ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติ อาจารย์นอง วัดทรายขาว พระครูธรรมกิจโกศล article

พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว
พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว

ประวัติอาจารย์นอง วัดทรายขาว หรือ พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) ปัตตานีอาจารย์นอง วัดทรายขาว เจ้าตำรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูป ประวัติพระครูธรรมกิจโกศล หรือ พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต เดิมชื่อ "นอง หน่อทอง"เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โยมบิดาชื่อ นายเรือง หน่อทอง โยมมารดาชื่อ นางทองเพ็ง มีพี่น้อง 3 คน คนแรก คือตัวพระอาจารย์นอง คนที่สองนางทองจันทร์ และคนที่สามนายน่วม พระอาจารย์นองเรียนจบ ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ มีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง)วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวดได้ฉายา "ธมฺมภูโต" อยู่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์ตราบจนมรณภาพ

ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป อาจารย์นอง วัดทรายขาว
ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป อาจารย์นอง วัดทรายขาว

พระเครื่องและวัตถุมงคล วัดทรายขาว จ.ปัตตานี สำหรับ อาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เคยร่วมสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเมื่อปี 2497 จนโด่งดังทั่วสารทิศ และต่อมาพระอาจารย์นอง วัดทรายขาวได้สร้างเครื่องรางของขลังที่ดังไปทั่วเมืองไทย คือตะกรุดนารายณ์แปลงรูปและพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านฝังตะกรุด นอกจากนั้นแล้วอาจารย์นอง วัดทรายขาวยังเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องชมเชยตลอดมา และเป็นพระอยู่ในนิกายมหานิกาย สิริรวมอายุถึงวันมรณภาพได้ 80 ปี 11 เดือน 60 พรรษา ความสัมพันธ์กับอาจารย์ทิม วัดช้างให้ อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นทั้งกัลยาณมิตรเป็นศิษย์กับอาจารย์ต่อกัน เกื้อกูล เกื้อหนุนกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้ายของท่านอาจารย์ทิม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 ทั้งพระอาจารย์ทิม และ พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้และ อาจารย์นอง ไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอด กิจการใดของวัดช้างให้ อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญ การสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆ ก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวด ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือช่วงนั้น อาจารย์นอง วัดทรายขาวกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆัง เพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค มาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาท ขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า "กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่า ท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ" "พระอะไร...?" พระอาจารย์ทิมถาม "ก็พระหลวงพ่อทวดไง" พระอาจารย์ทิมบอก "เออ...!! นั่นน่ะสิ" ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคม เพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี

ปฐมเหตุตรงจุดนี้ คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล ส่วนคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นั้น เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเหลือให้การจัดสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งคงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อทวดที่บันดาลชักนำ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีชาวปัตตานีให้มาเป็นกำลังสำคัญ การจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 พระอาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านจึงมีส่วนอย่างมากในทุกๆ ขั้นตอนการจัดสร้าง ฉะนั้น...ท่านจะรู้พิธีกรรม และเรื่องว่านดีที่สุด เมื่อท่านมาสร้างพระหลวงพ่อทวด ขึ้นเองจึงมีความขลังแ ละศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอด เหตุการณ์ที่บ่งให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองพระอาจารย์ที่ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจและกินใจมาก ตามที่ท่านเล่าให้ฟังว่าก่อนที่อาจารย์ทิมจะไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ท่านมาหาเราที่วัด สั่งเสียไว้หลายเรื่องฝากให้เราช่วยดูแลวัดช้างให้ ท่านหยิบขันน้ำมนต์ขึ้นมา ท่านจับประคองอยู่ด้านหนึ่งให้เราจับอีกด้านหนึ่ง แล้วท่านพูดว่า "ตั้งแต่คบกันมา คุณไม่เคยทำให้ผมเสียใจเลย คนอื่นยังมีตรงบ้าง คดบ้าง "เรา" ขออธิษฐาน บุญใดที่เคยทำร่วมกันมา และยังไม่เคยทำร่วมกันมาก็ดี ทั้งชาตินี้และอดีตชาติ ขออธิษฐาน เกลี่ยบุญให้เท่ากัน เพื่อจะได้เกิดทันกันทุกๆ ชาติไปจนถึงชาติสุดท้าย"

วัตถุมงคลหลวงพ่อทวด วัดทรายขาว จากนั้นพระอาจารย์ทิมก็เข้าไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ และก็มรณภาพที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 คำอธิษฐานนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตวาจาอย่างแท้จริง ได้ความรู้สึกถึงความผูกพันที่ท่านทั้งสองมีต่อกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอด ได้ร่วมสร้างตำนานอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แผ่ออกไปทั่วทุกสารทิศ พระอาจาร์ทิม ถ้านับจาก พ.ศ.2497-2512 ก็เพียง 15 ปี แต่พระอาจารย์นองท่านใช้เวลาถึง 45 ปี (2497-2542)

หลวงปู่ทวดอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปี14 พิมพ์กรรมการกดมือ รุ่นแรก
หลวงปู่ทวดอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปี14 พิมพ์กรรมการกดมือ รุ่นแรก

ปัจจุบัน หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดดังไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีผู้คนนับถือไม่น้อยเช่นกัน เรื่องความสัมพันธ์กับพระอาจารย์ทิมนั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ "ดีนอก" คือมีปัจจัยอื่นช่วยส่งเสริม แต่เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ "ดีใน" นั่นเอง หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว สองสิ่งต้องคู่กันจึงจะสมบูรณ์ เมื่อดีก็ต้องดีทั้งนอก ดีทั้งใน

อาจารย์นอง วัดทรายขาว ท่านยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบ วัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น อาจารย์นอง วัดทรายขาว ท่านบอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาท่านอารมณ์ดีท่านจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ท่านเคยพูดว่า"ตอนกูไปอยู่โรงพยาบาล กูก็เตรียมเงินสดไปด้วยตลอด แล้วถามหมอว่า ขาดอะไรบ้าง หมอบอกว่า ขาดไอ้นั่น ไอ้นี่ กูควักเงินสดให้ไปซื้อเลย ครั้งหลังๆ นี่ พอกูไปนอนโรงพยาบาล ตื่นขึ้นมามองซ้าย มองขวา มีชื่อ พระครูธรรมกิจโกศล ติดเต็มไปหมด" ท่านพูดเสร็จก็หัวเราะร่วนชอบใจใหญ่

อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านเคยพูดให้ฟังเสมอว่า "คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกิดวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไปเรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้นเป็นการสั่งสมบารมีลดกิเลสลงไป" จริงดั่งท่านว่า "ยิ่งทำก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งมา" ธรรมะข้อนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับสังคมยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะสังคมเราทุกวันนี้ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที ถ้าคนเรารู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าพอ รู้จักเสียสละ เชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน เรื่องทานบารมีเป็นธรรมะที่พระอาจารย์นอง ยึดปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ถือว่าเป็นคุณความดีในตัวท่านเอง แต่สามารถสร้างคุณานุประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมหาศาลท่านจึงเป็นที่รักเคารพของมหาชน

อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย กิน (ฉัน) ง่ายอยู่ง่ายไม่พิถีพิถัน วางเฉยในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความทะยานอยาก ท่านพัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ท่านสร้างวัดทรายขาว ให้งามสง่ากว่าวัดใดๆ ใน จ.ปัตตานี หรือแม้กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง เงินที่นำไปสร้างทั้งหมดกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่มาจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดทั้งสิ้น ท่านมิได้แตะต้องเงินทำบุญที่มีผู้บริจาคให้วัดแต่อย่างใด ปรากฏว่าหลังจากท่านมรณภาพ คณะกรรมการได้เคลียร์บัญชีทรัพย์สินในบัญชีต่างๆ เหลือเงินสดถึงกว่าสามสิบล้านบาท ทุกบัญชีท่านแยกแยะไว้ชัดเจนว่าเป็นเงินอะไรบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร หนี้สินใครบ้าง ท่านมีบัญชีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักบริหารงานที่มีการจัดการที่ดีเยี่ยม By: สยามรัฐ 27 พฤศจิกายน 2547

ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว
ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว

ประวัติตะกรุดนารายณ์แปลงรูป อาจารย์นอง วัดทรายขาว
ประวัติตะกรุดนารายณ์แปลงรูป อาจารย์นอง วัดทรายขาว

คม ชัด ลึก  วันที่ 17 พ.ค. ๒๕๔๔

ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป สุดยอดของ อาจารย์นอง วัดทรายขาว สมัยที่ พระครูธรรมกิจโกศล หรือที่ชาวบ้านเรียกขานท่านจนติดปากว่า พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ยังมีอายุไม่ครบ ๖๐ ปี ใครไปขออนุญาตสร้างพระเครื่องที่เป็นรูปเหมือนท่าน จะถูกปฏิเสธเสมอ ท่านจะบอกว่า "ยังไม่ถึงเวลา" ช่วงนั้นผมมีโอกาสไปกราบไหว้ท่านบ่อยๆ ทุกครั้ง ที่ไปกราบ ท่านมักจะ ได้รับแจก วัตถุมงคลเสมอ คือ พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ ๓ ทวด และ หลวงพ่อหมาน บางครั้งก็ได้รับแจก พระหลวงปู่ทวด รุ่นปี ๒๕๑๔ หลวงปู่ทวดเนื้อว่านพิมพ์กรรมการ รุ่นสร้างมณฑป อีกสิ่งหนึ่งที่ท่านจะแจกให้เสมอก็คือ "ตะกรุดลูกปืน" เป็น "ตะกรุด" ที่นำ ปลอกลูกกระสุนปืนมาทำ โดยนำปลอกกระสุนปืน ๒ ปลอกมาประกบติดกัน ข้างในมี "ของดี" บรรจุอยู่ ซึ่งท่านได้กำชับไว้ว่า ห้ามเปิดออกมาดู ถ้าเปิดดู จะเสื่อม.. ไม่ขลังอีกต่อไป

ใครไปใครมาสมัยนั้นมักจะได้รับแจก ตะกรุดลูกปืนอาจารย์นอง วัดทรายขาว นี้เสมอ ยกเว้นแต่ว่า ในช่วงนั้น ไม่มีปลอกกระสุนปืน ซึ่งจะมีผู้นำ มาถวาย ให้ท่านตามแต่ โอกาส จะอำนวยให้ ปลอกกระสุนปืนที่นำมาทำ "ตะกรุด" นี้จะมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ต่อมาในช่วงหลัง ปลอกกระสุนปืนหายาก ก็เลยมีการนำแผ่นทองคำ มารีดบางๆ แล้วประกอบ เป็นรูปทรงกระบอก เหมือน ปลอกกระสุนปืนแทน ซึ่งก็ได้รับความนิยมชมชอบเช่นกัน

ตำราการสร้าง "ตะกรุดลูกปืน" หรือ "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" นี้ มีประวัติความ เป็นมา ที่แปลกประหลาด พิสดารมาก รับรองว่าไม่มีตำราการสร้าง "ตะกรุด" สำนักไหนเหมือนของ พระอาจารย์นอง อย่างแน่นอน ผมได้เคย ฟังท่านเล่ามาหลายครั้ง พอดีมาพบเห็นในหนังสือ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์นอง วัดทรายขาว ซึ่งจะ มีขึ้นใน วันจันทร์ที่ ๒๐ พ.ค.๒๕๔๕ นี้ โดยหนังสือเล่มนี้ผมได้รับความเอื้อเฟื้อจาก คุณวัชรพงษ์ ระดมเพ็ง บรรณาธิการนิตยสาร "กรุงสยาม" ก็เลยขอคัดลอกบางส่วนมาลงให้อ่านกัน พร้อมทั้ง ภาพประกอบ ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้เช่นกัน

 ในหนังสือเล่มนี้บันทึกไว้โดยสรุปได้ว่า....พระครูสังฆรักษ์สายันต์ จนฺทสโร เจ้าอาวาส วัดช้างให้ รูปปัจจุบันนี้ ได้พูดถึง "ตะกรุดนารายณ์แปลง" นี้ว่า พระอาจารย์นอง ได้เล่าว่า...คืนวันหนึ่ง...ในสมัยที่ วัดทรายขาว ยังเป็นวัดที่ลำบากมาก คือยังไม่มีศาสนสถานเหมือนปัจจุบันนี้ พระอาจารย์นอง ได้อาศัยอยู่ที่กุฏิหลังเก่า ทางด้าน ทิศใต้ ของวิหารจตุรมุข หลวงพ่อหินอ่อน ในปัจจุบันนี้ ได้มี "นางไม้" ตนหนึ่ง มาปรากฏ ที่เสากุฏิ แล้วได้มอบ คาถาในการปลุกเสก ตะกรุดนารายณ์แปลงรูปอาจารย์นอง วัดทรายขาว ให้เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วม ในการทำบุญกุศล ในการสร้างวัดทรายขาว พระอาจารย์นอง จึงได้นำแผ่นทองคำเปลวไปติดที่เสาต้นนั้น ปัจจุบันนี้ กุฏิหลังเก่า นี้ยังมีอยู่ทางวัดได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์

สำหรับ "นางไม้" ที่ชาวบ้านเรียกกันนั้นก็คือ "แม่นางจันทร์" ซึ่งพระเณรใน วัดทรายขาว มักจะฝันเห็น กันบ่อย และนำไปเล่าให้ พระอาจารย์นอง ฟังอยู่เสมอ พระอาจารย์นอง ได้ปรารภอยู่เสมอว่า "แม่นางจันทร์" ได้มาบอกว่า ขอให้สร้าง "ศาลพระภูมิ" ทรงไทยให้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้สร้าง...จวบจนทุกวันนี้

สำหรับตำนาน "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" อีกกระแสหนึ่งที่ผมได้รับฟังมาจาก อาจารย์นอง วัดทรายขาวโดยตรง ก็คือ...สมัยที่ พระอาจารย์นอง ยังอยู่ที่กุฏิหลังเก่า มี "นางไม้" ตนหนึ่งคือ "แม่นางจันทร์" มายืนร้องไห้ อยู่หน้ากุฏิ บอกว่าจะให้ พระอาจารย์นอง ออกไปพบ เพื่อมอบตำราการสร้าง "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" ตอนแรก พระอาจารย์นอง ไม่ยอมออกไป เพราะเป็นเวลาวิกาลและการพบกับผู้หญิง ไม่เป็นการสมควร แต่ "นางไม้" ได้อ้อนวอน อยู่หลายครั้งโดยบอกว่า อยากจะมอบตำรานี้ให้ เพื่อจะได้มีส่วนสร้าง วัดทรายขาว ด้วย หากไม่ได้ ถ่ายทอด วิชานี้ให้กับ พระอาจารย์นอง ซึ่งตนเห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ตนเองก็จะไปจุติใหม่ไม่ได้ และว่าตน เป็นเทพ อีกภพหนึ่ง ไม่ใช่มนุษย์ การที่ พระอาจารย์นอง ออกไปพบจึงไม่มีอะไรเสียหาย ในที่สุด อาจารย์นอง วัดทรายขาว จึงได้ออกไปพบ และได้มีการถ่ายทอดตำราวิชาการสร้าง "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" และคาถาอาคมกำกับให้ อาจารย์นอง โดย "ห้ามมีการจด" แต่ให้จำเพียงอย่างเดียว อาจารย์นอง ก็จำได้หมดสิ้น ก่อนจะจากหายไป "แม่นางจันทร์" ได้บอกว่า ตำรานี้ ห้ามถ่ายทอด ให้คนอื่น อย่างเด็ดขาด ถ้าหาก อาจารย์นอง ละสังขารไปเมื่อใด ก็ให้หาย สาบสูญ ไปด้วยเลย... ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์นอง จึงไม่ได้ถ่ายทอด วิชานี้ให้กับใคร...สำหรับ "ของดี" ที่บรรจุ อยู่ใน "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" นี้เป็นเปลือก ของต้นไม้ ศักดิ์สิทธิ์ อย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด ซึ่งมีอยู่บนยอดเขาเหนือวัดทรายขาว และ พระอาจารย์นอง ก็ไม่เคย บอกใครเลยว่า เป็นต้นไม้อะไร ?

สำหรับ "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ พระอาจารย์นอง มาก เพราะมีผู้นำ ไปใช้แล้ว มีประสบการณ์ ทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัยมาโดยตลอด อีกทั้งยังมีเมตตามหานิยมเป็นเยี่ยม ใครมีติดตัวไว้ จะเป็น ที่รักใคร่ ของคนทั่วไป ผมได้เคยรับแจก "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป" จาก พระอาจารย์นอง บ่อยๆ บางครั้ง เมื่อมีผู้ใด มาขอต่อก็ได้มอบให้ไป เพราะถือว่ากลับไปขอใหม่ได้ จนทุกวันนี้เหลืออยู่เพียง ๒-๓ ดอกเท่านั้นก็คงต้องเก็บไว้ใช้ ส่วนตัวเพราะไม่มีโอกาสจะหาได้อีกแล้ว ทราบว่าในข่าววงการพระเครื่องปัจจุบันเช่าหากันถึงดอกละ ๒ พันบาท ขึ้นไป

เมื่อ พระอาจารย์นอง ได้ละสังขารจากไปแล้ว มีผู้สงสัยใคร่รู้กันว่า ใครจะเป็นผู้สืบทอด พุทธาคม ในสายนี้...? โดยเฉพาะ ตำราการปลุกพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ซึ่งแม้ที่อื่นจะทำได้ ก็ไม่เหมือน สายตรง จากวัดช้างให้ ในเบื้องต้น พระอาจารย์นอง ได้ตั้งใจที่จะมอบวิชาอาคมให้กับ พระครูสังฆรักษ์สายันต์ จนฺทสโร เจ้าอาวาส วัดช้างให้ รูปปัจจุบันแต่ พระครูสังฆรักษ์สายันต์ ได้ปฏิเสธ ดังนั้น พระอาจารย์นอง จึงได้ถ่ายทอด วิชาอาคม ให้กับลูกศิษย์อีกรูปหนึ่ง คือ พระครูอาทรศุภการ (พระอาจารย์พล อาสโภ) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ รูปปัจจุบัน โดยเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ตรงกับวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๖ เวลา ๐๙.๐๐ น.อาจารย์นอง ได้เรียก พระอาจารย์พล ไปพบที่วัดทรายขาว เพื่อประกอบพิธีครอบครูและถ่ายทอดคาถาปลุกเสกพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ และเวทมนต์คาถาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์พลจนหมดสิ้น (ยกเว้นตำรา การสร้างและปลุกเสก "ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป")

การถ่ายทอดวิชาคาถา ให้นั้นเป็นการมอบแบบวิธีโบราณกาล คือโดยวิธีมุขบาฐ คือการบอกกันปากต่อปาก โดยใน เบื้องแรกสุดนั้น พระอาจารย์นอง ได้ท่องคาถาให้ พระอาจารย์พล ฟังก่อน แล้วให้จดตามเอาเอง เมื่อจดเสร็จแล้ว พระอาจารย์พล ก็อ่านให้ พระอาจารย์นอง ฟัง เมื่อ พระอาจารย์นอง ฟังแล้วเห็นว่าถูกต้อง พระอาจารย์นอง ก็ได้ส่งมอบคาถาให้กับ พระอาจารย์พล อย่างเป็นทางการ พร้อมกับสั่ง กำชับให้นำคาถาเหล่านี้ ไปใช้เพื่อเป็น การช่วยเหลือ เกื้อกูลแก่ชาวบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จึงนับได้ว่า การมอบคาภาปลุกเสก พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดพุทธาคมจาก พระอาจารย์นอง ถึง พระอาจารย์ผล อย่างเป็นทางการ ผมได้มีโอกาสไปกราบไหว้ พระอาจารย์พล วัดนาประดู่ มาหลายครั้งแล้ว ก็ประทับใจในความเป็น "พระแท้" ของพระอาจารย์พลมาก นับเป็น พระอาจารย์ ผู้มีปฏิปทาน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงอีกรูปหนึ่ง ท่านมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ สมถะ สันโดษ ไม่สะสมสมบัติพัสถานใดๆ มีความเมตตาเอื้ออาทรต่อชาวบ้านเหมือนกับ พระอาจารย์นอง ทุกอย่าง จึงนับได้ว่า อาจารย์นอง ท่านมองคนไม่ผิด ทุกวันนี้ ใครไปกราบไหว้ พระอาจารย์พล ที่วัดนาประดู่ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "นี่คือ เพชรแท้แห่งเมืองใต้" ประวัติพระเกจิอาจารย์

กล่าวสำหรับ อาจารย์นอง วัดทรายขาว ที่ผมเคยได้กราบไหว้มาหลายสิบปี มีความประทับใจท่านหลายอย่าง สมัยก่อนโน้น บ้านเมืองยังไม่เจริญมากนัก มีลูกศิษย์จากในตัวเมืองปัตตานีบ้าง ยะลาบ้าง หาดใหญ่บ้าง เอาพัดลม ตู้เย็น และเครื่องใช้ ไฟฟ้าต่างๆ ไปถวายท่านเป็นประจำ ท่านปฏิเสธที่จะรับ โดยบอกว่า...เมื่อเช้านี้ชาวบ้านที่เขาตักให้ท่าน ยังไม่มี ของเหล่านี้ใช้กันเลย ท่านเป็นพระ ต้องอาศัยข้าวของชาวบ้านขบฉัน จะใช้ชีวิตที่ดีกว่าชาวบ้าน ซึ่งยัง ลำบากยากจนอีกมากมาย...ได้อย่างไร ?




ประวัติพระเกจิอาจารย์ ประวัติพระคณาจารย์ พระเครื่องพระเกจิ

ประวัติหลวงพ่อบุญมี โฆสธัมโม วัดเภาเคือง รวมข้อมูลพระเครื่อง
ประวัติพ่อท่านลอย กุสโร วัดชายคลอง ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อเปรม ติสสโร วัดวิหารสูง มะกอกใต้ จังหวัดพัทลุง
ประวัติหลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน ท่าแซะ จ.ชุมพร
ประวัติหลวงปู่จันทร์ ฐิตาจาโร วัดซับน้อย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ประวัติหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา
ประวัติหลวงพ่อเหลื่อม วัดนาท่อม พระเครื่องและวัตถุมงคลหายากเมืองพัทลุง
ประวัติพระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อแดง วัดโทตรี จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
ประวัติหลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา
ประวัติหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี
ประวัติพ่อท่านท้วง สำนักสงฆ์คลองแคว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
ประวัติ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
ประวัติ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง article
ประวัติพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน เทวดาเมืองคอน
ประวัติ พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า (วัดประดิษฐาราม)
ประวัติ พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน ละสังขารแล้ว
ประวัติหลวงพ่อจาด พระครูสิทธิสารคุณ วัดบางกระเบา
ประวัติ พระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) วัดดินดอน
ประวัติพ่อท่านหีต ปภังกโร วัดเผียน(คีรีรัตนาราม) นครศรีธรรมราช
ประวัติ พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ
ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้ จ.มหาสารคาม
ประวัติ หลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี
ประวัติ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา article
ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก
ประวัติหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ
ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร article
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
ประวัติหลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ จ.ระยอง
ประวัติหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติ หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม จ.นครพนม
ประวัติ หลวงปู่ถิน สารานุโม วัดบ้านดงเมืองน้อย
ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย จ.สกลนคร
ประวัติ พระอุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน
ประวัติ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี (พระครูโกวิทสมุทรคุณ)
ประวัติ หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
ประวัติ พระอาจารย์หรีด วัดปาโมกข์
ประวัติพระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ ประวัติ หลวงพ่อจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ article
ประวัติหลวงปู่เขียว วัดหรงบล จ.นครศรีธรรมราช article
ประวัติหลวงพ่อปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง article
ประวัติ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
ประวัติพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติพระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา(นำ แก้วจันทร์) article
ประวัติ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง
ประวัติพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ (พระครูวิสัยโสภณ ทิม)



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล