเวทของเมืองสิงห์บุรี (บางแห่งเขียนชื่อท่านเป็น "สี" ซึ่งท่านเป็นอาจารย์ของ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ด้วย) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ หลวงพ่อเชน มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จัดอยู่ในพระคณาจารย์ระดับแนวหน้าท่านหนึ่งของเมืองไทย ในด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อเชนจัดสร้าง เหรียญรุ่นแรก ขึ้นในราวปี ๒๔๙๔ เพื่อเอาไว้แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา ลักษณะเหรียญทำด้วยเนื้อทองเหลือง เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือน ด้านหน้าเป็นรูปของหลวงพ่อเชน นั่งเต็มองค์ ปรากฏข้อความใต้ฐาน อ่านได้ว่า "พระครูเชน คงคสุวณฺโร วัดสิงห์" ด้านหลังเป็นรูปยันต์พระพุทธเจ้า เหรียญหลวงพ่อเชน รุ่นนี้มีประสบการณ์สูงด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มหาอุด จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเช่าหาบูชาอยู่ในระดับหลักพันต้นๆ หลวงพ่อเชน จัดสร้างเหรียญรวมทั้งหมดจำนวน ๔ รุ่น รุ่น ๑-๓ เป็นเหรียญรูปเหมือนตัวท่าน ส่วนรุ่น ๔ เป็นเหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อเนตร พระประธานในอุโบสถของวัดสิงห์ สำหรับวัตถุมงคลประเภทอื่นๆ ที่หลวงพ่อเชนจัดสร้าง มีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ผ้ายันต์ท้าวแสนโกฏิ รูปหล่อโบราณ ทำด้วยเนื้อทองเหลือง และตะกรุดโทนทำด้วยเนื้อฝาบาตร (ทองเหลือง) และเนื้ออะลูมิเนียม รวมทั้งเนื้อทองคำก็มี วัตถุมงคลของ "หลวงพ่อเชน" ทุกประเภท ได้รับความนิยมในหมู่ลูกศิษย์เป็นอันมาก เพราะมีประสบการณ์ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน |