พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติพระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ พระวิปัสสนาสาย"หลวงปู่มั่น" ![]()
"พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ" วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง ต.พังโคน อ.พัง โคน จ.สกลนคร เป็นพระป่าสายปฏิบัติในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีเมตตาธรรมสูง มุ่งเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์สมถะเสมอต้นเสมอปลาย อัตโนประวัติ พระอาจารย์คำมี (พระครูศรีภูมานุรักษ์) นามสกุล "สุวรรณศรี" เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2463 ณ บ้านบก หมู่ที่ 3 ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-มารดาชื่อ นายนาเคน และนางดี สุวรรณศรี ชีวิตในวัยเด็กช่วยครอบครัวเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เมื่อถึงฤดูทำนาก็ช่วยไถนา ช่วยดำนา เมื่อถึงคราวไปโรงเรียนก็ไปตามปกติ จนกระทั่งเรียนจบชั้น ป.4 จึงได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2478 ณ อุโบสถวัดศรีบุญเรือง ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสาม สิบ จ.อุบลราชธานี โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่อน สิริจันโท วัดบ้านก่อ เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2481 วันอังคาร ได้บรรพชาเป็นสามเณรธรรมยุติกนิกาย ณ วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระศรีธรรมวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วอยู่จำพรรษาที่วัดสุปัฏนาราม 1 ปี จนอายุครบบวชได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสายมหานิกาย ณ อุโบสถวัดบ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี กระทั่งได้ญัติเป็นพระสายธรรมยุต ณ วัดศรีเมือง จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2483 โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกานาค วัดศรีเมือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอินทร์ วัดศรีเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ เป็นพระนักปฏิบัติที่ซื่อตรง ตอนหนึ่งในบันทึกชีวประวัติเขียนไว้อย่างซื่อๆ เป็นคำสารภาพตรงไปตรงมา ท่านบันทึกไว้ว่า การปฏิบัติทางวิปัสสนาในตอนบั้นปลายชีวิต นับจากปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา ได้ย้ายออกจากวัดไปพักผ่อนบำเพ็ญตบะธรรมภายในให้ควบคู่กับฝ่ายคันถธุระที่ทำหนักมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมาโดยลำดับ นับว่าเอาชีวิตจิตใจมุ่งมั่นไปในด้านวัตถุและทางปริยัติการศึกษาของกุลบุตรผู้ที่จะสืบอายุของพระพุทธศาสนาต่อไป ในด้านวัตถุ คือ ต้องการให้เป็นหลักฐานมั่นคงของเสนาสนะ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ พระพุทธรูปและเจดีย์ จนเวลาล่วงเลยไปถึง 21-22 ปี ในปี พ.ศ.2518 อายุได้ 45 ปี พรรษา 34 จึงรู้สึกตัวว่าสภาพสังขารร่างกายย่างเข้าสู่วัยชราแล้วจึงถอนตัวออกจากหล่ม คือ ความคลุกคลีด้วยการงานและหมู่คณะทางฝ่ายการปกครองไปบ้าง แต่มิได้วางเสียจริงๆ ได้หาลูกศิษย์ลูกหาช่วยงานแทนมือไปเป็นครั้งคราว ก็เรียกว่าผ่อนเบาไปบ้าง พอได้อบรมตัวเอง ในความคลุกคลีการงานทั้งหมู่คณะด้านคันถธุระจนเกินไป พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ท่านเคยเตือนเทศน์ให้ฟังบ่อยๆ ความว่า "มันจะตายทิ้งเปล่าๆ นะพระครูศรี!" ท่านพระอาจารย์ฝั้นท่านบอกอย่างนี้ อัตตโน (อาตมา) จึงนึกแปลความหมายอยู่ถึง 3 ปี จึงไปได้ความกระจ่างในคราวที่ไปวิเวกอยู่ทางจันทบุรีว่า การตายย่อมเป็นไปได้ 3 นัย 3 อย่าง คือ ตายอย่างที่ 1 ตายจากเพศบรรพชิต ตายอย่างที่ 2 ตายจากคุณธรรมที่ควรจะได้แต่ก็ไม่ได้ เพราะความประมาท ตายอย่างที่ 3 ตายหมดลมหายใจ เมื่อนึกขึ้นได้เช่นนั้นก็สลดสังเวชในความตายอย่างนี้ย่อมมีทุกๆ คน ทั้งหญิง ชาย นักบวช ฆราวาส ทั้งคนมีคนจนไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ดังพระบาลีว่า "อัชเชว กิจจมาตัปปัง โกชัญญา แปลว่า ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่จะหนีพ้นไปจากความตายนี้ได้" พระอาจารย์คำได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อเวลา 23.20 น. วันที่ 21 มิถุนายน 2530 สิริอายุ 66 ปี 46 พรรษา ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดอุดรธานี การลาขันธวาโลกของท่านนี้ นายแพทย์แจ้งว่าสมองของพระอาจารย์คำมีไม่ทำงานอีกต่อไป สาเหตุเกิดจากท่านได้ตรากตรำทำงานฝ่ายคันถธุระเผยแผ่พระศาสนาอย่างหนัก จนเกินกำลังของสังขารร่างกายสุดที่จะทนได้ไหว สมจริงตามพระพุทธพจน์ว่า สัพเพ เภทปริยันตัง เอวัง มัจจาน ชิวิตัง ชีวิตของหมู่สัตว์เหมือนภาชนะดิน ล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุด |