ReadyPlanet.com


โลจิสติกส์ ปี"52 Thai Logistics


ก.พาณิชย์ดันโลจิสติกส์ ปี"52 Thai Logistics หนุนไทยรวมธุรกิจบี้อินเตอร์ "TLA-SLA" อาสาชิงบิ๊กเค้ก 7.3 แสนล้าน

หลายรัฐบาลมีความพยายามจะยกระดับการขนส่ง สินค้าจากต้นทางถึงปลายทางแบบครบวงจร หรือ logistics มาตั้งแต่ปี 2545 สมัยนั้น 5 กระทรวงเศรษฐกิจลุกขึ้นมาจัดเวิร์กช็อปร่วมกันเป็นครั้งแรก 5 กระทรวง มีกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแม่งานหลักวิจัยและศึกษาข้อมูลตลอดจนการจัดทำแผน โลจิสติกส์ฉบับ 5-10 ปี

พุ่งเป้าหมายจัดระเบียบการย้ายสินค้าอย่างมีระบบมาตรฐาน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการ "ลดต้นทุนค่าขนส่ง" และ "เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน" ทำให้ธุรกิจส่งออกไทยขยาย ตลาดได้อย่างรวดเร็วในเวทีนานาชาติ แทนที่จะมาติดแหง็กอยู่กับความล่าช้าขาดประสิทธิภาพเอกชนต้องแบกภาระต้นทุน โลจิสติกส์ไว้ไม่ต่ำกว่า 23%

เมื่อ "อลงกรณ์ พลบุตร" เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนปี 2552 เดินหน้าสนับสนุนแผนงานของ "กรมพัฒนาธุรกิจการค้า" กระทรวงพาณิชย์ ช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการภาคเอกชนไทยรวมตัวกัน ก่อตั้งบริษัทโลจิสติกส์ครบวงจรลงสนามเพื่อชิงเค้กรายได้ปีละ 7.3 แสนล้านบาทมาไว้ในมือนักธุรกิจไทย

ซึ่งมีศักยภาพพร้อมให้บริการ แข่งกับกลุ่มทุนต่างชาติซึ่งเป็น ผู้ครอบครองรายได้ไว้ถึง 99% ขณะนี้บริษัทโลจิสติกส์มีส่วนแบ่งรายได้เพียง 1% ทันทีที่กระทรวงพาณิชย์ออกแรงช่วยอย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าดึงเค้กมาเป็นของกลุ่มธุรกิจไทยให้ได้ขั้นต่ำ 10% หรือประมาณ 73,000 ล้านบาท/ปี
ธุรกิจโลจิสติกส์



รม ช.อลงกรณ์กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ ของผู้ประกอบการไทยแข่งขันกับผู้ประกอบการอินเตอร์ที่เข้ามาปักหลักบริการนำ รายได้กลับประเทศไปมหาศาล กระทรวงพาณิชย์จะต้องทำภายใต้ความสำเร็จ 4 วาระหลัก 1) สร้างมาตรฐานขานรับกระแสการค้าโลกโดยการให้ความสำคัญกับ โลจิสติกส์และธุรกิจเกี่ยวข้อง

2) เร่งส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการ แข่งขันกับธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทยและบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 3) สร้างพันธกิจโลจิสติกส์ด้วยยุทธศาสตร์เชิงนโยบายการผลักดันให้ผู้ประกอบการ รวมตัวกันตั้งกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ (alliance) และ 4) เร่งผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นแกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเวทีโลก

เพราะสถานะของ ไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และวิกฤตเศรษฐกิจโลกนั้น อย่างไรก็ต้องเดินหน้าเพิ่มมาตรฐานเพื่อความก้าวหน้ารับกับการหมุนของ โลจิสติกส์โลกจำเป็นที่ไทยจะต้องจูนรับคลื่นใหม่ 3 เรื่อง คือ 1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่กำลังทำให้โลกแคบลง 2) ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดต่างขับเคลื่อนด้วยการค้าเสรีเริ่มขยายข้อตกลงทางการค้า ในแบบทวิและพหุภาคี 3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากอีกประเทศไปยังอีกประเทศเป็นไปแบบไร้พรมแดน

เพื่อ ให้เกิดผลออกมา (outcome) ใหม่ 3 เรื่อง 1) ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญกับนานาประเทศ 2) โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความก้าวหน้าทางการค้าและเศรษฐกิจมาก ขึ้นทุกวัน 3) เปิดช่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเร่งปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถแข่งกับนานา ชาติ ได้เต็มที่

จากสถิติล่าสุดปี 2550 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยติดหล่มรุนแรงมากถึง 1,603,800 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 กว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็เจอพิษราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่ง ทะลุเพดาน 147.5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยสูงเกิน 19% ต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์และฮ่องกง มีสัดส่วนไม่เกิน 10% เท่านั้น

ฉะนั้นรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี จะอาศัยความแข็งแกร่งของ "กรมพัฒนาธุรกิจการค้า" กระทรวงพาณิชย์ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การพัฒนาโลจิสติกส์มาตั้งแต่ต้นได้แสดง บทบาทการเป็น "ผู้นำ" ที่จะสร้างปรากฏการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์คนไทย ดึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังพอมีโอกาสแข่งขันกับต่างชาติ ได้อีกไม่ต่ำกว่า 15,000 บริษัท เติบโตไปพร้อมกัน รักษาแรงงานในตลาดไว้ให้ปีละ 3 ล้านคน

จากนี้ไปกระทรวงพาณิชย์จะ ให้โอกาสพันธมิตรธุรกิจ โลจิสติกส์ 2 บริษัทใหญ่ เป็นแกนนำต่อกรกับบริษัทโลจิสติกส์ข้ามชาติ ได้แก่ Thai Logistics Alliance หรือ TLA ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขนส่งและตัวแทนนำเข้า-ส่งออก สินค้าระหว่างประเทศ 31 บริษัท มีทุนจดทะเบียน 1,300 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ในมือเป็นรถบรรทุกสินค้า 1,200 คัน พื้นที่คลังสินค้า 50,000 ตารางเมตร พนักงานรวม 3,000 คน นอกจากจะพัฒนาบริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรแล้ว ยังมีจุดแข็งด้านการขนส่งทางบก ตัวแทนการออกของ บริการคลังสินค้า

ส่วน Siam Logistics Alliance หรือ SLA เป็นบริษัทกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งปี 2551 ด้วยทุน 1,100 ล้านบาท มีรถบรรทุกสินค้า 1,700 คัน พื้นที่คลังสินค้า 250,000 ตารางเมตร มากกว่า TLA 5 เท่า พนักงาน 3,100 คน ซึ่งจะเข้ามาเสริมบริการร่วมกับ TLA ครอบคลุมไปยังบริการเช่าหรือขาย ฟอร์กลิฟต์ อุปกรณ์รถยก นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการ ฝึกอบรมสัมมนาบุคลากรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพแข่งขันกับต่างชาติได้

นโยบาย ของ "กระทรวงพาณิชย์" วางสปอตไลต์ชัดเจนที่จะยกระดับธุรกิจโลจิสติกส์ไทยแข่งขันกับต่างชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และชิงส่วนแบ่งรายได้มาครอบครองปีละไม่ต่ำกว่า 10% จากปีนี้ 7 หมื่นล้านบาท ปีต่อไปเมื่อเข้า TLA และ SLA มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยมีพันธมิตรเพิ่มจากกลุ่มเอสเอ็มอี ส่งออก 15,000 บริษัท ถึงเวลานั้นไทยก็จะหลุดจากกับดักการขนส่งสินค้าเปิดประตูสินค้าสู่เวทีโลก ได้อย่างราบรื่นดีกว่าทุกวันนี้
ที่มา...http://www.matichon.co.th/prachachat/



ผู้ตั้งกระทู้ News กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2009-01-20 10:11:48