ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง
พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ในงานเรื่องประติมากรรมไทย
พระพุทธรูปอู่ทอง :ท่านผู้อ่านที่เคารพ ฉบับนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับ ศิลปะสกุลช่างที่รังสรรค์งานประติมากรรมสัมฤทธิ์ออกมาเป็น องค์พระพุทธรูปที่เรียกขานกันว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ซึ่งแตกต่างจากศิลปะ "อู่ทองสุวรรณภูมิ" ศิลปะพระพุทธรูปอู่ทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อระหว่างศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตหัวหน้ากองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุกระทรวงธรรมการและหัวหน้ากองโบราณคดี ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ศิลปะแบบอู่ทองนั้นคลี่คลายมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบทวารวดีกับศิลปะ ขอม กล่าวคือ การที่ขอมเข้ามามีอำนาจในแหลมอินโดจีนมิได้ทำให้งานทางศิลปกรรมของ "รัฐ" ดั้งเดิม อันได้แก่ ทวารวดีหยุดชะงักลง หากแต่ยังคงสืบทอดต่อเนื่องโดยคติความเชื่อแบบพุทธหินยานผสมกลมกลืนกับลักษณาการอันเข้มขลังของคติขอม

พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระพุทธรูปอู่ทอง หน้าหนุ่ม
พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงคุณค่าของ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองในงาน "เรื่องประติมากรรมไทย" ว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง "ศิลปะอู่ทองมีค่ายิ่งกว่าของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ โดยเหตุที่มีแบบวิธีแปลกและมีคุณค่าของศิลปะอู่ทอง เป็นอาการปรากฏดีที่สุดในหมู่สกุลช่างต่างๆ ของพระพุทธปฏิมาศิลปะสุโขทัยและศิลปะอู่ทองนั้นมีลักษณะตรงกันข้าม ศิลปะสุโขทัยมีวงรูปนอกและรายละเอียดประณีตสุขุม ทำให้เห็นอย่างบริบูรณ์ซึ่งพระรูปโฉมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนศิลปะอู่ทองมีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด และมีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการสำแดงบ่งให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะแก่ โลกีย์ และค้นหาทางหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดให้ถึงซึ่งวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง)"

พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง พระพุทธรูปอู่ทอง หน้าแก่
พระพุทธรูปอู่ทอง

เราอาจแบ่ง พระพุทธรูปอู่ทอง ได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน

พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างได้แก่ พระเจ้าพนัญเชิง หรือพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา

พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 3 หรืออู่ทองหน้าหนุ่ม มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยมากขึ้น พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระวรกายเพรียวบางครั้งพบในลักษณะแข้งคมเป็นสัน เรียกว่า แข้งสัน พบมากในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

พระพุทธรูปอู่ทอง นับเป็นต้นแบบของการสร้าง "พระผงสุพรรณ" หนึ่งในพระยอดนิยมของไทยชุดเบญจภาคี ที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงมนุษย์ อีกทั้งลักษณะการแบ่งจำแนกพิมพ์และการเรียกชื่อก็เหมือนกันคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม ครับผม
พระพุทธรูปปางต่างๆ:ปางพระพุทธรูป ของประเทศไทย ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย ราม วัชรประดิษฐ์




พระพุทธรูปปางต่างๆ ความหมายปางพระพุทธรูป ของไทย

พระพุทธรูปปางชนะมาร
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะแบบบายน(เขมร)
ประวัติการสร้างพระพุทธรูป
ตำนานพระแก่นจันทร์
๑.พระพุทธรูปปางประสูติ
๒.พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์
๓.พระพุทธรูปปางตัดพระเมาลี
๔.พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
๕.พระพุทธรูปปางปัจจเวกขณะ
๖.พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
๗.พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน
๘.พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส
๙.พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส
๑๐.พระพุทธรูปปางเสี่ยงบารมีลอยถาด
๑๑.พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา
๑๒.พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร
๑๓.พระพุทธรูปปางมารวิชัย article
๑๔.พระพุทธรูปปางสมาธิ หรือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ article
๑๕.พระพุทธรูปปางถวายเนตร
๑๖.พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว
๑๗.พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว
๑๘.พระพุทธรูปปางห้ามมาร
๑๙.พระพุทธรูปปางนาคปรก
๒๐.พระพุทธรูปปางฉันผลสมอ
๒๑.พระพุทธรูปปางประสานบาตร
๒๒.พระพุทธรูปปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง
๒๓.พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ
๒๔.พระพุทธรูปปางรำพึง
๒๕.พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร
๒๖.พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ
๒๗.พระพุทธรูปปางภัตกิจ
๒๘.พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
๒๙.พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
๓๐.พระพุทธรูปปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
๓๑.พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก
๓๒.พระพุทธรูปปางประทานโอวาทหรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
๓๓.พระพุทธรูปปางประทับเรือ
๓๔.พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ
๓๕.พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
๓๖.พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
๓๗.พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา
๓๘.พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง
๓๙.พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๐.พระพุทธรูปปางโปรดพุทธมารดา
๔๑.พระพุทธรูปปางเปิดโลก article
๔๒.พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
๔๓.พระพุทธรูปปางลีลา
๔๔.พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์
๔๕.พระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน
๔๖.พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
๔๗.พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน
๔๘.พระพุทธรูปปางคันธารราฐ : พระพุทธรูปปางขอฝน ( นั่ง )
๔๙.พระพุทธรูปปางคันธารราฐ : พระพุทธรูปปางขอฝน ( ยืน )
๕๐.พระพุทธรูปปางชี้อสุภะ
๕๑.พระพุทธรูปปางชี้มาร
๕๒.พระพุทธรูปปางปฐมบัญญัติ
๕๓.พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ
๕๔.พระพุทธรูปปางสนเข็ม
๕๕.พระพุทธรูปปางประทานพร ( นั่ง )
๕๖.พระพุทธรูปปางประทานพร ( ยืน ) article
๕๗.พระพุทธรูปปางประทานธรรม
๕๘.พระพุทธรูปปางประทานอภัย ( นั่ง )
๕๙.พระพุทธรูปปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี
๖๐.พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง
๖๑.พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
๖๒.พระพุทธรูปปางแสดงโอฬาริกนิมิต
๖๓.พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู
๖๔.พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์
๖๕.พระพุทธรูปปางโปรดองคุลิมาลโจร
๖๖.พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม
๖๗.พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม
๖๘.พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร
๖๙.พระพุทธรูปปางนาคาวโลก
๗๐.พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง
๗๑.พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์
๗๒.พระพุทธรูปปางโปรดสุภัททปริพาชก
๗๓.พระพุทธรูปปางปรินิพพาน



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล