ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




อัศจรรย์ประสบการณ์อภินิหาร หลักเมืองนคร

อัศจรรย์ประสบการณ์อภินิหาร หลักเมืองนคร อัศจรรย์ของ เสาหลักเมืองนคร นับตั้งแต่แรกเริ่มดำเนินการก่อสร้าง"หลักเมือง นครศรีธรรมราช" ได้เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์หลายครั้งให้ได้พบเจอเป็นความศักดิ์สิทธิ์ขององค์ จตุคามรามเทพ ศรีมหาราชพังพระกาฬ

อัญเชิญไม้ตะเคียน เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
อัญเชิญไม้ตะเคียน เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช

     1. ไม้ตะเคียนทองสำหรับแกะสลักหลักเมือง เป็นไม้จากจากเขายอดเหลือง ซึ่งอยู่ท้องที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา(ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่อำเภอนบพิตำ) มีลักษณะแปลกคือที่บริเวณรอบโคนต้นมีลักษณะเตียนโล่งซึ่งเรียกกันว่าลานนกหว้า หรือตะเคียนใบกวาด หลังจากโค่นต้นไม้แล้ว คณะได้ตัดต้นตะเคียนเหลือความยาว 4 เมตร ต้องใช้ช้างชักลากลงมาจากยอดเขา เมื่อช้างชักลากตอนแรกไม้ตะเคียนทองไม่ยอมขยับเขยื้อน แต่เมื่อคณะตัดฟันได้จุดธูปบอกกล่าวช้างก็สามารถชักลากได้ตามปกติ

     2. ในการช่วงของการ ประกอบพิธีกรรมเผาดวงชะตาเมืองที่ป่าช้าวัดชะเมาก็เกิดความแปลกประหลาดของความ อัศจรรย์หลักเมืองนครศรีธรรมราช คือเวลาหลังเที่ยงคืนไป 1 นาที เมื่อปลายปี 2528 ท่ามกลางความมืด มีแต่แสงเทียนประกอบพิธีเท่านั้นใช้เสียงนกแสกเป็นสัญญาณจุดไฟ ทันทีที่จุดไฟจะมีเสียงร้องครวญครางโหยหวน ของภูตผีในป่าช้าที่ถูกเรียกมาให้เป็นพยาน สร้างความหวดกลัวให้กับผู้ร่วมพิธี แม้พระภิกษุรูปเดียวที่ได้รับนิมนต์มาสวดบังสุกุลก็ยังเก็บอาการไม่อยู่ สวดมนต์ด้วยเสียงสั่นเครือ และสวดผิด แต่หลังจากที่เจริญสมาธิจิตและแผ่เมตตาให้ อาการต่างๆ ก็กลับสู่ปกติ

อัญเชิญเสาหลักเมือง จากวัดพระธาตุ
อัญเชิญเสาหลักเมือง จากวัดพระธาตุ

      3. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530 อันเป็นวันแห่เสาหลักเมืองที่แกะสลักและตกแต่งเสร็จแล้วลงเรือศรีวิชัยโบราณจำลอง จากบ้านพักผู้กำกับฯ ไปยังหน้าวิหารหลวง ขณะที่อัญเชิญเสาหลักเมืองจากเรือจำลองลงตั้งพื้นลานหน้าวิหารหลวงนั่นเองได้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ณ ที่นั้นทันทีอย่างน่าอัศจรรย์ วันนั้นได้เกิดฝนตกหนักมากในเขตภูเขาต้นน้ำทางตะวันตกของเมือง เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลเกือบล้นฝั่งคลองท่าดีและคลองพรหมโลก วัวควายที่ชาวบ้านล่ามไว้ในคลองตายไปหลายตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นหน้าแล้ง อัศจรรย์ของ "หลักเมืองนคร" กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ขุนพันธรักษ์ราชเดช ภาพอัศจรรย์ของหลักเมืองนคร
ขุนพันธรักษ์ราชเดช ภาพอัศจรรย์ของหลักเมืองนคร

     4. ในพิธีเบิกเนตรหลักเมืองเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 ขณะที่เจ้าพิธีกรรมคือพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช กำลังทำพิธีเบิกเนตรได้ปรากฏกลุ่มควันจางๆ ขึ้น ณ จุดสัมผัสระหว่างดินสอจารกับดวงเนตรของหลักเมือง

     5. การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับหลักเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะพิธีกลางแจ้ง มักจะมีฝนโปรยเม็ดพรำๆ แทบทุกครั้งในพิธีกรรมต่างๆซึ่งเป็นอีกหนึ่งความ อัศจรรย์..หลักเมืองนครศรีธรรมราช

     6. นายสมจิตร ทองสมัคร เล่าว่าครั้งหนึ่งในระหว่างที่มีการประทับทรงของเทวดารักษาเมือง ตนเองปรารภว่าเกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนัก ชาวบ้านเดือนร้อนมาก ไม้ผลเหี่ยวเฉา จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้เอาไข่ 1 ใบ ไปปาใส่ภูเขาที่เขาขุนพนม บริเวณที่เรียกว่า “หน้าพระ” เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำก็ปรากฏว่าผู้ปฏิบัติการปาไข่ยังไม่ทันจะลงมาถึงลานวัดก็มีฝนโปรยลงมาแล้ว ฝนที่ตกครั้งนั้นตกหนักมากและตกกระจายทั่วไปแม้ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร สำหรับที่กรุงเทพมหานครฝนตกหนักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยนั้นเรียกว่า “ฝนพันปี” นั่นเอง

     7. นายยุทธนา โมรากุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดการทางหัวไทร แขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1 เล่าให้ฟังว่าคืนวันหนึ่งเมื่อ 12 ปีก่อน ขณะที่ตนเองอยู่ที่บ้านพักในแขวงการทางนครฯ กับครอบครัวซึ่งขณะนั้นตนเองยังเป็นช่างประจำสำนักงานแขวงการทาง ได้มีคนมาตามที่บ้านบอกว่าเขามีการเข้าทรงที่ถนนบ่ออ่าง สั่งความให้มาตามตนเองไปหา เมื่อตนเองไปถึงก็ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ออกแบบอาคารศาลหลักเมือง ตนเองตอนนั้นทั้งไม่เชื่อทั้งงุนงง ทั้งเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน หลังจากที่ได้รับการลงเลขลงยันต์ที่ฝ่ามือ และได้รับคำแนะนำครั้งแล้วครั้งเล่าก็ได้มาทำแบบบนกระดาษเขียนแบบ เหมือนกับมีผู้มาบอกกล่าวแนะแนวทางอยู่ตลอดเวลา องค์"จตุคามรามเทพ" หรือที่เรียกกันในหมู่ลูกศิษย์ว่า “พ่อ” ได้กล่าวไว้ว่าเมื่อไหร่ที่เขียนแบบออกมาถูกต้องตามโบราณและเขียนจนถึงยอดเสร็จสมบูรณ์แล้วฟ้าดินจะรับรู้ ปรากฏว่าวันนั้นนั่งเขียนที่โต๊ะทำงาน ทันทีที่ตนเขียนเสร็จท้องฟ้าที่เจิดจ้าตามปกติกลับมืดครึ้มและมีฟ้าผ่าเปรี้ยงอย่างน่าอัศจรรย์ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคราวขุดดินบริเวณสร้างศาลปัจจุบันเพื่อลงฐานราก พบฐานเจดีย์เก่าทรงกลม และเมื่อขุดได้ลึกกว่าสองเมตรก็พบชั้นหินปะการัง ปรากฏว่าน้ำใต้ดินทะลักขึ้นมาทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เมื่อได้ปรึกษา “พ่อ” ก็ได้รับการแนะนำเทคนิคพิเศษทั้งในเรื่องขั้นตอนและวัสดุที่ใช้โดยละเอียด พร้อมกับได้รับการบอกกล่าวไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อทำเสร็จฟ้าดินจะรับรู้ เมื่อทำตามนั้นทุกอย่างก็แก้ปัญหาได้จริงๆอย่างไม่น่าเชื่อ ทันทีที่เสร็จสมบูรณ์ก็เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดอันหมายถึงการรับรู้ของฟ้าดินอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นปรากฏการณ์ อัศจรรย์ของ "หลักเมืองนคร"

รูปจากหนังสือจตุคามรามเทพ นครศรีฯ พ.ศ.2543-2544(ท่านสรรเพชญ ธรรมาธิกุล)
รูปจากหนังสือจตุคามรามเทพ นครศรีฯ พ.ศ.2543-2544(ท่านสรรเพชญ ธรรมาธิกุล)

     8. เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดๆเกี่ยวกับหลักเมืองนครศรีธรรมราช มักจะเกิดฝนพรำๆ และฝนตกตามมาทุกครั้ง แม้กระทั่งพิธีไหว้ครูซึ่งกระทำกันทุกปีในวันพฤหัสแรกของเดือนหก หลังเสร็จพิธีจะมีฝนพรำทุกครั้งเช่นเดียวกัน อีกหนึ่งความ อัศจรรย์หลักเมืองนครศรีธรรมราช ...บทความจตุคามรามเทพ




บทความจตุคามรามเทพ

วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ หลักเมืองนครศรีธรรมราช
วิธีการบูชาองค์จตุคามรามเทพ
บทบูชาองค์พ่อ พระคาถาบูชาจตุคามรามเทพ
เทวดารักษาเมือง เทพประจำหลักเมือง
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติการสร้างหลักเมืองนคร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล