พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2566

![]() |
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ลิงค์น่าสนใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
พระเครื่อง นานาสาระ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ เป็นพิมพ์ยอดนิยมซึ่ง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ เท่าที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาจากพระ กรุเก่า และ กรุใหม่ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมก็พอจะแยกออกได้ถึง 9 แม่พิมพ์ ด้วยกันคือ ๑. เส้นขอบองค์พระ ทั้งสี่ด้าน ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง เฉพาะองค์ที่พิมพ์ติดชัดและไม่ผ่านการจับต้องมาก จะสังเกตเห็นเป็นเส้นนูนเรียวเล็กเช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง” เนื่องจากการสร้าง “แม่พิมพ์” นายช่างนำ “พระสมเด็จวัดระฆัง” มาเป็นแม่แบบ” ๒. “เส้นซุ้ม” ลักษณะก็เป็นแบบ “หวายผ่าซีก” ที่กลมใหญ่โดยเส้นโค้ง ด้านขวาองค์พระ จะมีความชันกว่า ด้านซ้ายส่วน “พระเกศ” (ผม) จะเป็น “เส้นตรง” และปลายเรียวจรดเส้นซุ้มอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง” ส่วน “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศเอียง” ให้สังเกต “พระเกศ” จะเอียงไปทางด้านขวาเล็กน้อย ๓. “พระพักตร์ (หน้า) ลักษณะคล้ายผลมะตูมและในองค์ที่พิมพ์ติดชัดจะสังเกตเห็น “พระกรรณ” (หู) ที่ด้านซ้ายส่วน “พระกัจจะ” (รักแร้) ด้านซ้ายจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อยและ “พระกร” (แขน) ทั้งสองข้างทิ้งดิ่งลงมาประสานกันเป็นรูป “ตัวยู” โดยพระกรซ้ายจะเป็น “เส้นตรง” ส่วนพระกรขวา “กางออก” เล็กน้อยจึงเป็นอีกที่มาของการเรียกชื่อ “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง” ๔. “พระอุระ” (อก) กว้างนูนเด่นรับกับ “พระอุทร” (ท้อง) ที่เรียวเล็กลงได้อย่างสวยงามทำให้มีลักษณะคล้ายกับ “ตัววี” ที่ทอดลงไปจรดกับวงพระกรที่เป็นรูป “ตัวยู” ๕. “พระเพลา” (ตัก) นูนหนาใหญ่ยาวประทับนั่งสมาธิราบและปรากฏ “เส้นชายจีวร” ที่พาดจาก “พระกัปปะระซ้าย” (ศอกซ้าย) ทอดลงไปยังพระเพลาซ้ายอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่” เช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง” ๖. ฐานที่มี ๓ ชั้น ยาวกว่าพระเพลาเล็กน้อยโดย “ฐานชั้นแรก” ลักษณะเป็นแท่งหนาใหญ่และ ยาวกว่าฐานชั้นอื่น ๆ “ฐานชั้นที่สอง” จะเล็กลงและสั้นกว่าฐานชั้นแรก โดยปลายทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นฐานสิงห์ส่วน “ฐานชั้นที่สาม” ก็จะเล็กและสั้นกว่าฐานชั้นที่สอง ลักษณะเป็นเส้นตรงที่ยาวขนานกันกับพระเพลา. พุทธธัสสะ |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (151373) | |
พิมพ์ใหญ่พระพักต์เล็ก มีรูปภาพให้ดูไหมครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น โอ๋ (lanu90-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-10-22 13:41:46 |
[1] |