พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
ประวัติ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์
กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อโต หรือ พระศรีอริยเมตไตรย
พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม
ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน
หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน
เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา
พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต
พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล
(ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว
จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง)
แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม
หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์
(เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอินทรสมาจาร
ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470
และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท)
เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ
เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี
เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต
วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (147204) | |
วัดอินอยู่ที่ไหนหรอ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กดี วันที่ตอบ 2011-02-19 11:28:44 |
ความคิดเห็นที่ 2 (147882) | |
ไปวัดอินทรอย่างไร | |
ผู้แสดงความคิดเห็น สมิตา วันที่ตอบ 2011-06-23 16:23:44 |
ความคิดเห็นที่ 3 (151598) | |
สาธุ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น นน วันที่ตอบ 2013-03-29 19:03:51 |
ความคิดเห็นที่ 4 (160345) | |
วัดอินทร์เป็นราษฎร์เก่าแก่ สันนิฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาาตอนปลาย ไม่ทราบนามผู้สร้าง ไม่ทราบชื่อนามเดิมของวัด ถึงปี พ.ศ ๒๓๒๑--๒๒ เจ้าอินทรวงศ์ โอรสเจ้าศิริบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ถูกเชิญตัวลงมากรุงเทพฯในฐานะองค์ประกัน ให้พำนักบริเวณบางขุนพรม และบางยี่ขัน เจ้าอินทรวงศ์ขอพระบรมราชานุญาติบููรณะปฏิสังขรณ์วัดเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดเจ้าอินทร์ หรือวัดอินทร์....ในกาลต่อมาวัดอินทร์ขาดเจ้านายฝ่ายลาวเวียงจันทร์อุปถัมภ์อุปัฎฐากดูแล วัดอินทร์จึงมีสถาพทรุดโทรม ถึงระหว่างปี พ.ศ ๒๔๐๙--๑๐ หลังจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะฯที่ สมเด็จพรพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สันนิฐานว่าท่านฯได้มาพาชาวบ้านบางขุนพรหม มาช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทร์ ท่านฯตั้งใจจะสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์องค์ใหญ่นั่งกลางแจ้ง ก่ออิฐถือปูน ก่อสร้างขึ้นถึงเอว..ถึงปี พ.ศ ๒๔๑๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ เสด็จสวรรคต ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๑๑ การก่อสร้างพระพุทธรูปต้องหยุดไว้ช่วงคราว และภายหลังจากที่เสร็จงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ล้นเกล้ารัชกาลที่๔ แล้ว. ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯและชาวบ้านบางขุนพรหม จึงพร้อมใจกันจะสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ณ.ขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯมีอายุ ๘๐ ปี ชราภาพมากแล้ว จะเดินเหิรไปมาไม่สะดวกสบาย ดังนั้นชาวบ้านบางขุนพรหมจึงถวายที่ดินห่างจากวัดอินทร์ประมาณเส้นกว่าๆให้ท่านฯสร้างวัด สันนิฐานว่าท่านฯสร้างวัดในระหว่างปี พ.ศ ๒๔๑๒--๑๔ สร้างตามแบบวัดพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่๔ คือวัดบวรฯ วัดโสมนัสฯ และวัดมกุฎฯ มีเจดีย์ใหญ่เป็นประธานหนึ่งองค์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงสร้างพระพิมพ์เนื้อผงพิมพ์ทรงต่างขึ้นจำนวนประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุในเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสืบอายุพระศาสนา เสร็จแล้วท่านฯจัดให้มีงานฉลองขึ้นวัดใหม่ ชาวบ้านนิยมเรียกวัดนี้ว่า วัดใหม่บางขุนพรหม.....ต่อจากนั้นสันนิฐานว่าระหว่างปี พศ ๒๔๑๔--๑๕ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯข้ามไปบูรณะฯวัดระฆังฯเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ล้นเกล้ารัชกาลที่๔ และสันนิฐานว่าท่านฯให้นำเอามวลสารที่เหลือจากวัดใหม่บางขุนพรหม มาสร้างพระพิมพ์เนื้อผงขึ้นที่วัดระฆังฯ มีมวลสารเหลือเท่าไหร่ก็สร้างเท่านั้น การบูรณะฯวัดระฆังฯน่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯต้องกลับไปควมคุมการก่อสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ที่วัดอินทร์ให้แล้วเสร็จ สันนิฐานว่าช่วงนี้ท่านฯคงมีอาการอาพาธบ้างแล้ว จนถึงกลางดึกคืนวันที่๒๒ มิถุนายน พศ ๒๔๑๕ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ก็อาพาธหนักและสิ้นพระชนม์บนศาลาใหญ่ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม......... | |
ผู้แสดงความคิดเห็น สมพร มุละสีวะ วันที่ตอบ 2016-10-15 12:27:38 |
[1] |