ReadyPlanet.com


เซียนโลจิสติกส์ชี้ทางออก


เซียนโลจิสติกส์ชี้ทางออกรับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย ชี้ในวิกฤตยังมีโอกาส
เซียน โลจิสติกส์ชี้ทางรอดรับมือศก.โลกถดถอย เชื่อในวิกฤตยังมีโอกาสเหตุราคาน้ำมันลด เงินบาทอ่อน แนะหาตลาดใหม่ ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาคน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น


ภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกภาคส่วน โดยเฉพาะปี 2552 หลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า สาหัสมากกว่าช่วงปี 2551 ที่ผ่านพ้นไป จนดูเหมือนสิ้นหวัง ดังนั้น "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับเปิดศักราชรับ   ปี ใหม่ 2552 จึงได้พยายามระดมแนวความคิดจากผู้บริหารองค์กรเอกชนหลายองค์กร รวมถึงนักวิชาการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มาช่วยฉายภาพแห่งความหวังและแนวทางออกในการเผชิญวิกฤต เพื่อเป็นแนวทางนำไปประยุกต์ใช้กันได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

 
           สุวิทย์ รัตนจินดา
นายสุวิทย์ รัตนจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท Pro Freight International จำกัด กล่าวในฐานะนายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) และประธานสมาพันธ์  ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ว่า ภาวะเศรษฐกิจ   ปี 2552 คงเป็นปีที่ทุกฝ่ายมีความกังวลใจ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกถดถอย  ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งได้ส่งสัญญาณด้วยตัวเลขการส่งออก ใน เดือนพฤศจิกายน 2551 ติดลบ 18% ภาวะดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ และเพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมการรองรับปัญหาอุปสรรคในปีหน้า ทุกฝ่ายต้องพยายามผลักวิกฤตดังกล่าวที่เกิดขึ้นให้ เป็นโอกาส 1.พยายามหาตลาดและ     ช่องทางการให้บริการลูกค้าใหม่ๆ เช่น พัฒนาการให้บริการด้านโลจิสติกส์ตามแนวเส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC) และ North-South Economic Corridor (NSEC) รวมถึงการให้บริการด้านธุรกิจคลังสินค้า และเขตปลอดภาษีอากร

 

2. ใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายด้าน ต่างๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ดำเนินงาน และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

 

3. ในวิกฤตยังมีปัจจัยที่เป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2551 เช่น อัตราค่าน้ำมันได้ปรับตัวลดลงจากประมาณ 150 เหรียญต่อบาร์เรล ลงมาเหลือประมาณ 40 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเฉลี่ยประมาณ 34-35 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ปัจจัย 2 ประการดังกล่าวส่งผลให้ภาคการส่งออกมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราค่าระวางการขนส่งมีแนวโน้มต่ำลงในปีหน้า

 

 4.สำหรับองค์กรที่มีความพร้อมด้าน เงินทุน ปีหน้าถือเป็นปีที่น่าลงทุนที่สุด เพราะในวิกฤตย่อม

           คอลิน แอร์ดรี่
เป็น โอกาสสำหรับองค์กรที่มีความพร้อมและจะได้เปรียบเมื่อภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตามขอฝากรัฐบาลชุดใหม่ช่วยดูแล และให้ความสำคัญในการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน และส่งเสริมให้ ภาคโลจิสติกส์ของไทยสามารถพัฒนา   และมีความแข็งแกร่งได้

 

นายคอลิน แอร์ดรี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โลจิสติกส์ บูโร  (เอเชีย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนคิดว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยเสมือนเป็นดาบ 2 คม คือ ด้านหนึ่งบริษัทอาจจะต้องถอนการลงทุนในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะพัฒนาทักษะการทำงานต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่โครงการฝึกอบรมต่างๆ อาจได้รับผลกระทบ แต่ในทางกลับกัน บริษัทก็จำเป็นต้องหันกลับมาดูภายในองค์กรเพื่อจะลดผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง และต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าประสบความสำเร็จ ทั้งนี้บริษัทมีเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า "cost-to-serve" สามารถวิเคราะห์มองเห็นปัญหาได้หมด ขณะเดียวกันทางบริษัทจะช่วยรักษารายได้ด้วยการลดต้นทุนการดำเนินงานด้าน ต่างๆ เช่น ต้นทุนคงที่ รวมทั้งเครือข่ายการกระจายสินค้าที่เหมาะสม เพื่อจะสร้างความมั่นใจให้บริษัทในการมีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านระดับการบริการและช่วยลดต้นทุน อย่างไรก็ตามแต่ละบริษัทควรจะลงทุนด้านการฝึกอบรมในเวลาที่บริษัทยังอยู่ใน สถานะที่แข็งแกร่ง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

 

 
     รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์
รศ. ดร.รุธิร์ พนมยงค์ อาจารย์ประจำสาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปีหน้าเป็น ปีที่ยากลำบากของผู้ให้บริการทางด้าน   โลจิสติกส์ของไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เนื่องจากโลจิสติกส์ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจยังคงเติบโต แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก

ดัง นั้นในภาวะยามนี้ มาตรการปรับลดต้นทุนยังคงเป็นความเร่งด่วนประการแรก รวมถึงประเด็นเรื่องการประเมินความเสี่ยงของซัพพลายเชน ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องตัดสินใจ เวลานี้ต้องหยุดคิดเกี่ยวกับนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทยกลาย เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ไว้ก่อน และให้มุ่งไปจัดการปัญหาภายในองค์กรของ ตัวเองก่อน

 

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระ จอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบให้คนไทยตื่นตกใจ นึกไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้น เป็นเพราะไม่เข้าใจสิ่งแวดล้อม   ที่อยู่รอบๆ ตัว เช่นเดียวกับปัญหาโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคต

 

เมื่อไม่มีการพิจารณาวิเคราะห์ภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้น ปัญหาโลจิสติกส์ก็ไม่สามารถแก้ไขได้

 
      ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
แม้ แต่ละคนจะมีเทคนิค มีวิธีการ แต่ถ้าไม่เข้าใจภาพรวมทั้งหมดก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรกลับไปศึกษาถึงต้นตอและสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิด เหตุการณ์ต่างๆ อย่างใช้ ปัญญา และต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเอง

 

"เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปเป็น  โลกา ภิวัตน์ ลูกค้ามีอยู่ทั่วโลก ขณะที่ประเทศผู้ผลิตก็มีหลายประเทศทั่วโลกเช่นกัน ดังนั้นคนทำโลจิสติกส์ต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมดให้ได้ โดยเฉพาะกฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละประเทศที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่วนอนาคตข้างหน้าจะเป็นเวลา  ที่ต้องหันกลับมาคิด ให้ลึกซึ้งถึงแก่นของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ไม่ใช่แก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้า ถึงแม้ว่าภาวะโดยรวมอาจจะหนักกว่าที่เคยเป็นมา แต่ถ้าเราหันกลับมาคิดกันให้มากขึ้น คิดกันให้  กว้าง ขึ้น มองประโยชน์ส่วนรวมแล้วค่อยย้อนมามองประโยชน์ส่วนตัวเมื่อส่วนรวมอยู่ได้ ส่วนตัวเองก็อยู่ได้เช่นกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จะกี่ข้าง กี่สี   กี่ฝ่าย ก็ไม่ใช่ประเด็น แต่ทุกฝ่าย ทุกสี  ทุก ข้าง เห็นประโยชน์ร่วมกันหรือไม่เท่านั้น ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ และวิสัยทัศน์ในการนำพาสังคมไทยให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลง" ดร.วิทยากล่าว



ผู้ตั้งกระทู้ News กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2009-01-01 09:16:53