ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย

พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง

ประวัติพระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย พระเจ้าองค์แสน มีประวัติความเป็นมาจากการเล่าขาน และจากการรวบรวมหลักฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นที่เมืองเชียงแสน ทำด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 34 นิ้ว  พระเจ้าองค์แสน เป็นพระพุทธรูปบูชา ทำด้วยทองสำริด ศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 22-23 ขนาดหน้าตักกว้าง 34.9 เซนติเมตร สูงจากฐาน 61 เซนติเมตร ฐานกว้าง 34.5 เซนติเมตร วัดโพธิ์ชัยนาพึง" ตั้งอยู่ที่บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย ถือเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดเลย ที่วัดแห่งนี้ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ พระเจ้าองค์แสน หรือชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าแสนห่า

พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับ อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูน ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วย 1 กระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วย 2 องค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน

เมื่อ พระเจ้าองค์แสน เหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสน เรียกชื่อว่า "พระเจ้าองค์แสนเทียม" นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสน กับพระเจ้าองค์แสนเทียม ออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อนในอดีตกล่าวกันว่า พระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้างอยู่เป็นประจำ โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาก็หายไป 

พระเจ้าองค์แสน ก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว ได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวง พระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดิน จึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

จากการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและผู้รู้บางท่าน ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของเกศในสมัยต่างๆ ไปเปรียบเทียบกับพระเจ้าองค์แสน พบว่า เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง เป็นศิลปะลักษณะคล้ายไปทางหลวงพระบาง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถ้ามองแบบทางสุโขทัยก็เป็นยุคปลายสุโขทัย ข้อมูลนี้บันทึกโดย ปู่ช่วย บ้านนาพึง เรียบเรียงโดย นายอดิเรก คุณศิริ อาสาพัฒนารุ่นที่ 61 มีติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย พุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองเลย ควรแวะเข้าไปกราบขอพรจาก "พระเจ้าองค์แสน" หรือ "พระเจ้าแสนห่า" พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด พระพุทธรูปปางต่างๆคอลัมน์ เดินสายไหว้พระ :วิชัย จินดาเหม




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล