ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างศาลหลักเมืองนคร

                              การสร้างศาล"หลักเมืองนคร"

พิธีสำคัญต่างๆของ หลักเมืองนคร ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช พิธีกรรมจตุคามรามเทพเกี่ยวกับการสร้างศาล"หลักเมืองนคร" และความเป็นมาของ "ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช" ที่น่าสนใจดังนี้

   พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างศาลหลักเมืองนคร     จักรรัช ธีระกุล

   1  พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง กระทำที่ป่าช้าวัดชะเมา ตำบล ท่าวังอำเภอ เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการล้างอาถรรพ์ดวงชะตาเมืองเดิม ซึ่งเรียกว่า ดวงราหูชิงจันทร์ หรือ ดวงภินธุบาศว์ ลักษณะดวงดาวเสาร์ ซึ่งเป็นดาวภัยเล็งจุดกำเนิดวางดาวอังคารให้อยู่ในภพที่ห้า เจ้าของดวงชะตาเช่นนี้เหมือนถูกสาป อาภัพ บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องทัณฑ์ ไม่หยุดหย่อน เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองได้ไม่นาานก็เสื่อมทรามตกต่ำ การเผาดวงชะตาครั้งนี้ใช้ เพชฌฆาตฤกษ์ คือเลยเที่ยงคืนไป 1 นาทีของปลายปี 2528

    2  พิธีลอยชะตาเมือง เพื่อทำลายดวงชะตาเมืองเดิม ทำแพจากต้นกล้วยเถื่อน(กล้วยป่า) เก็บดินสี่มุมเมือง น้ำห้าท่า ดาบเก่าสี่เล่ม รูปคนปั้นด้วยดินสี่รูป เสาไม้ตะเคียนทองหนึ่งต้น พญาโหราเรียกอาถรรพ์จัญไร บรรจุลงในต้นตะเคียน เสกคาถาลงเลขยันต์ครบถ้วนแล้วนำไปลอยที่ปากน้ำ ปากนคร

   3   พิธีกรรมสะกดหินหลัก กระทำที่ฐานพระสยม ตลาดท่าชี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง หินหลักเป็นสิ่งที่พวกพราหมณ์เดิมฝังอาถรรพ์เอาไว้ซึ่งได้สร้างความเสื่อมเสียให้กับเมืองนครศรีธรรมราชตลอดมา

   4   พิธีปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ ยักษ์สองตนที่บันไดทางขึ้นองค์พระบรมธาตุถูกปลุกขึ้นมาทำหน้าที่รักษาบ้านเมืองหลังจากถูกสะกดมานาน นอกจากนั้นยังปลุกเทวดา พระพวย พระมหากัจจายนะ อีกด้วย

   5  พิธีปลุกพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระทั้งสองสถิตอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหลับใหลมานานปีให้ตื่นขึ้นมาช่วยบ้านช่วยเมือง

   6  พิธีกรรมพลิกธรณี กระทำที่ริมรั้วป่าช้าวัดชะเมา พลิกดินชั่วช้าสกปรกฝังไว้เบื้องล่างเอา ดินดีขึ้นมาไว้ด้านบน เพื่อบ้านเมืองจะมีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองในวันข้างหน้า

   7  พิธีกรรมเทพชุมนุมตัดชัย กระทำที่วิหารหลวง วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2529 เวลา 12.39 น ตรงกับวัน พฤหัสบดีขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี ฉลู นับเป็นพิธีกรรมสำคัญยิ่ง ดำเนินการตามแบบอย่างของเมืองสิบสองนักษัตรโบราณ ตามคำบอกกล่าวของพญาหลวงเมือง การพิธีครั้งนี้ มี พระเทพวราภรณ์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เปํนประธานฝ่ายฆราวาส จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่จังหวัดนครศรีฯ นอกจากจะมีการเจริญพระพุทธมนต์แล้วยังมีการ เทวาภิเษกโดยเทวดารักษาเมืองมาร่วมเสกผ้ายันต์สิบสองนักษัตร จำนวน 3000 ผืน เขียนผ้ายันต์ 108 ผืนและบอกกล่าวแก่ผู้คนให้ช่วยสร้างบ้านสร้างเมืองอีกด้วย

   8  พิธีกรรมตอกหัวใจสมุทร เพื่อให้ดวงชะตาเมืองถูกบรรจุครบด้วยธาตุทั้งสี่ กระทำ ณ บริเวณ แยกคูขวาง เมื่อวันพุธ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2529 ตรงกับแรมสิบสองค่ำเดือนยี่เวลา 18.30 น โดยนายเอนก สิทธิประศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น เป็นประธาน การที่เลือกแยกคูขวางนั้น เนื่องจากเนื่องจากจุดดังกล่าวได้ศูนย์กับองค์พระบรมธาตุ ภูเขามหาชัย และได้ศูนย์กับทิศทั้งแปดตามตำราของชาวเมืองสิบสองนักษัตร

   9  พิธีฝังหัวใจเมือง กระทำเมือวันที่ 20 มีนาคม 2529 ตรงกับวันพฤหัส ขึ้น 11 ค่ำ เดือนสี่ ปี ฉลู เวลา 11.39 น ณ จุดตอกหัวใจสมุทร ด้วยการขุดหลุมลึก 9 ศอก (ลึกจนถึงน้ำ)เจ้าพิธีอ่านโองการอุปกรณ์พิธีกรรมฝังหัวใจเมืองประกอบด้วยของ 7 ชิ้น แต่ละชิ้นกว้าง 9 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว หนา 2 นิ้ว เขียนดวงชะตาเมือง หัวใจเมือง มีอยู่ สามชิ้นที่ได้ นำเอาโลหะสามชนิด(สามกษัตริย์)ปิดหน้าคั่นกลางระหว่างแผ่นหัวใจเมือง แผ่นไม้นี้องค์จตุคามรามเทพ ได้กรีดเลือดจุ่มเขียนคาถาอาคมหัวใจพ่อแม่ ทำจากไม้ตะเคียนทองกลึงเป็นรูปบัวตูม ยาวประมาณหนึ่งศอก จำนวนสองอัน ฝังลงในหลุมรวมกับแผ่นหัวใจเมือง ดินจากทุกตำบลทุกหมู่บ้านในเมืองสิบสองนักษัตร ที่ประชาชนนำมาใส่ในหลุมแทนธาตุสี่ประกอบด้วย ถ่าน แทน ไฟ เกลือ แทน น้ำ ข้าวเปลือก แทน ลม ทราย แทน ดิน พญาไม้มงคล 9 ชนิด ผ้าสีผืนละสี วางก้นหลุม ทุกอย่างใส่ลงในถุงทั้งหมด

   10 พิธีกรรมปฎิมากรรม หรือการแกะสลัก เสาหลักเมืองนคร โดยแกะจากไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ณ บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรในสมัยนั้น

   11 พิธีเบิกเนตรหลักเมือง กระทำกันต่อเนื่องถึงสามวัน คือวันที่ 3-5 มีนาคม 2530 วันที่ 3 มีนาคม ทำการอัญเชิญหลักเมืองที่แกะสลักแล้วไปประดิษฐานที่วิหารหลวง วัดพระบรมธาตุ หลังจากพระเจริญพระพุทธมนต์และเจ้าพิธีรำกระบี่โบราณถวายแล้วสักการะแล้ว ก้เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนน ราชดำเนินไปตลาดท่าวัง แล้ววกกลับสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองขึ้นประดิษฐานชั่วคราวให้ประชาชนสักการะ วันที่ 4 มีนาคม เวลา 10.30 น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เดินทางมารับมอบหลักเมืองเป็นของทางราชการ วันที่ 5 มีนาคม ตอนค่ำมีพิธีสงฆ์ จากนั้นเจ้าพิธี คือ ขุนพันธรักษ์ราชเดช อ่านโองการเชิญเทวดา ต่อมาประธานจุดเทียนชัย เจ้าพิธีทำการเบิกเนตรหลักเมืองทั้งแปดทิศ อันเป็นการประจุจิตวิญญาณของเทวดารักษาเมืองให้สถิตย์ในหลักเมืองให้สามารถรับรู้ และคุ้มครองดูแลได้รอบทิศ จากนั้นมีการจุดพลุ เพื่อสักการะ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ร่วมปิดทอง เป็นเสร็จพิธี

   12 พิธีการเจิมยอดชัยหลักเมือง (ยอดเสาหลักเมืองนคร) พิธีกรรมสำคัญยิ่งและถือเป็นมงคลสูงสุดคือ การทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร) นำคณะอันประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายอำนวย ไทยานนท์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายกำจร สถิรกุล) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) วุฒิสมาชิก(นายศิริชัย บุลกุล) พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้าง ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นำยอดชัยหลักเมืองเพื่อทรงเจิม ในวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ยอดชัยหลักเมืองที่ทรงเจิมในวันนั้น นอกจากของจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ยังมีหลักเมืองจังหวัดชัยนาท และจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ได้บันทึกเหตุการณ์วันนั้นไว้ มีความตอนหนึ่งดังนี้
" คราวนั้นคณะกรรมการสร้าง"หลักเมืองนคร"ได้นำวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นตามแบบแผนโบราณจำนวน 13 ชนิด พร้อมด้วยภาพถ่ายหลักเมืองน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในครั้งนั้นด้วย ผมเองเป็นกังวลใจมาก เพราะว่าผู้ซึ่งเตรียมไว้ว่าจะต้องทำหน้าที่กราบบังคมทูลคือท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีโดยตรง แต่ก่อนหน้าจะถึงกำหนดเข้าเฝ้าฯท่านขุนพันธ์ฯประสบเหตุตัวต่อต่อยเอาที่ใบหน้าอักเสบ ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าฯ ได้จังหวัดโดยท่านรองฯ อำนวย ไทยานนท์ ได้ขอผมไปทำหน้าที่แทน ผมกังวลเพราะไม่ทราบเรื่องวัตถุมงคล 13 ชิ้นว่าเป็นอย่างไร
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูล และได้กล่าวถึงมงคลที่ได้สร้างในพิธีกรรมสร้าง ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ด้วย เมื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ตามเสด็จฯ ไปยังบริเวณที่วางวัตถุมงคลที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ทรงเริ่มทอดพระเนตรตั้งแต่ชิ้นแรก เป็นภาพถ่ายเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า หลักเมืองกรุงเทพฯ คนนครฯ มาร่วมช่วยสร้างเหมือนกันเพราะเขาเข้าใจเรื่องการสร้างหลักเมือง มีเทวดาเหาะรอบ ๆ ยอดเสาหลักเมืองอยู่ 8 องค์ แต่"หลักเมืองนคร" ที่สร้างขึ้นครั้งนี้เทวดาไม่ได้เหาะ แต่แกะสลักไว้ที่ยอดเสาหลักเมืองให้เฝ้าทิศทั้งแปด จากนั้นได้ทอดพระเนตรวัตถุมงคลทุกชิ้นพร้อมกับทรงอธิบายให้ผมฟังถึงความเป็นมา และการใช้สอยเกี่ยวกับของแต่ละชิ้นได้อย่างลึกซึ้ง ประหนึ่งทรงอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจในพระปรีชาญาณยิ่งนัก
จนกระทั่งถึงชิ้นที่ 13 เป็นขี้ผึ้งที่บรรจุในภาชนะรูปคล้ายผอมทำด้วยถมทองขนาดไม่โตนัก ผมเองประหวั่นว่าจะมีรับสั่งถามเกรงว่าจะกราบบังคมทูลไม่ถูกเพราะไม่ทราบคำราชาศัพท์ของคำว่า "ขี้ผึ้ง" แล้วก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งถามพร้อมทรงชี้ไปที่ผอบว่า "นี่อะไร" ผมกราบทูลว่า "เป็นถมทอง ศิลปะดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราช" ทรงมีพระราชกระแสว่า "ถมทองของเมืองนครฯ นี่เรารู้จัก เราใช้อยู่ ข้างในเป็นอะไร" ผมกราบบังคมทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบคำราชาศัพท์ แต่ชาวบ้านเรียกว่า ขี้ผึ้ง พระพุทธเจ้าข้า" ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "สีผึ้ง สมัยโบราณคนเมืองนคร หรือชาวศรีวิชัย เมื่อจะไปเจรจาเรื่องสำคัญกับใคร จะใช้สีผึ้งสีริมฝาปากแล้วไปเจรจา" นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้เป็นที่ประจักษ์ว่าทรงมีพระปรีชาญาณรอบรู้จริงเพราะจากเอกสารที่ฝ่ายพิธีกรรมสร้างหลักเมืองทำขึ้น ก็ได้กล่าวถึงเรื่องขี้ผึ้งในลักษณะตามที่ทรงมีพระกระแสรับสั่งทุกประการ
 
   13 พิธีแห่ยอดชัยหลักเมือง กระทำในวันที่ 4 สิงหาคม 2530 เป็นการต้อนรับยอดชัยหลักเมืองที่นำกลับมาจากกรุงเทพฯ โดยแห่จากสนามบินกองทัพภาคที่ 4 มายังสนามหน้าเมือง มีขบวนช้างศึกและม้าศึก รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก เพื่ออัญเชิญไปยังที่ตั้ง ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

   14 พิธีเชิญ"หลักเมืองนคร" เป็นการอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการถาวรโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
 
 
   15 พิธีสวมยอดชัยหลักเมือง กระทำในวันที่ 31 ตุลาคม 2531 โดย รองผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้นเป็นประธาน

   16 พิธีเททองปลียอดศาลหลักเมืองนครและบริวาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2541 มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน ทั้งหมดเป็น พิธีกรรมสำคัญต่างๆของ หลักเมืองนคร ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
 
 



หลักเมืองนครศรีธรรมราช

สร้างหลักเมืองนครทำไม
ศาล"หลักเมืองนครศรีธรรมราช"
จุดแรกเริ่มองค์ จตุคาม-รามเทพ



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (147117)

ร่างทรงองค์ พ่อจตุคามรามเทพ คือ โกผ่อง สกุลอมร

ผู้แสดงความคิดเห็น แจส (pn-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-02-02 14:25:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล