ReadyPlanet.com


เทคโนโลยี"โทรคมนาคม"


เทคโนโลยี"โทรคมนาคม"พลิกโฉมอีกระลอก
วงการสื่อสารโทรคมนาคมได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหม่

ที่มา...วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11287 มติชนรายวัน

สิบปีที่ผ่านมา วงการสื่อสารโทรคมนาคมได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเดิมสิ้นเชิง เป็นผลมาจากความต้องการของผู้ใช้งาน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และรูปแบบการทำธุรกิจ โดยในปี 2552 วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหม่จากวิกฤต เศรษฐกิจ ทั้งผู้ประกอบการ ความต้องการของผู้บริโภค

หัวเว่ย เครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม คาดการณ์ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีในวงการโทรคมนาคม ปี 2552 เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวรับสถานการณ์และชิงความได้เปรียบคู่แข่ง ในตลาด

การเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย All IP มีความน่าเชื่อถือและมีเสถียรภาพสูงจะเพิ่มความคุ้มทุน ความสามารถในการขยายเครือข่าย ใช้ได้ทั้งให้บริการบนเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายไร้สาย

โซลู ชั่นที่ช่วยลดต้นทุนการให้บริการ จากความต้องการค่าบริการราคาถูก (ARPU) ผลักดันให้ผู้ให้บริการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการเองก็ต้องการคงกำไรต่อเลขหมายไว้ให้เท่าเดิม

บริการ โมบายบรอดแบนด์หรือบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ เชื่อมต่อกับข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยผู้ให้บริการควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นใน การเลือกสถานที่ติดตั้ง, การกระจายเครือข่ายเกตเวย์, ระบบจัดการสัญญาณ, และการปฏิบัติการและการบำรุงรักษา หัวเว่ยจึงมุ่งเน้นพัฒนาสถานีฐานและเกตเวย์ให้มีขนาดเล็กลงรวมถึงการพัฒนา เครือข่ายที่สามารถจัดระบบตัวเองได้ ใช้งานง่ายเพียงแค่เชื่อมต่อก็สามารถใช้งานได้ทันที เพื่อหาสัญญาณครอบคลุมพื้นที่เมืองที่มีประชากรหนาแน่น



ระบบ การจัดการข้อมูลแบบเสมือน (Virtual Computer) จากเดิมที่ผู้ใช้บริการต้องเสียเงินจำนวนมากซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาใช้ ระบบการจัดการข้อมูลแบบเสมือนจะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่ายได้มาก เมื่อสามารถเข้าถึงบริการช่องทางออนไลน์ อาทิ บริการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ (Software as a service: SaaS) บริการเช่าใช้แพลตฟอร์ม (Platform as a service : Paas) และบริการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service : Ias) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการข้อมูลแบบเสมือน

การเพิ่มมูลค่า บรอดแบนด์ การใช้งานบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ประกอบการต้อง แบกภาระค่าใช้จ่ายในการทำงานและต้นทุนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอาจต้องขาดทุนเนื่องจากรายได้จากบริการไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไป เพื่อแก้ปัญหานี้ ผู้ประกอบการต้องมีการบริหารการไหลเข้าออกของข้อมูลที่ชาญฉลาด ใช้งานแบนด์วิธได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคจากการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้าง รายได้เพิ่มเติมให้แก่ บรอดแบนด์



บริการ คอนเทนต์และสื่อ ปัจจุบันเครือข่ายเปลี่ยนจากเครื่องมือสำหรับการสื่อสารเป็นเครือข่ายพื้น ฐาน รวมทุกองค์ประกอบของสังคมเข้าไว้ด้วยกัน นำไปสู่ตลาดมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับนักธุรกิจที่ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต เหตุนี้ทำให้ผู้ให้บริการพยายามเพิ่มคอนเทนต์และบริการสื่อ และต้องการการโต้ตอบจากผู้ใช้ ถือเป็นความท้าทาย ซึ่งการจะให้บริการคอนเทนต์นี้จำเป็นต้องใช้เครือข่ายที่ช่วยลดต้นทุน

ทั้ง นี้ ปัจจัยก่อให้เกิดแนวโน้มดังกล่าวมาจากแนวคิดคำว่า "โลกแห่งเครือข่าย" 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การถึงจุดอิ่มตัวของการใช้โทรศัพท์มือถือ ความต้องการใช้บรอดแบนด์ในทุกสถานที่ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ราคาแพงมาใช้ และการไหลบ่าของข้อมูลดิจิตอล

การ ถึงจุดอิ่มตัวของการใช้โทรศัพท์มือถือ ในปลายปี 2551 จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ล้านคน และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านคนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งมากกว่า 1 พันล้านคนนั้นเป็นจำนวนจากผู้ใช้ในตลาดเกิดใหม่ จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เองจะทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในการใช้งานลด น้อยลง

ความต้องการใช้บรอดแบนด์ในทุกสถานที่-อีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะ เห็นการเพิ่มขึ้นของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นอย่างมาก โดยในปี 2556 จะมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้สายนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านคน ซึ่งเป็นสองเท่าของจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายจะเพิ่มขึ้นกว่า 1,200 ล้านคนซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยี HSPA บรอดแบนด์จะช่วยให้เกิดการรวมกันของโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์พีซี และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ

ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มี ความซับซ้อนได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ราคาแพงมาใช้ หรือที่รู้จักกันในชื่อของเทคโนโลยี Cloud computing เนื่องจากการเชื่อมต่อข้อมูลกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ใช้บริการ cloud computing จะทำให้กำแพงระหว่างสังคมที่มีข้อมูลกับสังคมที่ไม่มีข้อมูลทลายลง

การ ไหลบ่าของข้อมูลดิจิตอล-ปริมาณของข้อมูลดิจิตอลในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 1,000 เอ็กซาไบต์ (exabyte) โดย 1 เอ็กซาไบต์ เท่ากับ 1018 ไบต์ โครงสร้างของข้อมูลจะเต็มไปด้วยการไหลเข้าออกของข้อมูลซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าหรืออาจเป็น 100 เท่า

ทั้งหมดนี้เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นใน วงการโทรคมนาคมที่ผู้ประกอบการทั่วโลกต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนา บริการและผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต



ผู้ตั้งกระทู้ News กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-03 10:27:30