พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี "ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนต้องยกให้พระร่วงหลังลายผ้า แต่ถ้าพระพิมพ์นั่งล่ะก็ต้องเป็นพระหูยาน ลพบุรี" คำกล่าวยกย่องพระยอดนิยมประจำจังหวัดลพบุรี และ "พระยอดขุนพล" ระดับประเทศ เราว่ากันไปแล้วสำหรับพระพิมพ์ยืน ฉบับนี้มาถึงพระพิมพ์นั่งกันบ้างครับผม พระหูยาน กรุลพบุรี พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดค้นพบที่ พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "พระหูยาน ลพบุรี" นอกจากนี้ ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆ อีกเช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราษฎร์บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา พระหูยานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี พระหูยานกรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมืองสรรค์ เป็นต้น พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงจากฐานถึงยอดสุดประมาณ 5.5 ซ.ม. พระหูยาน พิมพ์กลาง และพระหูยาน พิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน เสมือนหนึ่งเป็นคำประกาศยืนยันถึงความเก่าแก่ของอายุขัย พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับ พระพุทธรูปบูชาซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิม จะเป็นสีเขียว "คราบเขียวของพระพุทธรูปบูชา" นี้ได้ลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย จึงกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินเขาใช้ประกอบในการพินิจ พิจารณาพระหูยานกรุใหม่
นอกจากนี้ วงการพระเครื่องยังได้กำหนดลักษณะหรือศิลปะของพระหูยานลพบุรี แยกไว้เป็น 2 แบบ คือ พระหูยานหน้ายักษ์ และ พระหูยานหน้ามงคล สำหรับพิมพ์ด้านหลังของ พระหูยานลพบุรี จะมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือ เป็นลายผ้ากระสอบที่ความถี่-หยาบเหมือนกันทุกองค์ พระหูยาน ลพบุรี ไม่ว่าจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุใดๆ ก็ล้วนเป็นเลิศด้วย พุทธคุณพระหูยาน ทั้งด้านคงกระพันชาตรีตามแบบฉบับของขอม และเมตตามหานิยม สมคำยกย่องจริงๆ ครับผม
|